|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศคึก ผู้ประกอบการแห่ระดมทุนเข้าตลาดหุ้น-MAI ล่าสุด "ซีพีอาร์ โกมุฯ" เตรียมยื่นไฟลิ่งก.ล.ต. เข้าตลาด MAI เพื่อนำเงินไปขยายกำลังการผลิตรองรับไทยเป็น "ดีทรอยต์ แห่งเอเชีย" คาดกระจายหุ้นได้ภายในเดือนต.ค.นี้ ขณะที่ "ยานภัณฑ์" เข้าตลาดหลักทรัพย์ภายในเดือน ก.ย.นี้ หาเงินคืนหนี้สถาบันการเงิน ลดภาระต้นทุน หลังลงทุนสร้างโรงงานใหม่ขยายกำลังการผลิต
นายนพดล วณิชวิศิษฎ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีอาร์ โกมุ อินดัสเตรียล จำกัด (มหาชน) (CGI) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ เพื่อขอเข้าจดทะเบียนในตลาด MAI ซึ่งจะมีการกระจายหุ้นให้กับ
ประชาชนทั่วไป (IPO) จำนวน 55 ล้านหุ้น โดยแบ่งเป็นจัดสรรให้กับพนักงาน 5 ล้านหุ้น ส่วนที่เหลือกระจายให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อนำเม็ดเงินที่ระดมทุนได้มาขยายกำลังการผลิต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ซึ่งคาดว่าจะกระจายหุ้นให้กับประชาชนได้ภายในเดือนก.ย.หรือต.ค.นี้
ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียนจำนวน 199 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เป็นทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วจำนวน 144 ล้านบาท การกระจายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งนี้คิดเป็น 27.64% ของทุนจดทะเบียน ส่วนผลการดำเนินงานย้อนหลังในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มียอดขายเพิ่มเฉลี่ยสูงกว่า 20%
"การเข้าระดมทุนตลาด MAI ครั้งนี้ก็เพื่อที่จะระดมทุนได้เร็วมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจของบริษัทเป็นธุรกิจที่แนวโน้มมีอนาคต การเข้าลงทุนน่าจะให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงิน เพราะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ที่ระดับ 1% ต่อปีเท่านั้น เมื่อหักภาษีแล้วผลตอบแทนจะอยู่แค่ 0.85% ต่อปี การลงทุนในหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนมากกว่าการฝากเงิน"
นายนพดลกล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยประมาณ 25-30% และปัจจุบันบริษัทผู้ประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ในญี่ปุ่นก็ย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาลที่พยายามผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิต ประกอบ และส่งออกรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย (ดีทรอยต์แห่งเอเชีย) นอกจากนี้ บริษัทยังคาดว่าจะได้รับผลดีจากการที่บริษัทนิสสัน มอเตอร์ กรุ๊ป ที่เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในบริษัท สยามนิสสัน ในสัดส่วน 75% จากเดิม 25% และนิสสัน มอเตอร์ กรุ๊ป ก็มีแผนขยายกำลังการผลิตของบริษัทสยามนิสสันกลการให้มากขึ้น โดยจะแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ๆจำนวน 10 รุ่น ภายในปี 2551 และจะเพิ่มยอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า จากเดิม เป็น 1.3 แสนคัน ภายในปี 2551
สำหรับบริษัท ซี พี อาร์ โกมุ อินดัสเตรียล เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจรับจ้างผลิตชิ้นส่วนยาง และยางติดเหล็ก สำหรับใช้เป็นชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนต้นแบบ โดยบริษัทได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากบริษัท คินูงาว่า รับเบอร์ อินดัสเตรียล (KG) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยางให้กับบริษัท นิสสัน มอเตอร์ กรุ๊ป ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งยอดขายประมาณ 60% ได้รับออเดอร์จากนิสสัน ส่วนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมามียอดขายประมาณ 200-300 ล้านบาท กำไรสุทธิประมาณ 37 ล้านบาท
ขณะที่ บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) เตรียมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยจะกระจายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป ภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อระดมทุนประมาณ 1 พันล้านบาท โดยเงินที่ได้รับจะนำไปคืนหนี้สถาบันการเงินบางส่วนเพื่อ ลดต้นทุน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หลังจาก ที่ก่อนหน้านี้กู้เงินมาเพื่อสร้างโรงงาน 2 แท่ง เพื่อขยายกำลังการผลิต โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 68 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท
|
|
|
|
|