|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เอไอเอส ปรับทัพผู้บริหารนอนวอยซ์ กระตุ้นการใช้งานหวังรายได้เพิ่มสิ้นปี วางยุทธศาสตร์หลัก บริการเสริมต้องหลากหลาย จำนวนมาก ลงลึกระดับรากหญ้า จัดแพกเกจในอัตราที่ลูกค้าแต่ละเซกเมนต์พร้อมจ่ายแต่ละเดือน เลิกคิดเล็กคิดน้อยในลักษณะต่อหน่วย "สมชัย เลิศสุทธิวงศ์" ย้ำรายได้นอนวอยซ์ต้องเป็น 2 หลักเมื่อเทียบกับรายได้รวมเอไอเอส
นายกฤษณัน งามผาติพงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายงานการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่าเป้าหมายธุรกิจด้านนอนวอยซ์ในปีนี้ประมาณ 8 พันกว่าล้านบาท ซึ่งเอไอเอสจำป็นต้อง มีการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อรอง รับทิศทางดังกล่าวทั้งอัปสตรีมและดาวน์สตรีม โดยมองว่าอัปสตรีมจะเป็นการพัฒนาคอนเทนต์การเชื่อมต่อกับคอนเทนต์ โพรวายเดอร์ต่างๆ ส่วนดาวน์สตรีม จะเป็นการทำอย่างไรให้บริการที่พัฒนามานั้นขายได้ การให้ความรู้กับลูกค้า การโฆษณาประชาสัมพันธ์ต่างๆ ความสัมพันธ์กับคอนเทนต์โพรวายเดอร์
"เอไอเอสได้จัดทัพผู้บริหารใหม่ โดยแต่งตั้งคุณสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ เป็นผู้ช่วยกรรมการ ผู้อำนวยการ ส่วนงานพัฒนาธุรกิจสื่อสารไร้สาย รับผิดชอบงานในภาพรวมของโมบายไลฟ์ ไวร์เลส บิสซิเนส"
นายสมชัยกล่าวว่านโยบายของเอไอเอสเรื่องนอนวอยซ์ หรือเรียกรวมว่าบริการเสริมทั้งหมดถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic Direction) ของเอไอเอสโดยที่แบ่งงานเป็น 2 ด้านคือ 1.Wireless Sevice Development ซึ่งมีนายสุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบริการสื่อสารไร้สายเป็นผู้รับ ผิดชอบ โดยมีงานที่สำคัญคือการวิเคราะห์ธุรกิจ (Business Analysis) ดูว่าบริการทั้งหมดควรมีอะไร บ้าง (Service Road Map),การพัฒนาบริการหรือ Service Development เพื่อให้เกิดบริการเป็นรูปธรรมและนำบริการออกสู่ตลาด,งาน Future Lab ซึ่งเป็นหน่วยงานในการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อพัฒนาบริการแปลกใหม่ที่ตรงกับความต้องการลูกค้าในประเทศไทย โดยไม่จำเป็นต้องเดินตามการพัฒนาของซัปพลายเออร์
2.Wireless Service Marketing ซึ่งเอไอเอสอยู่ระหว่างสรรหาผู้บริหารเข้ามารับผิดชอบ เพื่อทำให้บริการเสริมประสบความสำเร็จโดยจะแบ่งงานเหมือนคอนซูเมอร์โปรดักต์คือมี Product Manager เพื่อรับผิดชอบโดยตรง
ส่วนกลยุทธ์ที่ใช้ในการให้บริการเสริมเริ่มจาก WHAT หมายถึงต้องให้บริการที่ตอบโจทย์ลูกค้าเป็นหลัก ต้องให้แต่ละบริการเป็นเหมือน Daily Life หรือเป็น Daily Cycle ในชีวิตประจำวัน
"ต้องมีบริการหลากหลายและจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ"
กลยุทธ์ต่อมาคือ WHEN ต้องเลือกระยะเวลาให้บริการในช่วงที่เหมาะสมและ HOW คือทำอย่างไรให้มีการใช้บริการจำนวนมากซึ่งบริการนอนวอยซ์ต้องง่าย เอไอเอสจะมุ่งการให้บริการระดับแมส ลงลึกถึงผู้บริโภคระดับรากหญ้า และต้องออกบริการในลักษณะที่มีโครงสร้างราคาที่ผู้บริโภคยินยอมจ่ายในแต่ละเดือน
"จะมีการทำแพกเกจราคาแบบเหมาจ่ายเป็นเดือน ไม่ใช่แยกเป็นยูนิต เพื่อให้ลูกค้าเห็นแล้วคิดว่ายอมจ่ายก็จะมาใช้บริการเรา อย่างสมมติดูดวงครั้งละ 5 บาทแบ่ง เป็นค่าส่ง SMS 2 บาทที่เหลือเป็นค่าหมอดู ก็จะเปลี่ยนใหม่เป็นค่าใช้จ่ายอัตราหนึ่งสมมติ X บาท ซึ่งเป็นอัตราที่ลูกค้าพอใจจ่ายเพื่อแลกกับข้อมูลดูดวงทั้งเดือน"
กลยุทธ์สุดท้ายคือ WHO เอไอเอสจะใช้พอร์ทัลโมบายไลฟ์ พลาซา เป็นเครื่องมือให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการนอนวอยซ์ แต่ในขณะเดียวกันก็จะเปิดให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อเข้ามายังคอนเทนต์ที่ต้องการได้โดยตรงในลักษณะ Direct Access โดยไม่ต้องผ่านโมบายไลฟ์ พลาซา ซึ่งพาร์ตเนอร์ด้านคอนเทนต์เอไอเอสก็สามารถทำการตลาดได้โดยตรง
"เอไอเอสจะออกแพกเกจ บริการให้มาก ทำราคาที่ลูกค้าพอใจ และลงลึกไปถึงรากหญ้าต้องทำให้เป็นแมส และต้องทำรายได้ในระดับ 2 ดิจิให้ได้"
ด้านนายสุวิทย์กล่าวว่างานใน ส่วน Wireless Service Development จะทำการวิเคราะห์ตลาด ดูทิศทางการพัฒนาบริการทั้งในต่างประเทศและตลาดในประเทศเพื่อให้เกิดรูปแบบบริการที่หลากหลาย ต้องมีการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์ ด้านคอนเทนต์จำนวนมาก ซึ่งจำเป็นต้องมีการสร้างแพลตฟอร์มที่เป็นมาตรฐานมารองรับอย่างในเรื่องระบบบิลลิ่งการตามเก็บหนี้ และที่สำคัญต้องทำให้การใช้งานง่าย โดยเอไอเอสมีพนักงานทำตัวเหมือนเป็นลูกค้าคอยทดลองใช้บริการ เนื่องจากนอนวอยซ์มีรูปแบบการใช้บริการที่หลากหลาย
นายกฤษณันกล่าวว่า ไม่เพียงจัดทัพด้านนอนวอยซ์ใหม่ แต่เอไอเอสยังมีแผนที่จะปรับด้านการตลาดและช่องทางขาย รวมทั้งจะปรับเปลี่ยนการทำตลาดใหม่ในลักษณะเป็นนิวเกม ที่จะเห็นภาพในเดือนหน้า โดยไม่มุ่งเรื่องราคา โดยเฉพาะอยู่ในระหว่างกำหนดช่วง ลอนช์แคมเปญสวัสดี 2 หลังจากที่สวัสดีได้รับการตอบรับจากตลาด ดีมากมีลูกค้าใช้ 3 ล้านราย รวมทั้งการทำตลาดองค์กรและ SMEs ที่ปัจจุบันเจอปัญหาว่าเมื่อเอไอเอสให้บริการกับตลาดก็จะถูกคู่แข่ง เสนอลูกค้าในบริการใกล้เคียงกันแต่ราคาหรือค่าใช้บริการถูกลงครึ่ง หนึ่ง
"ผมคิดว่าหากทำตลาดกันอย่างนี้ อุตสาหกรรมจะไปไม่รอด เอไอเอสชิงที่จะเปิดนิวเกมใหม่เร็วๆ นี้"
|
|
|
|
|