|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ยุทธ ชินสุภัคกุล" บิ๊ก S-PAC เผยผลการดำเนินงานงวดครึ่งปี 46 กำไรเพิ่มกว่า 33% มั่นใจเป็นหุ้นเล็กโดดเด่น ที่เงินปันผล ล่าสุดประกาศจ่าย 50 สตางค์ 9 กันยาฯนี้ ชี้ราคาหุ้น ปัจจุบันไม่สะท้อนฐานะการเงินแกร่ง เหตุนักลงทุนซื้อเก็บบวกกับจำนวนหุ้นมีน้อย คาดรายได้ครึ่งปีหลังโตอีก 5-6% ส่วนปีหน้าได้โรงงานใหม่หนุนรายได้โต 25%
นายยุทธ ชินสุภัคกุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส.แพ็ค แอนด์ พริ้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ S-PAC กล่าวถึงผลการดำเนินงานไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน ซึ่งมีกำไรสุทธิ 24.788 ล้านบาท คิดเป็นกำไรหุ้นละ 0.47 บาท ในขณะที่ผลการดำเนินงานงวดครึ่งปี 2547 มีกำไรสุทธิ 60.518 ล้านบาท คิดเป็นกำไรหุ้นละ 1.15 บาท ซึ่งกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 33.6% เมื่อเทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีกำไรสุทธิ 45.33 ล้านบาท หรือคิดเป็นกำไรหุ้นละ 2.05 บาท (ดูตารางประกอบ)
ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาสสองที่ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรกนั้น เนื่องจากในไตรมาสแรกมีกำไรจากรายการพิเศษเข้ามาแต่ไตรมาสสองที่ผ่านมานี้ไม่มีกำไรในส่วนนี้แล้ว
แนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังนี้ นายยุทธ คาดว่ารายได้ของ S-PAC น่าจะเพิ่มขึ้นอีก 5-6% เป็นไปตามอัตราการเติบโตของ เศรษฐกิจประเทศไทย โดยประมาณ การดังกล่าวนี้ยังไม่ได้นับรวมในส่วนของรายได้จากโรงงานแห่งใหม่ซึ่งจะสร้างเสร็จในไตรมาส 4 ปีนี้ เนื่องจากเพิ่งเริ่มมีรายได้เข้ามา "รายได้จากโรงงานแห่งใหม่จะเข้ามาอย่างชัดเจนในปี 2548 หรือปีหน้า โดยคาดว่า ในปีหน้ารายได้จะโต 25%" นายยุทธกล่าว
สำหรับ S-PAC ประกอบธุรกิจ ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษประเภทกล่องกระดาษ และรับจ้างพิมพ์หนังสือ เริ่มเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท หรือ 60 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 5 บาท (พาร์ 5 บาท) ราคาไอพีโอหรือราคา ที่เสนอขายให้กับประชาชนครั้งแรก 17 บาท แต่ปัจจุบันราคาหุ้นได้ปรับตัวมาอยู่ที่ 14.80 บาท (20 ส.ค.)
นายยุทธกล่าวว่า ช่วงที่ S-PAC เข้าตลาดหลักทรัพย์ดัชนีอยู่ที่ 700 จุด แต่ตอนนี้ดัชนีลงมาที่ระดับ 600 จุด เพราะฉะนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบรรยากาศการลงทุนโดยรวมด้วย ประกอบกับเป็นหุ้นเล็ก มีสภาพคล่องน้อย แต่เป็นบริษัทที่มีจุดเด่นในเรื่องของเงินปันผล ซึ่งในวันที่ 9 กันยายนที่จะถึงนี้ก็จะจ่ายเงินปันผล 50 สตางค์ ซึ่งเป็นนโยบายของบริษัทให้จ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง
"เรามองว่าเราเป็นหุ้นที่มีจุดเด่นที่เงินปันผล ที่ผ่านมานักลงทุนก็เลยซื้อเก็บไม่ขายออกมา ผมมองว่า ราคาหุ้นที่ระดับ 14-15 บาทไม่สะท้อน ฐานะที่แท้จริงของบริษัท พีอีเรโชของเราอยู่ที่ 6-7% ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ แล้วตัวธุรกิจเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของการส่งออกของประเทศ เพราะลูกค้าก็ต้องใช้กล่องเราเพื่อจะส่งออก สินค้า ในแง่ธุรกิจเราค่อนข้างมั่นคง"
อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ได้ปรากฏว่ามีนักลงทุนประเภทสถาบันหรือกองทุนได้เทขายหุ้นออกมานั้น นายยุทธ กล่าวว่า เป็นกองทุนที่มาจองหุ้นแล้วได้ขายทำกำไรหลังเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปก่อน แต่ภายหลังก็มีกองทุนกลับเข้ามาลงทุนแล้วทำ หุ้นจึงไม่ค่อยเกิดการเคลื่อนไหวในระยะหลังเพราะนักลงทุนซื้อเก็บ
"S-PAC เป็นหุ้นเล็กจึงอาจมีบทวิเคราะห์ออกมาค่อนข้างน้อยนอกจากบล.กิมเอ็งที่วิเคราะห์ประเมินราคาหุ้น S-PAC ไว้ที่ 24.50 บาท แล้วก็มีบริษัทหลักทรัพย์ แอ๊ด-คินซัน ที่มาเยี่ยมชมกิจการเมื่อไม่นานนี้" นายยุทธ กล่าว
ทั้งนี้ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ได้วิเคราะห์ S-PAC ไว้ในช่วงเดือนเมษายนซึ่งขณะนั้นราคาหุ้นเคลื่อน ไหวที่ระดับ 15-16 บาทเศษ โดยระบุปัจจุบัน S-PAC มี PER ที่ต่ำมากอยู่ที่ประมาณ 6-7 เท่าในปี 2547 และ 2548 ในขณะที่กำไรการเติบโตในปีหน้ามีอยู่ถึง 20% และ PER ของกลุ่มอยู่ที่ 12 เท่า มีความสามารถที่จะโตได้ถึง 30% ต่อปี ในปี 2547 และปี 2548 มีกระแสเงินสดที่แข็งแกร่ง โดยมีหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 0.01 เท่าสำหรับปี 2547
|
|
|
|
|