Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 สิงหาคม 2547
จัดสรรช็อก SCB ขึ้นดอกเบี้ยเคหะอีก 0.25-0.50%-หวั่นกำลังซื้อชะลอ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์

   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.
ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ควอลิตี้เฮาส์, บมจ.
ชาลอต โทณวณิก
นะเพ็งพาแสง กฤษณามระ
Real Estate
Interest Rate
ปราโมทย์ ธีรกุล




ผู้ประกอบการอสังหาฯหวั่นแบงก์ไทยพาณิชย์นำร่องปรับขึ้นดอกเบี้ยเคหะอีก 0.25-0.50% กระทบกำลังซื้อลูกค้า ชี้ต้องรอดูแบงก์ใหญ่พาเหรดตามหรือไม่ ด้านผู้บริหารธนาคารฯอ้างต้นทุนดำเนินงานสูงขึ้น เผยยอดครึ่งปีปล่อยสินเชื่อบ้านแล้วสุทธิ 14,500 ล้านบาท ตั้งเป้าทั้งปี 25,000 ล้านบาท

ผู้บริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงกรณีที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะอีก 0.25-0.50% ว่า โดยภาพรวมแล้วขณะนี้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย และหากมีเรื่องของธนาคารพาณิชย์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเข้ามาเสริม จะยิ่งส่งผล ให้การตัดสินใจของผู้บริโภคชะลอออกไปอีก โดยเฉพาะลูกค้าที่มีเวลาในการตัดสินใจ ในส่วนนี้จะถูกดึงออกสู่ตลาดไปอีกระยะหนึ่ง

"ต้องดูว่าธนาคารพาณิชย์รายอื่นมีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะอีกหรือไม่ เพราะหากหลายธนาคารปรับขึ้นจะมีผลต่อตลาดมากขึ้น ซึ่งเหตุผลที่แบงก์ไทย พาณิชย์อ้างว่าต้นทุนเพิ่มขึ้นก็ฟังดูได้ หรือธนาคารพิจารณาว่าสินเชื่อเคหะ ที่ปล่อยมีปริมาณมาก จึงต้องการปรับพอร์ตให้เหมาะสมขึ้น เนื่องจากแบงก์ไทยพาณิชย์ครองส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อรายย่อยสูงสุด ส่วนของผู้ประกอบการคงต้องปรับตัวและรับกับการแข่งขันที่รุนแรงทั้งจากฟากของผู้ประกอบการด้วยกัน และการเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของแบงก์" ผู้บริหารกล่าว

นายนะเพ็งพาแสง กฤษณามระ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายการขายและ บริการ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารได้ตัดสินใจประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเคหะอีก 0.25-0.5% โดยอัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปีและ 2 ปีสำหรับลูกค้าทั่วไป ธนาคารได้ปรับเพิ่มขึ้น 0.25% และอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปี 0.5% จากเดิมที่ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยที่ประมาณ 2.95% ซึ่งการปรับขึ้นดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2547 สำหรับลูกค้ารายใหม่

สำหรับธนาคารได้ปรับขึ้นเฉพาะอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปี และ 3 ปี ในอัตราเดียวกัน ส่วนอัตราดอกเบี้ยคงที่ 1 ปีสำหรับโครงการเกรด A ธนาคารยังไม่ได้ทำการปรับขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้การที่ธนาคารได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้น

นางชาลอต โทณวณิก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่าในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ จะทบทวนอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะประมาณในเดือนตุลาคมนี้ เนื่องจากแนวโน้มดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเคหะทั้งระบบอยู่ในอัตราที่ต่ำมาก ทำให้แต่ละธนาคารจะมีการพิจารณา ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย เร็วๆ นี้ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ปกติ คงจะมีการปรับขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงต้นปี 48

ลุ้นทั้งปีปล่อยกู้สินเชื่อเคหะตามเป้า

นายนะเพ็งพาแสง กล่าวต่อว่า ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาธนาคารมียอดสินเชื่อเคหะเพิ่มสุทธิจำนวน 14,500 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 14.1% เมื่อเทียบกับสิ้นเดือนธันวาคม 2546 และในปี 2547 ธนาคารได้ตั้งเป้าสินเชื่อเคหะเพิ่มสุทธิ 25,000 ล้านบาท หรือคิดอัตราขยายตัว 20% โดยที่ธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 27% หรือคิดเป็นมูลค่ารวม 110,000 ล้านบาท จากยอดรวมทั้งระบบธนาคาร พาณิชย์กว่า 400,000 ล้านบาท ในขณะที่ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลอยู่ที่ระดับ 1-3% ของ พอร์ต แต่เนื่องจากยอดสินเชื่อที่เพิ่ม ขึ้นอยู่เสมอทำให้ยอดเอ็นพีแอลของธนาคารลดต่ำลงไปตามสัดส่วน

นางจันทิมา จตุรภัทร์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์ SCB กล่าวว่า แม้ว่าธนาคารมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในส่วนนี้ แต่ธนาคารยังเน้นการให้บริการที่มีคุณภาพและ รวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญ และนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการ ของลูกค้า โดยธนาคารคาดว่าธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นจะประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามในเร็วๆ นี้

"ลูกค้าที่ได้รับอัตราดอกเบี้ยคงที่มีอยู่ประมาณ 60% ของพอร์ตสินเชื่อเคหะรวม เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารมีการปล่อยสินเชื่อเป็นจำนวน มาก ความต้องการจริงๆ แล้วธนาคารต้องการให้อัตราดอกเบี้ยเป็น ในลักษณะลอยตัวมากกว่าอัตราดอก เบี้ยคงที่ ซึ่งการที่ปล่อยให้อัตราดอก เบี้ยลอยตัวจะส่งผลให้ศักยภาพในการแข่งขันของธนาคารไทยพาณิชย์ลดลง" นางจันทิมากล่าว

ทั้งนี้ บริษัทอสังหาฯที่ส่งลูกค้า ให้กับธนาคารไทยพาณิชย์สัดส่วนสูง ได้แก่ กลุ่มแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทั้ง 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ควอลิตี้ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอเชียน พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ส่งผลให้กับธนาคารมีจำนวน 40-50% ของพอร์ตสินเชื่อเคหะทั้งหมด โดยจะเป็นลูกค้ารายย่อยถึง 70%

ส่วนความร่วมมือกับสมาคมรับสร้างบ้าน นายนะเพ็งพาแสง กล่าวว่า สินเชื่อที่ธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารับสร้างบ้าน 2 รูปแบบ คืออัตราดอกเบี้ยคงที่ และแบบขั้นบันได โดยอัตราดอกเบี้ย คงที่ 1 ปี คิด 3% คงที่ 2 ปี 4% คงที่ 3 ปี 5.25% ส่วนแบบขั้นบันได ปีที่ 1 คิด 4.25% ปีที่ 2 คิด 5.25% ปีที่ 3 คิด 6.25% หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ย ลอยตัวตาม MLR-0.75%

สำหรับผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อเคหะในช่วงครึ่งปีแรก จำนวน 25,000 ล้านบาท คิดเป็นยอดสินเชื่อ เพิ่มสุทธิ 14,500 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 14.1% เมื่อเทียบกับยอดสินเชื่อ ณ เดือนธันวาคม 2546 โดยปี 2547 ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายสำหรับสินเชื่อเคหะ เปิดบัญชีใหม่ไว้ 48,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมีสินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิ ณ สิ้นปี 2547 อยู่ที่ 25,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตรา เติบโตเฉพาะสินเชื่อเคหะอยู่ที่ 20% ส่วนการปล่อยสินเชื่อเพื่อการปลูกสร้างบ้านในช่วงครึ่งปีแรก จำนวน 400 ล้านบาท โดยธนาคารได้ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเพื่อการปลูกสร้างบ้านสิ้นปี 2547 จำนวน 1,000 ล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าจะทำได้ตามเป้าหมาย

ด้านนายปราโมทย์ ธีรกุล นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน กล่าวว่า จากที่ทางสมาคมได้เตรียมจัดงาน "แสดงสินค้ารับสร้างบ้าน 2004" ในวันที่ 30 ก.ย. - ต.ค. 47 นี้ สมาคมฯมุ่งหวังที่จะสร้างการรับรู้และเพิ่มโอกาสการขยายตลาดของธุรกิจรับสร้างบ้านให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอัตราเติบโตเฉลี่ย 15-20% ต่อปี โดยในปี 2546 มีมูลค่าตลาด 5,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าสิ้นปี 2547 น่าจะมีมูลค่าเกินกว่า 6,000 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us