Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน23 สิงหาคม 2547
ทศท หวังใช้"ไอพีสตาร์" ร่วมพันธมิตรบรอดแบนด์             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ชินแซทเทลไลท์, บมจ.
ทศท คอร์ปอเรชั่น
Telecommunications




ทศทเตรียมใช้ไอพี สตาร์ ลดภาระการให้บริการ USO ที่แบกต้นทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท พร้อมใช้ชินแซทเป็นพันธมิตรทำตลาดการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงกับลูกค้าทั่วไป ยันหากเทคโนโลยีไอพีสตาร์อยู่ในมือคู่แข่ง อนาคตบริการต่างที่วิ่งบนไอพีจะกลายมาเป็นคู่แข่งทำร้าย ทศท

แหล่งข่าวจากบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่นกล่าวว่า ทศทมีแผนที่จะจัดซื้ออุปกรณ์และช่องสัญญาณความถี่ (แบนด์วิดท์) ของดาวเทียมไอพีสตาร์ จากบริษัท ชินแซทเทลไลท์ เพื่อใช้เทคโนโลยีไอพีสตาร์ในการลดภาระค่าใช้จ่ายการให้บริการสาธารณะในพื้นที่ห่างไกล (Universal Service Obligation หรือ USO) รวมทั้งความร่วมมือในลักษณะเป็นพันธมิตรในการทำตลาดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (คอนซูเมอร์บรอดแบนด์) ในอนาคต

ปัจจุบันทศทมีภาระจากบริการ USO อย่างโทรศัพท์สาธารณะทางไกล ชนบทในระบบดาวเทียมที่เช่าใช้อุปกรณ์ จากกลุ่มสามารถ และอคิวเมนท์ ปีละ กว่า 1 หมื่นล้านบาท และการให้บริการ อินเทอร์เน็ตตำบล อินเทอร์เน็ตโรงเรียน ซึ่งสนับสนุนนโยบายรัฐบาล ซึ่งโครงการ USO ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือผลกำไรกับทศทเลย

"ทศทกำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ คงไม่มีใครมาลงทุนกับเรา หากไม่สามารถจัดการกับโครงการ USO ได้เหมาะสม ซึ่งสัญญากับสามารถและอคิวเมนท์ใกล้จะหมดลงแล้ว พอดีกับเทคโนโลยีไอพีสตาร์ในเรื่องอินเทอร์เน็ต โปรโตคอลหรือไอพี กับบรอดแบนด์ เป็นทิศทางในอนาคต ที่จะพัฒนาให้เกิดรายได้มากขึ้น ทศทจึงเห็นว่าระยะ เวลาสอดคล้องกันพอดี"

ทศทได้เจรจากับชินแซทมากว่า 1 ปีแล้ว ซึ่งการลงทุนครั้งนี้ของทศทจะได้ประโยชน์ 2 ด้านที่เห็นชัดเจนคือ 1. การลดภาระ USO โดยการใช้เทคโนโลยีไอพีสตาร์จะลดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 50% จากปีละ 1 หมื่นล้านบาทจะเหลือเพียงประมาณ 1-2 พันล้านบาทเท่านั้น และ 2.การบุกตลาดคอนซูเมอร์บรอดแบนด์ที่ทศทกับชินแซทมีแนวทางจะทำการตลาดร่วมกัน

แหล่งข่าวกล่าวว่า การที่รัฐมีนโยบายที่จะตอบแทนการลงทุนด้าน USO ให้ผู้ประกอบการ ถือเป็นโอกาสดีที่ทศทจะสามารถพลิกบริการที่ขาดทุนให้กลายเป็นบริการที่สามารถทำรายได้และมีกำไรในอนาคตด้วย เพราะการใช้เทคโนโลยีไอพีสตาร์ รวมทั้งบริการด้านสื่อสารข้อมูลจะเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มรายได้ให้ทศท เนื่องจากบริการโทรศัพท์พื้นฐาน มีแต่รายได้ลดลงและมีคู่แข่งรอบด้าน

นอกจากนี้ หากเทคโนโลยีไอพีสตาร์ไปอยู่ในมือคู่แข่งหรือเป็นพันธมิตรกับคู่แข่งของทศท จะเป็นอันตรายกับทศทในการแข่งขันในอนาคตอย่างมาก เพราะบริการภายใต้ไอพีสตาร์จะให้บริการด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า ไม่ว่าจะเป็นบริการเสียง (วอยซ์- โอเวอร์ไอพี) หรือการให้เลขหมายโทรศัพท์จำนวนมาก โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนเดินสายเคเบิลเพื่อเป็นระบบสื่อสัญญาณ โดยสามารถให้บริการโทรศัพท์ทางไกลในประเทศด้วยอัตราโทรศัพท์ท้องถิ่น ซึ่งบริการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วในต่างประเทศ

"บริการเหล่านี้หากอยู่ในมือคู่แข่งทศท สามารถให้บริการตัดราคาทศทได้สบาย ๆ"

แหล่งข่าวกล่าวว่าไอพีสตาร์เป็นทั้งบรอดแบนด์ และบรอดคาส หมายถึงนอกจากบริการอินเทอร์เน็ต พื้นฐานแล้ว ยังสามารถให้บริการด้านเสียงคือการเป็นโทรศัพท์และยังสามารถให้บริการภาพในลักษณะ ถ่ายทอดสด หรือในลักษณะวิดีโอ ออน ดีมานด์ได้ ซึ่งถือว่ามีความยืดหยุ่นสูงบริการเหล่านี้เรียกว่าเป็น tripple play เพียงแต่ผู้ให้บริการได้ครบวงจรต้องมีใบอนุญาตครบทุกประเภท

ปัจจุบันทศท เป็นลูกค้าของชินแซท ในการเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคมประมาณปีละ 300 ล้านบาท เช่นเดียวกับหน่วยงานรัฐอีกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นบริษัท กสท โทรคมนาคม กรมสรรพากร กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงกลาโหม โครงการเฉพาะของรัฐ ในส่วนของเอกชนมีสามารถ ฮาตาริ ซีเอสล็อกซอินโฟ

แต่เนื่องจากดาวเทียมไอพีสตาร์ยังไม่ยิงขึ้นวงโคจร แม้จะใช้อุปกรณ์ของไอพีสตาร์ แต่ใช้ช่องสัญญาณจากไทยคมดวงเก่า จึงมีความสามารถให้บริการได้จำกัดเพียงประมาณ 5,000 จุด แต่เมื่อ ไอพีสตาร์ถูกยิงขึ้นอวกาศในไตรมาสแรกของปี 2548 จะเพิ่มความสามารถเป็น 3 แสนผู้ใช้บริการสำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและสามารถปรับให้บริการประเภทอื่นๆ ได้อีกให้ยืดหยุ่นตามความต้องการของตลาด

สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งเป็นการใช้บรอดแบนด์ประมาณ 1 แสนคน แต่จากนโยบายรัฐที่ต้องการผลักดันให้เกิดการใช้งานบรอดแบนด์จำนวนมากทำให้เอกชนลดราคาลงมาในระดับ 590 บาทต่อเดือน ทำให้ตลาดบรอดแบนด์มีการเติบโตสูงขึ้น การเป็นพันธมิตรระหว่างทศทกับไอพีสตาร์ เกิดขึ้นเพราะทศทจะเป็นคนที่คลุมตลาดได้ทุกส่วนทั้งลูกค้าลักษณะโครงการของรัฐ, คอนซูเมอร์บรอดแบนด์และการลดช่องว่างดิจิตอลผ่านบริการ USO ซึ่งหน่วยงานที่ให้บริการโทรคมนาคมแห่งชาติของประเทศต่างๆ ที่ดาวเทียมไทยคมและไอพีสตาร์ครอบคลุมถึงมักเป็นลูกค้าของชินแซท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us