Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2541
ถึงทีของซอฟต์แวร์เกมของแท้ๆ บ้าง             
 


   
search resources

Software




หากไม่นับไมโครซอฟท์แล้วซอฟต์แวร์ยอดนิยมคงตกอยู่กับบรรดาซอฟต์แวร์เกมทั้งหลาย เพราะแทบไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องไหนที่จะไม่มีบรรดาเกมต่างๆ นี้บรรจุอยู่

ทว่าในเชิงของธุรกิจแล้ว ซอฟต์แวร์เกมยังเป็นแค่ธุรกิจขนาดเล็กๆ เทียบไม่ได้กับขนาดของผู้ใช้งาน มีการประเมินกันว่า สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นเพราะซอฟต์แวร์เกมนั้น ให้ผลในด้านของความบันเทิง ไม่ได้ก่อให้เกิดผลในเชิงธุรกิจ จึงไม่ใช่เรื่องจำเป็นที่จะต้องควักเงินซื้อหามาใช้ และที่สำคัญคือราคาของซอฟต์แวร์ของแท้แพงกว่าของก๊อบปี้มาก

ยิ่งในเมืองไทยด้วยแล้วตลาดของซอฟต์แวร์เกม ล้วนเป็นตลาดของก๊อบปี้เป็นส่วนใหญ่ จนแทบจะไม่มีที่ว่างสำหรับซอฟต์แวร์ของแท้เท่าไหร่นัก

ปัจจุบันมีผู้ค้าซอฟต์แวร์เกมของแท้อยู่ในตลาดเพียงแค่ 4-5 ราย และรายล่าสุดที่หาญกล้าเข้ามาทำตลาดแล้วในเวลานี้ก็คือ อิเลคโทรนิค อาร์ต หรือ อีเอ ผู้ผลิตและจำหน่ายซอฟต์แวร์เกมและการศึกษาที่มีถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ที่มองเห็นโอกาสทางการตลาดของซอฟต์แวร์เกมและการศึกษาในเมืองไทย

อิเลคโทรนิค อาร์ต เป็นหนึ่งในเจ้าของลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เกมเด่นๆ หลายตัวที่บรรดานักเล่นเกมคงได้เคยสัมผัสมาบ้างแล้ว "ฟีฟ่า" ซอฟต์แวร์เกมวางแผนการจัดการทีมฟุตบอล อย่างเกมสร้างเมือง รวมทั้ง NEED FOR SPEED II

"‚ซอฟต์แวร์อีเอ สปอร์ตของเรา เป็นที่รู้จักมากกว่า รองเท้ายี่ห้อรีบอคเสียอีก" คำยืนยันอย่างหนักแน่นของ เอริค ลี ผู้จัดการประจำประเทศไทย ชาวสิงคโปร์กล่าว

การเข้าสู่ตลาดเมืองไทยของอิเลคโทรนิค อาร์ต เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการขยายอาณาเขตทางธุรกิจออกไปสู่ทั่วโลก ประเทศไทยจัดเป็น 1 ใน 85 ประเทศที่อิเลคโทรนิค อาร์ตเข้าไปทำตลาด มีทั้งการตั้งสาขาขึ้นเองและตั้งตัวแทนจำหน่ายและผลิตสินค้า

บริษัทซอฟต์แวร์เกมแห่งนี้ มีทั้งซอฟต์แวร์ที่ผลิตขึ้นเองและที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากค่ายเกมอื่นๆ รวมทั้งหมด 100 เรื่องในมือที่วางตลาดในเมืองไทย

"เราต้องการเป็นคีย์เพลเยอร์ในอุตสาหกรรมผลิตซอฟต์แวร์บันเทิง เราจะส่งออกเกมออกไปทั่วโลก" เอริค ลีกล่าว

ปัจจุบันเอริค ลี มีทีมงานชาวไทยอีก 7 คน พร้อมกับร้านค้าปลีก 120 แห่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่เป็นเครือข่ายในการจำหน่ายสินค้า เรียกว่า ใช้กลยุทธ์ในการกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคให้มากที่สุด

ตัวเลขส่วนแบ่งตลาด 20% จากมูลค่าของตลาดซอฟต์แวร์เกม 650 ล้านบาทในเมืองไทย คือ เป้าหมายที่เอริค ลีวางเป้าหมายเอาไว้ นั่นหมายความว่า อิเลคโทรนิค อาร์ตจะต้องต่อกรกับคู่แข่ง 4-5 รายในตลาด และที่สำคัญคือ บรรดาซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ เจ้าตลาดตัวจริง ที่ครองส่วนแบ่งตลาดในมือ 90%

เอริคกล่าวว่า กลไกสำคัญที่อิเลคโทรนิค อาร์ตใช้ในการจูงใจผู้ใช้ให้หันมาใช้ซอฟต์แวร์ของแท้ก็คือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ให้เป็นภาษาท้องถิ่น เพราะสิ่งสำคัญของการทำตลาดซอฟต์แวร์ในเมืองไทยก็คือ การต้องลงทุนทำให้เป็นภาษาไทย

"สิ่งที่เราต้องทำคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์เกมที่มีอยู่ให้เป็นภาษาไทย ตั้งแต่การผลิต, การผลิตคู่มือ, บรรจุหีบห่อ, และจัดจำหน่าย ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำขึ้นในเมืองไทย โดยจะมีทั้งทีมงานของเราและการว่าจ้างบริษัทอื่นๆ ทำ"

สินค้าตัวแรกที่ถูกเลือกให้หพัฒนาเป็นภาษาไทย คือซอฟต์แวร์ I CAN BE A DINOSAUR FINDER ของค่ายเกม CLOID-9 และผลิตคู่มือภาษาไทยของซอฟต์แวร์เกม "ฟีฟ่า" เป็นภาษาไทย และอยู่ระหว่างพัฒนาซอฟต์แวร์เกมอีก 4 เรื่องให้เป็นภาษาไทยและอีก 9 เรื่องในปี 2541

เวลา 8-9 เดือนที่อิเลคโทรนิค อาร์ตเข้ามาในเมืองไทย จนพอรู้ได้ว่า อุปสรรคสำคัญที่ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ของแท้ที่เสียเปรียบซอฟต์แวร์ก๊อบปี้มาตลอดก็คือ ในเรื่องราคาขายที่สูงกว่าค่อนข้างมาก

และแม้จะมีเบเคอร์ แอนด์ แมคเคนซี่ สำนักงานทนายความชื่อดัง เป็นตัวแทนทางกฎหมายเพื่อปราบปรามบรรดาซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ แต่เอริคก็รู้ดีว่าการใช้ไม้แข็งต่อกรกับซอฟต์แวร์เถื่อนย่อมไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก เพราะการกวาดจับผู้ละเมิดกฎหมายไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เหมือนกับที่ซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจเคยเจอมาแล้ว

"เราไม่ต้องการใช้ไม้แข็ง เพราะเราต้องการให้ผู้ค้าซอฟต์แวร์เถื่อนหันมาเป็นตัวแทนจำหน่ายให้กับเรา" เอริค ลี กล่าว

ทางเลือกที่อิเลคโทรนิค อาร์ตเลือกก็คือ การลงมาสู้ในเรื่องราคา ด้วยการตัดสินใจลดราคาลง 50% เริ่มด้วยราคาต่ำสุดอยู่ที่ 399 บาท โดยจะเริ่มจากซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเองคือ เกมวางแผนฟุตบอลฟีฟ่า ซึ่งผู้บริหารยืนยันว่าจะทยอยออกซอฟต์แวร์เรื่องอื่นๆ ตามมา

การที่อิเลคโทรนิค อาร์ต เลือกลดราคาลงมา ทำให้ซอฟต์แวร์ของแท้มีราคาลงมาใกล้กับของก๊อบปี้มากขึ้น จึงทำให้มองเห็นโอกาสของการต่อกรกับซอฟต์แวร์ก๊อบปี้มีขึ้นค่อนข้างมาก โอกาสที่อิเลคโทรนิค อาร์ตจะขึ้นสู่ความสำเร็จย่อมไม่ใช่เรื่องยาก หากจะใช้กลยุทธ์ทางด้านราคามาใช้อย่างจริงจัง และเมื่อผนวกกับการขยายช่องทางจัดจำหน่าย และแผนพัฒนาให้เป็นภาษาไทยที่วางไว้ โอกาสประสบความสำเร็จก็คงไม่ไกลนัก

และไม่แน่ว่า จะถึงทีของซอฟต์แวร์ของแท้กันเสียที หลังจากปล่อยให้ซอฟต์แวร์ก๊อบปี้ครองตลาดกันอยู่นาน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us