บริษัทอเมริกันสอดส่องการใช้เว็บของพนักงาน พบท่องไซต์ลามก-อีเมลจีบกัน-ชอปปิ้งอุตลุด
เป็นเวลาถึง 2 ปีทีเดียว ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของบริษัทการเงินในแถบนิวอิงแลนด์ของอเมริกา
หลังจากเดินทางไปถึงออฟฟิศตอนเช้าของแต่ละวัน และกล่าวทักทายเลขานุการของเขาแล้ว
ก็จะปิดประตูห้องทำงานอันกว้างขวาง จัดแจงปิดม่าน และวาง ที่กำบังต่างๆ ตลอดจนเลื่อนจอคอมพิว
เตอร์บนโต๊ะทำงานให้เอียงเข้าหาตัว ทั้งนี้เผื่อมีใครจู่โจมบุกเข้ามากะทันหัน
พวกเขาก็จะยังมองไม่เห็นว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ ต่อจากนั้น 6 ชั่วโมง หรือบางครั้งจนกระทั่ง
8 ชั่วโมง ผู้บริหารรายนี้จะท่องไปในอินเทอร์เน็ต มองหาเว็บไซต์โป๊ๆ ชนิดลามกอนาจารที่สุดเท่า
ที่จะเสาะหาได้
นักท่องเว็บไซต์พิศวาสรัญจวนจิตรายนี้ มีหน้าที่การงาน ซึ่งทำให้เขาสามารถเกียจคร้านได้อย่างจุใจ
โดยสิ่งที่เขาต้องทำก็คือ ทำให้ดูเหมือนว่ามีงานยุ่งๆ อยู่เรื่อยเท่านั้น
กโลบายเช่นนี้ใช้ได้ผลตลอดมาจนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อประมาณ 6 เดือนมาแล้ว
ตอน ที่บิ๊กบอสของเขาขอให้เขาเข้าร่วมอยู่ในคณะกรรมการของบริษัท ชุด ซึ่งทำหน้าที่ร่างนโยบายว่าด้วยการใช้อินเทอร์เน็ตไปในทาง
ที่ผิดไม่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท
น่าขัน ที่ปัจจุบัน ผู้บริหารคนดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งในทีมงานของบริษัท
ซึ่งมีหน้าที่จัดการแก้ไขปัญหานี้ ขณะเดียวกัน เขาก็แอบไปพบจิตแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษา
และตัดใจลดเวลา ที่ใช้จ้องมองดูสาวๆ หน้าจอลงเหลือเพียงวันละ 1 ชั่วโมง
ผู้บริหารบริษัทการเงินผู้นี้อาจเป็นตัวอย่างแบบสุดโต่งของคน ซึ่งอาศัยการได้สิทธิในการใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางมิชอบ
แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า มีลูกจ้างพนักงานจำนวนมาก ที่กระทำเรื่องไม่สมควรทำนองนี้กันอยู่ไม่มากก็น้อย
นายแพทย์เดวิด กรีนฟิลด์ ผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขการเสพย์ติดอินเทอร์เน็ต ซึ่งตั้งอยู่
ที่เมืองเวสต์ ฮาร์ต ฟอร์ด รัฐคอนเนกติกัต ชี้ว่า "เว็บไซต์
ซึ่งคนชอบแอบเข้าไปดูกันมากที่สุดในเวลาทำงานก็คือ ไซต์ลามก" ขณะที่เซ็กซ์
แทรกเกอร์ อันเป็นบริษัทให้บริการติด ตามการใช้ไซต์ลามกทั้งหลาย ก็ช่วยยืนยันว่า
ไซต์เรตเอ็กซ์อย่าง แพสชั่น แพเลซ และ แพลเน็ต เลิฟ มีผู้เข้าไปท่องชมในระหว่างชั่วโมงทำงานถึงราว
70% ของผู้เข้าไปเยือนทั้งหมด เซ็กซ์แทรกเกอร์ประมาณการว่า พนักงานออฟฟิศทุก
1 ใน 5 คน ต่างเข้าไปท่องไซต์ลามกในขณะทำงานกันทั้งนั้น
แน่นอนว่า ไซต์ลามกย่อมมิใช่สถานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการงานเพียงประเภทเดียว
ที่ลูกจ้างพนักงานชอบหลบเข้าไปเยือนกัน ในโลก ซึ่งสามารถทำอะไรได้ตั้งมากมายเพียงด้วยปลายนิ้วสัมผัส
อินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นแหล่ง ที่นักหลบ นักอู้งานสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้เยอะแยะ
อาทิ ดูแค็ตตาล็อก และสั่งซื้อเสื้อผ้าชุดใหม่ผ่านระบบออนไลน์, หาข้อมูล
เพื่อ วางแผนรายละเอียดสำหรับการไปท่องเที่ยวช่วงพักร้อน, ไล่จีบเกี้ยวพาคนที่รู้จักกันทางไซเบอร์สเปซกันให้สายร้อนฉ่า,
เล่นหุ้นกันแบบรายวัน, ตลอดจนเข้าประมูลซื้อของติดเนื้อต้องใจผ่านเว็บไซต์
จำพวกอีเบย์ ฯลฯ
หลักฐาน ที่คอนเฟิร์มเรื่องอย่างนี้ก็คือ ชาร์ลส์ ชเว็บ แอนด์ โค บริษัทโบรกเกอร์ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตชื่อดังยอมรับว่า
ลูกค้าถึงราว 70% สั่งซื้อสั่งขายหุ้นผ่านทางคอมพิวเตอร์ ที่โต๊ะทำงานในออฟฟิศของพวกเขา
ฮอลล์มาร์กดอทคอม เว็บไซต์ของบริษัทจำหน่ายบัตรอวยพร ที่ใครๆ รู้จัก จะซ่อมแซมเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของตนในช่วงสุดสัปดาห์
เนื่องจาก 95% ของธุรกรรมจะเกิดขึ้นในช่วงวันทำงาน อินเตอร์เนชั่นแนล เดต้า
คอร์ป (ไอดีซี) บริษัทวิจัยด้านไอทีประมาณการไว้ว่า ประสิทธิภาพในการผลิตของคนงานอเมริกัน
ที่สูญเสียกันอยู่เวลานี้ ที่เนื่องมาจากถูกใช้เอ้อระเหยในไซเบอร์นั้น สูงถึง
ราว 30-40% ทีเดียว "ความลับสกปรกข้อเล็กๆ ข้อหนึ่งของอี-คอมเมิร์ซก็คือ
มันเป็นการซื้อขาย ที่กระทำกันในช่วง 9 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น" แอนดริว เมเยอร์
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของบริษัท เว็บเซนส์ อิงค์ กระซิบบอก บริษัท ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองซานดิเอโก
รัฐแคลิฟอร์เนียแห่งนี้เป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ที่จะคอยติดตามตรวจสอบลูกจ้างพนักงาน
เว็บเซนส์คาดหมายว่า ราคาของการอู้งานไป กับอินเทอร์เน็ตทั้งหมดเหล่านี้สูงถึงปีละ
54,000 ล้านดอลลาร์
ในเมื่อตัวเลขความเสียหายไม่ใช่น้อยๆ เลย ผู้จัดการของบริษัทจำนวนมากจึงกำลังตอบโต้หาทางปราบปรามความประพฤติมิชอบเหล่านี้กันอยู่
เกือบหนึ่งในสามของบริษัท ที่ทางเว็บเซนส์สุ่มสำรวจความเห็น มีการไล่ลูก
จ้างพนักงานออกด้วยความผิดฐานใช้อินเทอร์เน็ตไปในทางไม่สมควร และสองในสามเคยลงโทษทางวินัยต่อลูกจ้างพนักงานบางรายที่ทำความผิดทำนองนี้มาแล้ว
ทางด้านสมาคมการจัดการอเมริกันก็แจกแจงว่า เกือบสามในสี่ของบริษัทขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ
เวลานี้ต่างกำลังมีการบันทึก และตรวจสอบเรื่องการติดต่อสื่อสารของลูกจ้างพนักงานกันอยู่
การสื่อสาร ที่ว่านี้ครอบคลุมทั้งการใช้โทรศัพท์, อีเมล, และการติดต่อทางอินเทอร์เน็ต
ส่วนตัวเลขเกือบสาม ในสี่ก็จัดว่าสูงขึ้นเป็นสองเท่าจากเมื่อปี 1997
การสอดแนมตรวจตรา ที่กระทำกัน กำลังเปิดเผยให้เห็นพฤติกรรมทางออนไลน์ทุกชนิดทุกประเภท
โดยจำนวน มากทีเดียวเป็นเรื่องทางเซ็กซ์ เมื่อไม่นานมานี้ หลายๆ บริษัท อาทิ
ซีร็อกซ์, นิวยอร์กไทมส์, เอดเวิร์ด โจนส์, และ เฟิร์สต์ ยูเนียน แบงก์ ต่างมีการไล่พนัก
งานออก โทษฐานส่งข้อความอันเป็น การจาบจ้วงทางเพศผ่านระบบอีเมลของบริษัท
ส่วน เชฟรอน คอร์ป กับ ไมโครซอฟท์ คอร์ป ต่างต้องประนี ประนอมยอมความในคดีล่วงละเมิดทางเพศโดยจ่ายค่าเสียหายรายละ
2.2 ล้านดอลลาร์ สืบเนื่องจากการส่งอีเมลเวียนกันภายในบริษัท ซึ่งมีเนื้อหาอันอาจก่อให้เกิด
"สภาพแวดล้อมการทำงาน ที่เป็นปรปักษ์ขึ้นมา"
แต่ขณะที่เมื่อช่วง 1 ปีที่ผ่านมาแล้ว เรื่องกังวลใจอันดับหนึ่งของบริษัทต่างๆ
คือ คดีความเกี่ยวกับอีเมลละลาบละล้วงทางเพศ และการไปท่องไซต์ลามก เวลานี้ความวิตกเปลี่ยนมาเป็นเรื่องของการเสียเวลา
และเสียงานเสียการมากกว่า ดังตัวอย่าง ซึ่งเกิดขึ้น ที่ โกลิน/แฮริส อินเตอร์เนชั่นแนล
อันเป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ ซึ่งตั้งอยู่ในนครชิคาโก เมื่อกลางเดือนพฤษภาคม
ที่ผ่านมา แบร์เรตต์ บุสส์ ผู้อำนวยการฝ่ายระบบสารสนเทศ ได้ทดลองใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ใหม่ของบริษัท
ซึ่งทำหน้าที่ติดตามการใช้เว็บของลูกจ้างพนักงาน เนื่องจากสังเกตเห็นว่า
80% ของแบนด์วิดธ์ ที่สำนักงานสาขาแห่งหนึ่งของบริษัท ถูกใช้ไปในการติดต่อเข้าสู่ไซต์ของแนปสตาร์
อันเป็นเว็บไซต์ ซึ่งชื่อฉาวเพราะอนุญาตให้ยูสเซอร์เข้าไปดาวน์โหลดเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ต่างๆ
ได้แบบฟรีๆ ผลปรากฏว่าได้พบพนักงานโกลิน/แฮริส 3 คน หลบงานเข้าไปดาวน์โหลดเพลงจากไซต์แห่งนั้น
โกลิน/แฮริสจึงต้องจัดการปราบปราม และสั่งห้ามพนักงานเข้าไปในแนปสตาร์เมื่อทำงานอยู่
ที่ออฟฟิศ บุสส์โอดโอยว่า เรื่องอย่างนี้ เป็นปัญหาทางจริยธรรมด้วย และเขาไม่ชอบเลย
ที่มีการดาวน์โหลด สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์เข้ามาอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ซึ่งเขาดูแลอยู่
กรณีของโกลิน/แฮริสชี้ให้เห็นแนวโน้ม ที่ว่า เพื่อต่อสู้กับสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเป็นความประพฤติ
มิชอบของลูกจ้างพนักงาน บรรดาผู้จัดการก็กำลังเริ่มสอดแนมแกะรอยด้วยการใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภทติดตามตรวจสอบ
ไอดีซีทำนายว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเภทนี้จะมีอัตราเติบโตทบต้นถึงปีละ
75% ไปจนตลอดถึงปี 2003 บริษัทผลิตซอฟต์แวร์เหล่านี้ ซึ่งเจ้า ที่อยู่ในลำดับต้นๆ
ได้แก่ เอลรอน, เซิร์ฟคอนโทรล ของเจเอสบี, และเน็ต พาร์ตเนอร์ส เสนอขายโปรแกรม
ซึ่งสามารถบันทึกการใช้คอมพิวเตอร์ของพนักงานทุกคนชนิดทุกฝีก้าว ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์
ที่เข้าไปเยือน หรืออีเมล ที่รับ และส่ง และกระทั่งสิ่ง ซึ่งพนักงานพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ดแล้วลบออก
บางโปรแกรมยังตามแกะออกมาได้ว่าพิมพ์อะไรไปบ้าง ซอฟต์แวร์บางตัวกระทั่งสามารถส่งสัญญาณ
ที่เป็นเสียงเหมือนกระดิ่งไปยังฝ่ายบุคคล เพื่อเตือนให้ทราบว่ามีลูกจ้างพนักงานกำลังหลบเข้าไปเยือนไซต์ลามกอยู่
เวลานี้มีบริษัท ต่างๆ ราว 40% กำลังใช้โปรแกรมประเภทนี้กัน สูงขึ้นมากจากระดับ
17% ในช่วงปลายปี 1998 และไอดีซี พยากรณ์ว่า ภายในเดือนกรกฎาคม 2001 จะมีบริษัทราว
80% ทีเดียว ที่ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมทางออนไลน์ของลูกจ้างพนักงาน
บรรยากาศเช่นนี้ทางลูกจ้างพนักงานไม่พอใจแน่ และพวกเขากำลังเริ่มตอบโต้กันแล้ว
ด้วยเหตุผล ซึ่งน่ารับฟังทีเดียว ดัง ที่ เชล โฮลซ์ ที่ปรึกษา ซึ่งทำงานอยู่กับ
โฮลซ์ คอม มิวนิเคชั่นส์ แอนด์ เทคโนโลยี ในเมืองคองคอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนียชี้ว่า
การตรวจสอบพฤติกรรมทางออนไลน์นั้น ก็เหมือนกับวงการบรรษัทอเมริกันกำลังบ้าคลั่งถึงขนาดจะเอกซเรย์กระเป๋าเอกสาร
และแอบใช้ ไอน้ำเปิดจดหมายพนักงานนั่นเอง โดยกระทำแบบนี้ทั้ง ที่ระดับประสิทธิภาพการผลิตของสหรัฐฯ
กำลังอยู่ในจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยซ้ำ โฮลซ์ตั้งคำถามฉกรรจ์ ต่อวงการบรรษัทอเมริกันแทนลูกจ้างพนักงานทั้งหลายว่า
"ถ้าคุณไม่ได้มีเครื่องบ่งชี้อะไรเลยว่า ผลงานของผมกำลังเสียหายย่ำแย่
แล้วทำไมคุณต้องมาตรวจอีเมลของผมด้วย"
โฮลซ์บอกด้วยว่า เวลานี้คนอเมริกันกำลังทำงานหนักขึ้น โดยทำเพิ่มขึ้นประมาณปีละ
1 เดือนเมื่อเทียบกับช่วง 10 ปีก่อน ด้วยเหตุนี้เส้นแบ่งระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตด้านอื่นๆ
จึงอยู่ในอาการลบเลือนกว่าในอดีต ในเมื่อตอนนี้งานกำลังรุกรานเวลาอยู่กับบ้าน
โฮลซ์มองว่าน่าจะเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้ว ที่เวลาอยู่กับบ้านก็ควรมารุกรานเวลาทำงานได้นิดๆ
หน่อยๆ ด้วย ไม่น่าเลย ที่จะมาติดตามตรวจสอบกันให้จุกจิกกวนใจ "ผมจะ มีความรู้สึกผูกพันกับองค์กรได้อย่างไร
ในเมื่อองค์กรดังกล่าวตะโกนใส่หน้าผมว่า "เราไม่ไว้ใจ คุณ" โฮลซ์ปุจฉา
ลูกจ้างพนักงานบางรายเลือกวิธีต่อสู้ตอบโต้ด้วยการเข้ารหัสข้อความในอีเมลของพวกเขา
ตลอดจนติดตั้งโปรแกรมเล่นเกม ซึ่งมีปุ่มฉุกเฉิน ที่เวลากดแล้วจะมีสเปรดชีต
ปลอมๆ โผล่ออกมาเต็มจอ เอาไว้ให้ใช้ในเวลาผู้บังคับบัญชาเกิดโฉบผ่านมาอย่างไม่ทันตั้งตัว
บรรยากาศแห่งความไม่แฮปปี้ทำนองนี้ ชวนให้เปรียบเทียบกับตอน ที่วงการบรรษัทอเมริกันเฝ้ามองด้วยความ
ระแวงสงสัย ขณะโทรศัพท์ก้าวเข้ามาเมื่อ 100 ปีก่อน และเครื่องแฟกซ์ปรากฏโฉม
เมื่อ 15 ปีที่แล้ว พวกผู้บริหารในทั้ง 2 ยุค ต่างกลัวเกรงว่า เทคโนโลยีใหม่เหล่านี้จะทำให้ความลับทางการค้าเกิดการรั่วไหลอย่างขนานใหญ่
และทำให้ประสิทธิภาพการผลิตลดต่ำลง แต่ความ หวั่นเกรงเช่นนี้ไม่ได้กลายเป็นความจริงขึ้นมาเลย
อันที่จริง ในทุกวันนี้ ซึ่งภาวะการจ้างงานของสหรัฐฯ อยู่ในอาการแทบเต็มล้น
และงานกำลังง้อคนยิ่งกว่าคนกำลังง้องาน นายจ้าง ซึ่งใช้นโยบายแบบสุดเฮี้ยบ
จึงกำลังเสี่ยง ที่จะสร้างความรู้สึกแปลกแยกกับคนวัยหนุ่มสาว ที่พวกเขาลำบากลำบนดึงเข้ามาทำงานด้วย
สำหรับคนในรุ่นเจนเนอเรชั่น "วาย" ที่เคยชินกับการเล่นเว็บมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก
อินเทอร์เน็ตไม่ใช่เป็นของโก้เป็นเกียรติยศประดับบารมี หากเป็นสิทธิอัน พึงมีพึงได้ของผู้คนทีเดียว
"บุคลากรชนิดโป๊ะเชะ ที่บริษัทต่างๆ ต้องการดึงตัวมาทำงานด้วย
ก็คือ คน ซึ่งจะหนีหายไปด้วยนโยบายอินเทอร์เน็ตแบบนี้นั่นเอง" คริส
คริสเตียนเสน นักวิเคราะห์ อินเทอร์เน็ตแห่งไอดีซีให้ทัศนะ
บริษัทจำนวนมาก ที่พยายามใช้วิธีปราบปรามรุนแรง กลับพบว่าเกิดผลกระทบในทางลบอย่างมากมาย
ตอน ที่กลุ่มมีเดียวัน ยังเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทยูเอส เวสต์ อิงค์ อยู่นั้น
บริษัทแม่มักส่งอีเมลมีข้อความข่มขู่คุกคามลูกจ้างพนักงาน ที่ใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ผลก็คือ ขวัญกำลังใจทรุดฮวบ อย่างไรก็ดี ทันที ที่มีเดียวันถูกตัดแยกออกมาเป็นอิสระ
พวกผู้บริหารก็หันมาใช้วัฒนธรรม ที่ผ่อนปรนมากขึ้น "เราตัดสินใจให้พวกหัวหน้างาน
มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ เพราะพวกเขาเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารจัดการลูกจ้างพนักงาน
และก็ต้องให้ความไว้วางใจลูกจ้างพนักงานในการทำงานของพวกเขา" ดอน
จอห์นสัน ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีนิวมีเดียของมีเดียวันอธิบาย
ถ้าหากบริษัทใดคิดว่า เวลานี้การสร้างสมดุลให้ถูกต้องเหมาะสม ระหว่างการใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อประโยชน์ส่วนตัว และการใช้ ที่เกี่ยว ข้องกับการงาน ยังเป็นเรื่องลำบากยากเย็นแล้ว
ก็ขอให้อดใจรออีกสักหน่อย เพราะอนาคตมีแต่จะยุ่งยากซับซ้อน ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ
อีกไม่นาน อุปกรณ์ไร้สายรุ่นอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใส่กระเป๋า
ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ จะทำให้ลูกจ้างพนักงานสามารถท่องไปไหนต่อไหนได้สบายแม้ตัวอยู่ห่างจากโต๊ะทำงานไปไกลโพ้น
ไม่ใช่เรื่องยากเลย ที่จะจินตนาการให้เห็นว่า พวก เพื่อนพนักงานจะสรรหาความรื่นรมย์บันเทิงใจให้แก่กัน
และกัน ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถือ ที่บริษัทจ่ายให้พวกเขา มาเล่นเพลง วิดีโอ
หรือกระทั่งโชว์ลามก แบบเรียลไทม์
"โลกใบนี้กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรงยิ่ง และหากไม่มีอะไรมาเหนี่ยวรั้งเจ้าเทคโนโลยีไร้สายใหม่ๆ
พวกนี้เอาไว้บ้างแล้ว บริษัทต่างๆ ก็จะพบว่าตัวเองต้องมีค่าใช้จ่ายเกินงบ
ที่น่าโกรธแค้น จากสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจะเป็นของใหม่ ที่จะอำนวยความสะดวกให้มหาศาล"
คริสเตียนเสนกล่าวเตือน
(เก็บความจาก บิสซิเนส วีก)