Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2541
ค่ายแลนด์พลิกทุกกลยุทธ์สู้ศึกเงินดอลล์             
 


   
search resources

แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บมจ.




ปิดฉากปีเสือดุ เสือลำบากอย่างอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการบริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ก็ยังใจดีสู้เสือออกมาแถลงข่าวคราวของบริษัท ต่อนักข่าวสายอสังหาริมทรัพย์ที่ ณ วันนี้ร่อยหรอลงเกือบครึ่ง

ทุกย่างก้าวของบริษัทพัฒนาที่ดินยักษ์ใหญ่ของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ย่อมเชื่อได้ว่าหลายฝ่ายติดตาม โดยเฉพาะในเรื่องการพลิกค้นกลยุทธ์ต่อสู้กับสถานการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้น

นโยบายอย่างหนึ่งของแลนด์ แอนด์เฮ้าส์ที่น่าสนใจมากก็คือ ในเรื่องของการรับเงินดาวน์ โดยลดงวดเงินดาวน์ลงจาก 15-18 งวดเหลือเพียง 8-12 งวดเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็จะเพิ่มในส่วนของเงินดาวน์อีกอย่างน้อย 5%

ในยุคที่มีการแข่งขันการขายอย่างรุนแรงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งสภาพการขายโครงการโดยทั่วไปในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การยืดชำระการผ่อนงวดและลดจำนวนเงินดาวน์ เป็นสิ่งที่เจ้าของโครงการได้นำมาใช้กันโดยตลอด เพื่อที่จะจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น เพราะจากเงินดาวน์ประมาณ 25-30% ของราคาขายและต้องผ่อนดาวน์ประมาณ 12 งวด ก็ได้ลดลงเหลือเพียงประมาณ 10-15% และผ่อนได้นานขึ้นถึง 24 เดือน

จากยุทธวิธีดังกล่าวได้สร้างปัญหาให้เกิดขึ้นในขณะนี้คือ ปัจจุบันทางสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ระยะยาว จะปล่อยสินเชื่อให้น้อยลงจากที่เคยปล่อย 80-90% ของราคาประเมินของบ้าน ก็อาจจะเหลือเพียง 70%-75% ซึ่งลูกค้าจะต้องรับภาระหาเงินส่วนที่เหลือนี้มาสมทบเอง เลยกลายเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้การโอนล่าช้า มิหนำซ้ำบางรายเคยผ่อนดาวน์ต่อเดือนให้ทางโครงการเป็นเงินที่น้อยกว่าผ่อนต่องวดให้กับธนาคาร ก็เลยผ่อนต่อจริงๆ กับทางธนาคารไม่ไหว

อนันต์ได้ให้เหตุผลในเรื่องของการลดงวดเงินดาวน์ว่า ส่วนหนึ่งเพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกบ้านที่ต้องการบ้านเร็วขึ้น ส่วนเงินดาวน์ที่เพิ่มขึ้นอีก 5% นั้นจะสอดคล้องกับนโยบายของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีความเข้มงวดในการปล่อยเงินกู้มาก

ซึ่งวิธีการดังกล่าวผู้ซื้อที่ต้องการซื้อบ้านจริง ก็ต้องแบกภาระในการผ่อนงวดมากขึ้น ทั้งๆ ที่ปัจจุบันรายได้ของคนจะลดลง ทำให้อาจจะมีผลกระทบต่อการขาย แต่อนันต์กลับมั่นใจว่า กลุ่มลูกค้าที่มีเงินและต้องการบ้านจริงยังมีอยู่

แน่นอนที่สุดถ้าไม่มองพลาด ด้วยวิธีนี้บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์จะมีสภาพคล่องที่ดีขึ้นและเร็วขึ้น

"ลูกค้าที่มีความพร้อมในการจ่ายเงินดาวน์ที่สูงขึ้น 25-30% มีความมั่นใจที่จะได้รับอนุมัติสินเชื่อรายย่อยจากธนาคาร และผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการหาแหล่งเงินกู้ให้กับผู้บริโภคได้ องค์กรได้รับความเชื่อถือจะมีความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจในช่วงนี้" นพพรกล่าวเสริม

นอกจากกลยุทธ์ทางการเงินดังกล่าวแล้ว ปีนี้ผู้บริหารของแลนด์แอนด์เฮ้าส์ยืนยันว่า จะไม่มีการเปิดโครงการใหม่ โครงการที่ขายจะเป็นโครงการเดิมที่เปิดเมื่อปี 2539 ซึ่งมีโครงการที่ดำเนินงานอยู่ 35 โครงการ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 29 โครงการ ต่างจังหวัด 6 โครงการ

ถึงแม้ว่าในปี 2540 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นปีที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก มีการปิดสถาบันการเงินถึง 56 แห่ง แต่ทางบริษัทโอนบ้านไปได้ประมาณ 3,000 ยูนิตเป็นเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนปี 2541 นั้นคาดว่า จะมีการโอนบ้านให้ลูกค้าเป็นมูลค่าประมาณ 9,000 ล้านบาท เมื่อหักต้นทุนการก่อสร้างประมาณ 2,700 ล้านบาทแล้ว เงินที่เหลืออีกประมาณ 6,300 ล้านบาทน่าจะเพียงพอต่อการดำเนินงานของบริษัทได้ทั้งปี รวมทั้งค่าใช้จ่ายในเรื่องดอกเบี้ยเงินกู้ด้วย

ดูภาพโดยรวมๆ ดังกล่าวแล้วก็ไม่น่ามีปัญหา แลนด์แอนด์เฮ้าส์น่าจะผ่านปีเสือดุไปได้โดยไม่ลำบากมากนัก แต่อย่าลืมว่าแลนด์แอนด์เฮ้าส์ยังมีภาระที่ยิ่งใหญ่อยู่ก็คือ ในเรื่องของการชำระเงินกู้ต่างประเทศ ซึ่งส่วนต่างของค่าเงินบาทและดอลลาร์นั้นทำให้บริษัทขาดทุนครั้งใหญ่ ทั้งๆ ที่เคยมีกำไรสุทธิต่อเนื่องมาตลอดปีละประมาณ 1,500-2,200 ล้านบาท

ประวัติศาสตร์ของบริษัทได้บันทึกไว้ว่าไตรมาสที่ 2 ของปี 2540 บริษัทขาดทุน 1,810 ล้านบาท, ไตรมาสที่ 3 ขาดทุนถึง 2,600 ล้านบาท ซึ่งในไตรมาสที่ 2 นั้นในส่วนเงินกู้ต่างประเทศได้คิดจากค่าเงิน 29 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ไตรมาสที่ 3 คิดที่ค่าเงินประมาณ 35 บาทต่อดอลลาร์

ต้นปี 2541 อนันต์บอกว่า ค่ายแลนด์ฯ ยังเป็นหนี้ต่างประเทศประมาณ 130 ล้านดอลลาร์ คิดที่ดอลลาร์ละ 55 บาทเป็นเงิน 7,000 กว่าล้านบาท ถ้าค่าเงินบาทอ่อนลงกว่านี้จะเป็นหนี้เท่าไหร่ คาดว่าคนของแลนด์ฯ คงไม่กล้าจะคิดถึง ถึงแม้จะเป็นหนี้ระยะยาวที่ต้องชำระคืนอีก 3-5 ปีข้างหน้าก็เถอะ

ส่วนโครงการในต่างประเทศ ทั้งฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียนั้น ถึงแม้ว่าจะขายไปได้ส่วนใหญ่แล้วก็ตาม แต่ปัญหาของค่าเงินที่กระทบไปหมดทั่วเอเชีย รวมทั้งความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในอินโดนีเซีย แน่นอนว่าย่อมกระทบต่อการลงทุนของแลนด์แอนด์เฮ้าส์เหมือนกัน โดยเฉพาะในเรื่องการโอนที่กำลังจะทยอยโอนในทั้ง 2 ประเทศ

ปีที่ผ่านมาคนของแลนด์ฯ เลยอดได้โบนัสทั้งบริษัท แถมยังมีแผนลดต้นทุนประหยัดกันสุดตัวด้วย นอกจากนั้นสื่อไหนที่เคยได้รับอานิสงส์การลงโฆษณาจากค่ายแลนด์ฯ ปีนี้ก็ต้องเตรียมทำใจ เพราะจะลดงบตัวนี้ลงมาอีก 30% เหลือเพียง 150 ล้านบาทจาก 250 ล้านบาทเมื่อปี 2540 และ 450 ล้านบาทเมื่อปี 2539 ซึ่งจะกระจายใช้ในสื่อทุกประเภท

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us