Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 สิงหาคม 2547
ก.ล.ต.เช็กบิล N-PARK กล่าวโทษทศพงศ์-สว่าง             
 


   
search resources

บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน - AMC
แนเชอรัล พาร์ค, บมจ.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
เสริมสิน สมะลาภา
สว่าง มั่นคงเจริญ
ทศพงศ์ จารุทวี
ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น, บมจ.




ก.ล.ต. กล่าวโทษ "ทศพงศ์ จารุทวี-สว่าง มั่นคงเจริญ" ในฐานะโอนถ่ายสิทธิซื้อคืนทรัพย์สินN-PARK จากบบส.เมื่อปี 2542 ข้อหาไม่แจ้งบอร์ด-ผู้ถือหุ้น ใช้มาตรา 311/315 เล่นงานอาญา พร้อมส่งต่อคดีให้ดีเอสไอดำเนินการ "ทศพงศ์-สว่าง" ลาออกจากบอร์ด N-PARK-SYNTEC พิสูจน์ความบริสุทธิ์ ขณะที่บบส.ยืนยัน "ทศพงศ์" มอบสิทธิให้ "สว่าง" เพราะไม่มีเงินเหตุวิกฤตเศรษฐกิจ ตลท.ขึ้น H หลักทรัพย์ N-PARK,PA และ SYNTEC ตั้งแต่รอบบ่ายวานนี้

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แจ้งว่า ได้กล่าวโทษผู้เข้าข่ายกระทำความผิดจำนวน 2 ราย ประกอบด้วย นายทศพงศ์ จารุทวี กรรมการบริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) (N-PARK) ในฐานะอดีตกรรมการผู้จัดการผู้รับผิดชอบการดำเนินงานของ N-PARK และนางสว่าง มั่นคงเจริญ กรณีให้ความช่วยเหลือนายทศพงศ์ และเป็นผู้รับประโยชน์จากการกระทำของนายทศพงศ์ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เพื่อสอบสวนดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

ก.ล.ต.ระบุว่า ในช่วงปี 2542 นายทศพงศ์ ในฐานะกรรมการผู้จัดการและผู้รับผิดชอบการปรับโครงสร้างหนี้ของ N-PARK ได้เจรจาประนอมหนี้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) เป็นผลสำเร็จ โดย N-PARK ได้รับลดหนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ N-PARK และบริษัทในเครืออีก 5 บริษัทต้องโอนทรัพย์สินที่เป็นประกันการชำระหนี้ให้ บบส. ซึ่งในการโอนทรัพย์สินของ N-PARK เพื่อชำระหนี้ให้แก่ บบส. นั้น นายทศพงศ์ได้รับทราบว่า ตามเกณฑ์ของ บบส. จะให้สิทธิแก่ N-PARK ในฐานะลูกหนี้ที่จะซื้อทรัพย์สินคืนเป็นจำนวนเงิน 876 ล้านบาท บวกดอกเบี้ยและในขณะเดียวกันก็ได้รับทราบว่าทรัพย์สินดังกล่าวมีราคาตลาดประมาณ 1,400 ล้านบาท แต่แทนที่จะรักษาสิทธินั้นไว้เป็นประโยชน์ของ N-PARK นายทศพงศ์ได้มอบสิทธิซื้อคืนดังกล่าวให้ แก่ บริษัท ดี ซี เอช จำกัด ซึ่งจัดตั้งโดยนางสว่าง โดยการมอบสิทธิดังกล่าวนายทศพงศ์มิได้แจ้งต่อคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นของ N-PARK แต่อย่างใด

ก.ล.ต. พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่นายทศพงศ์ ปิดบังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่ บบส.ให้สิทธิ N-PARK ซื้อคืนทรัพย์สิน และยังได้โอนสิทธิซื้อคืนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บริษัท ดี ซี เอช จำกัด โดยมิได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการและผู้ถือหุ้นของ N-PARK แทนที่จะใช้สิทธิดังกล่าวเพื่อประโยชน์ของ N-PARK เอง ทำให้ N-PARK หรือผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของ N-PARK ไม่ได้รับประโยชน์จากการมีสิทธิซื้อคืนทรัพย์สินดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนมาตรา 311 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

นอกจากนี้ การที่นางสว่าง ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับรู้ผลของการประนอมหนี้และยังได้จัดตั้งบริษัท ดี ซี เอช จำกัด ขึ้นมาเพื่อรับประโยชน์จากสิทธิซื้อคืนทรัพย์สินดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่นายทศพงศ์ ในการทำให้ N-PARK หรือผู้ถือหุ้น หรือเจ้าหนี้ของ N-PARK เสียหาย จึงเข้าลักษณะเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 315 แห่ง พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ

แหล่งข่าวจากบบส.ระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในยุคแรกเริ่มของการจัดตั้ง บบส. ซึ่งขณะนั้นมีนายประภัสร์ ศรีสัตยากุล เป็นกรรมการผู้จัดการ และม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล เป็นประธานกรรมการ บบส. ซึ่งกรณีการปรับโครงสร้างหนี้ของ N-PARK อยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจวิกฤตที่สามารถปรับโครงสร้างหนี้กับบบส.สำเร็จเจ้าแรก เรียกว่าเป็นกรณีนำ ร่อง (pilot case)

การปรับหนี้ของ N-PARK ขณะนั้นเป็นไปตามขั้นตอน คือ มีทั้งการตีโอนชำระหนี้ การใช้เงินสดซื้อหนี้คืน การตีโอนและให้สิทธิซื้อคืน ซึ่งในส่วนที่สัญญาบบส.ทำกับ N-PARK มีสองส่วนด้วยกัน คือ สัญญาประนอมหนี้ กับสัญญาให้สิทธิซื้อคืน โดยในส่วนที่บบส.ให้สิทธินายทศพงศ์ซื้อคืนนั้น นายทศพงศ์ก็ใช้สิทธิของตัวแล้วโดยมอบสิทธิให้บริษัท ดีซีเอสเป็นผู้รับซื้อคืนไป

"ตอนนั้นบบส.มองว่า N-PARK มีเจ้าหนี้เยอะมาก และกำลังเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ บบส.เห็นว่าการยินยอมให้ N-PARK มอบสิทธิให้กับ ดีซีเอส โดยบบส.ก็ไม่เสียประโยชน์และสามารถยุติการปรับหนี้จบลงได้เลยถือว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์กับบบส.มากกว่าจึงดำเนินการไป และที่ผ่านมาการปรับหนี้ก็ทำในลักษณะเช่นนี้ แต่อาจจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย"

ด้านแหล่งข่าวจาก N-PARK มองว่า การหยิบเอาเหตุการณ์ในขณะนั้นมาเทียบกับขณะนี้คงไม่ได้ ตอนนั้นประเทศวิกฤต แต่ตอนนี้ทุกอย่างดีขึ้น เรื่องนี้คงต้องไปต่อสู้กันในศาลต่อไป "ตอนนั้นคนไม่มีเงิน ประเทศก็ยังวิกฤตอยู่จะหาเงินที่ไหนมา"

"ทศพงศ์-สว่าง" ออกจากบอร์ด

นายเสริมสิน สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ บริษัท แนเชอรัล พาร์ค เปิดเผยว่า วานนี้ (23 ส.ค.) นายทศพงศ์ได้ขอลาออกจากตำแหน่งกรรมการของ บริษัทฯ เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตามกระบวนการยุติธรรม โดยผู้บริหารบริษัทฯเห็นว่ากรณีที่ก.ล.ต. กล่าวโทษนายทศพงศ์ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและผล กระทบใดๆ กับการดำเนินธุรกิจทั้งในปัจจุบันและใน อนาคต ที่สำคัญการกระทำของนายทศพงศ์เป็นเหตุ การณ์ในอดีตก่อนบริษัทฯจะฟื้นฟูกิจการสำเร็จ นอก จากนี้การกระทำดังกล่าวจะเป็นจริงตามที่มีการกล่าว โทษและจะมีการฟ้องร้องหรือถือเป็นความผิดหรือไม่นั้น ยังมีขั้นตอนตามกฎหมายที่ไม่อาจมีข้อสรุปใดๆ ในขณะนี้

ขณะที่นางสว่างก็ลาออกจากบริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (SYNTEC) ทั้งนี้ผู้บริหารบริษัท ซินเทคฯให้เหตุผลและความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวเช่นเดียวกันกับบริษัท แนเชอรัล พาร์ค ขณะที่นางสว่างไม่ขอแสดงความคิดเห็นใดๆ ต่อเรื่องที่ก.ล.ต.กล่าวโทษ

แหล่งข่าวจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กระทรวงยุติธรรม เปิดเผยว่า คดีที่ก.ล.ต.กล่าวโทษ นายทศพงศ์กับนางสว่างได้ส่งถึงมือดีเอสไอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนจากนี้ไปดีเอสไอจะมีการสืบ สวนสอบสวนตามขั้นตอนภายใต้ขอบข่ายและอำนาจ ที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน เป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

"หากก.ล.ต.พบว่าผู้บริหารบริษัทในตลาดหุ้นมีพฤติกรรมสร้างความเสียหายให้บริษัทหรือเข้าข่าย มูลฐานความผิดเกี่ยวกับการปั่นหุ้น ก็จะส่งเรื่องมาให้กับดีเอสไอทันทีโดยไม่คำนึงถึงมูลค่าความเสียหาย" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับมูลฐานความผิดที่ก.ล.ต.กล่าวโทษผู้เข้า ข่ายทั้ง 2 ราย ประกอบด้วย มาตรา 311 ซึ่งเป็น (บทกำหนดบทกำหนดโทษผู้บริหารซึ่งกระทำการหรือ ไม่กระทำการโดยทุจริต) กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคล ใดตามพระราชบัญญัตินี้ กระทำการ หรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

มาตรา 315 (บทกำหนดโทษผู้สนับสนุนให้กระทำความผิด) ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็น การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่กรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือผู้สอบบัญชี กระทำความผิดตามที่บัญญัติในมาตรา 287 มาตรา 306 มาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา 311 หรือ มาตรา 312 ไม่ว่าก่อน หรือขณะกระทำความผิด ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ เว้นแต่ผู้นั้นมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้น

ทั้งนี้มาตรา 311 (บทกำหนดลงโทษผู้บริหารซึ่งกระทำการหรือไม่กระทำการโดยทุจริต) กรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใดตามพระราชบัญญัตินี้ กระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

วานนี้ (23 ส.ค.) ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมาย "H" หลักทรัพย์บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) "N-PARK" (ณ ราคา 1.29 บาทต่อหุ้น) บริษัท แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ จำกัด (มหาชน) "PA" (4.6 บาทต่อหุ้น) และ บริษัท ซินเท็ค คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)"SYNTEC" (1.50 บาทต่อหุ้น) เพื่อหยุดพักการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่การซื้อขายภาคบ่ายของวันที่ 23 ส.ค. จนกว่าบริษัทจะได้ชี้แจงหรือเปิดเผยสารสนเทศสำคัญและผลกระทบต่อบริษัทมายังตลาดหลักทรัพย์ เกี่ยวกับ ก.ล.ต. กล่าวโทษกรรมการของบริษัทในฐานะที่เคยเป็นอดีตผู้บริหารบริษัท ซึ่งเข้าข่ายกระทำความผิด และอาจส่งผลกระทบต่อภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us