|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หมอเลี้ยบเดินหน้า ไม่รอกทช.เตรียมดันค่าเชื่อมโครงข่าย ให้เสร็จภายในปีนี้ ตามด้วยการใช้เบอร์เดียวทุกระบบ ด้านเอไอเอสย้อน ถามใครลงทุน คุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจหรือไม่ ส่วนดีแทคยันรัฐควรควักกระเป๋าด้วยการจัดสรรรายได้ใหม่ที่ได้ จากภาษีสรรพสามิตและส่วนแบ่งรายได้
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวในงานสัมมนาเรื่อง "มือถือเบอร์เดียวทุกระบบ : ใครได้ใครเสีย" ว่า บริการเบอร์เดียวทุกระบบ (Mobile Number Portability) ไม่ใช่แค่มือถือเท่านั้น เพราะเทคโนโลยีขณะนี้สามารถ ให้บริการข้ามระบบได้ เช่น มือถือกับมือถือ มือถือกับโทรศัพท์บ้าน หรือโทรศัพท์บ้านกับโทรศัพท์บ้าน
"บริการเบอร์เดียวทุกระบบถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับภาครัฐและเอกชนไทย เมื่อเป็นเรื่องใหม่พอคุยกันดูเหมือนง่าย อย่างค่าเชื่อมโครงข่ายซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายแต่ต้องทำ"
น.พ.สุรพงษ์กล่าวว่า ถ้าคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เลือกได้ไม่ครบ 7 คนภายในเดือนก.ย.นี้ สิ่งที่ไอซีทีต้องทำคือเดินหน้าเรื่องค่าเชื่อมโครงข่ายและการให้บริการเบอร์เดียวทุกระบบ แต่ต้องสร้างกติกาที่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นก่อน เพราะไม่เช่นนั้นรายใหญ่จะได้เปรียบ รายเล็กจะมีปัญหา ยกตัวอย่างทีทีแอนด์ที หากเป็นเบอร์เดียวใช้ทุกระบบมีปัญหาแน่ เพราะมีข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนการให้บริการ และส่วน แบ่งรายได้ตามสัญญาร่วมการงาน
"ถ้ากทช.ไม่เกิด ไอซีทีต้องทำ เพราะจะทำหรือไม่ทำอะไรก็ต้องมีคนมองว่าเอื้อผลประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ทำต้องรออีกปีครึ่งกว่ากทช.จะเกิด ซึ่งเรารอไม่ได้จึงต้องเดินหน้า"
น.พ.สุรพงษ์กล่าวว่า 2 เรื่องดังกล่าวคาดว่าค่าเชื่อมโครงข่ายดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ส่วนเรื่องเบอร์เดียวใช้ได้ทุกระบบยังไม่สามารถ กำหนดระยะเวลาได้ เพราะยังไม่มีการ ศึกษาอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ระบบ หรือซอฟต์แวร์
นักวิชาการเชื่อต้องใช้เวลา
นายอนุภาพ ถิรลาภ ผู้อำนวยการสถาบันการบริการสื่อสารไทย กล่าวว่า ถ้าจะทำเรื่องเบอร์เดียวใช้ทุกระบบแล้วไม่ทำเรื่องค่าเชื่อมโครงข่ายก็ไม่มีความหมาย เพราะต้องมีการรับประกันคุณภาพเครือข่ายให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการลงทุนเพิ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง และใครจะเป็นผู้ลงทุน ส่วนผู้ใช้บริการต้องจ่ายค่าบริการเพิ่มหรือไม่
ถ้าเบอร์เดียวไม่เกิดแต่ผู้บริโภคต้องการใช้ รัฐบาลต้องส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์บ้านด้วย ซึ่งบริการนี้สามารถทำได้เลยคือ 1. ใช้วิธีโรมมิ่งเครือข่าย 2. ทำโดยวิธีปรับโครงสร้าง ทางเทคนิคโดยการเพิ่มคู่สายโทรศัพท์ 3. ทำในเชิงพาณิชย์คือแบบ One Number Service
"ทั้ง 3 เรื่องเป็นสิ่งที่เทคโนโลยีทำได้โดย ไม่ต้องรอกทช.เกิด อยู่ที่ว่าใครจะทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ใคร"
ด้านนายอนันต์ วรธิติพงศ์ เลขาธิการสมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ถ้ามองในเชิงเทคนิคอย่างมือถือผู้ให้บริการจะมีการจัดกลุ่มเบอร์ที่ใช้ไว้อยู่แล้ว หากต้องให้บริการแบบเบอร์เดียวสามารถทำได้อยู่แล้ว แต่พอเริ่มโทร.ติดต่อ (Connect) ก็จะไปเริ่มที่เครือข่ายของโอเปอเรเตอร์แรกที่ผู้บริโภคใช้บริการแล้วค่อยส่งต่อสัญญาณ (Forward) ไปเครือข่ายของโอเปอเรเตอร์ใหม่ ซึ่งตรงนี้มีเรื่องค่าเชื่อมโครงข่ายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่แล้ว
ข้อดีของการให้บริการนี้คือผู้บริโภคได้รับความสะดวกสบายในการใช้งาน แต่ใครจะเป็นผู้วางระบบควบคุมเรื่องการส่งสัญญาณจากโอเปอเรเตอร์หนึ่งไปอีกโอเปอเรเตอร์หนึ่ง ใครเป็นผู้คิดค่าใช้จ่าย ใครจะเป็นผู้ลงทุน
"ถ้ามองในทางสังคมแล้วสะดวกสบายในการใช้งาน ถ้ามองในเชิงเศรษฐคุ้มค่าหรือไม่กับการลงทุน ซึ่งในกลุ่มนี้จะมีเพียง 10% หรือประมาณ 2 ล้านรายของผู้ใช้ทั้งหมด ที่จะเปลี่ยนไปใช้ของผู้ให้บริการรายอื่นและมีกติกาที่ชัดเจนหรือยัง"
สำหรับในเรื่องของการลงทุนนายแชงกา เมมบัท ตัวแทนบริษัท โนเกีย(ประเทศไทย)กล่าวว่า การลงทุนเกี่ยวกับระบบและซอฟต์แวร์ในการให้บริการเบอร์เดียวทุกระบบต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 30-40% ของงบที่ลงทุนไปแล้ว
เอไอเอสชี้ติดปัญหาลงทุน
นายวิเชียร เมฆตระการ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานปฏิบัติการ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอรวิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า เรื่องเบอร์เดียวทุกระบบมีค่าใช้จ่ายคือการลงทุนของโอเปอเรเตอร์ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องรับภาระในการใช้บริการคือ 1. ค่าธรรมเนียมในการย้ายข้ามระบบ และ 2.ค่าใช้จ่ายต่อการโทร.ที่เกิดขึ้นจากการเรียกเข้า
"เรื่องเบอร์เดียวข้ามระบบ ค่าใช้จ่ายสูงต้องลงทุนในหลักร้อยล้านบาทขึ้นไปในการตั้งชุมสายกลาง ปัญหาคือใครจะลงทุน ถ้าลงทุนแล้วไม่มีใครใช้บริการขาดทุน รัฐจะเข้ามาช่วยรับภาระการลงทุนดังกล่าวหรือไม่"
เขากล่าวว่าการดำเนินการอาจมีการตั้งองค์กร กลางหรือให้โอเปอเรเตอร์รายใดรายหนึ่งทำก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญคือเรื่องเงินลงทุน เพราะชุมสายกลางรองรับ 1 แสนเลขหมายราคาประมาณ 80 ล้านบาทแล้วที่สำคัญไทยมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเกือบ 30 ล้านเลขหมายจำเป็นต้องลงทุนเผื่ออนาคตอีกหรือไม่
"เอไอเอสยินดีให้ความร่วมมือ แต่ถ้าให้ลงทุน เองทั้งหมดไม่เอา การทำเบอร์เดียวทุกระบบ เรื่องราคาแพงเป็นปัญหามากกว่าความยากทางเทคนิค เพราะเทคนิคทำได้อยู่แล้ว"
ดีแทคยันรัฐควรควักกระเป๋า
นายวิชัย เบญจรงคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมดีแทคกล่าวว่าดีแทคพร้อมสนับสนุน นโยบายรัฐซึ่งอุตสาหกรรมทั้งหมดควรให้ความร่วมมือกันโดยเฉพาะภาครัฐจากการเก็บภาษีสรรพสามิตหรือเก็บส่วนแบ่งรายได้ ควรนำรายได้ที่เก็บไปมาจัดสรรใหม่ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด
"ทศทหรือกสท ควรเข้ามาลงทุนตรงนี้ ด้วยการจัดสรรรายได้ที่ได้รับไปใหม่ เพราะตอนนี้เปลี่ยน เป็นผู้ให้บริการหมดแล้ว"
|
|
|
|
|