Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2541
วาลเมตอัพเกรดไทยเป็นศูนย์เทคโนฯ ใหญ่ในเอเชีย             
 


   
search resources

VALMET




บริษัทวาลเมต คอร์ปอเรชั่นเป็นบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการผลิตและจำหน่ายเครื่องจักร, อุปกรณ์ รวมถึงให้บริการสำหรับอุตสาหกรรมผลิตกระดาษและเยื่อกระดาษ และเมื่อกลางเดือนมกราคม บริษัทได้เปิดศูนย์เทคโนโลยีแห่งใหม่ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากมีข่าวความเคลื่อนไหวเมื่อขวบปีที่แล้ว

ธุรกิจของวาลเมต คือ งานขายเครื่องจักรผลิตกระดาษ และงานบริการหลังการขาย โดยเฉพาะงานบริการมีความจำเป็นมาก เพราะเครื่องจักรและอะไหล่ที่ลูกค้าซื้อไป จะมีข้อกำจัดและอายุการใช้งานตามกำหนด ลูกค้าจึงต้องส่งอุปกรณ์ต่างๆ กลับไปยังศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่เสมอ

โดยเฉพาะลูกกลิ้งซึ่งจะเป็นงานหลักของศูนย์แห่งนี้ เพราะเมื่อใช้งานไปสักพัก ลูกกลิ้งจะเกิดขรุขระบนพื้นผิว ต้องส่งกลับไปเจียให้เรียบอยู่เป็นระยะ แต่เดิมต้องส่งไปยังศูนย์บริการที่ยุโรปหรืออเมริกาเหนือ ซึ่งนอกจากเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งแล้ว ยังต้องเสียเวลาถึง 3 เดือน เพราะขนส่งไปทางเรือ การมีศูนย์ฯ ในไทยจึงช่วยประหยัดเวลาให้กับลูกค้าที่ซื้อเครื่องจักรของวาลเมต ไม่ต้องส่งไปซ่อมไกลๆ รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย

สาเหตุที่เลือกเมืองไทย มร.มิกโก คอสกี้วีร์ต้า ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีวาลเมต (ประเทศไทย) ให้เหตุผลว่า
"1. ในการลงทุนบริษัทมีส่วนแบ่งการตลาดในพื้นที่อยู่ในเกณฑ์ 30-40% ซึ่งไทยก็เข้าเกณฑ์นี้
2. ได้พื้นที่ใกล้ท่าเรือแหลมฉบังเพียง 2 กิโลเมตร ซึ่งจะอำนวยความสะดวกในการส่งออกกำลังผลิตที่เหลืออีก 60%
และ 3. พื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังได้รับการส่งเสริมจาก BOI ช่วยในเรื่องภาษี รวมทั้งสาธารณูปโภคก็มีศักยภาพรองรับไฮเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี"

และเมื่อเทียบเมืองไทยกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน มร.มิกโกกล่าวว่า "แม้ว่าอินโดนีเซียจะเป็นตลาดใหญ่ แต่ถ้าเทียบพื้นที่กว้างสุดของประเทศจะมีระยะห่างถึง 5 พันกิโลเมตร ซึ่งจะเสียเวลาในการขนส่งจากลักษณะทางภูมิเอง แต่ถ้าบริษัทใช้พื้นที่ในไทย ลูกค้าในประเทศสามารถมาถึงศูนย์ได้ภายในวันเดียว หรืออินโดนีเซียก็เพิ่มอีก 1 วันเท่านั้น"

ถ้ามองในระดับภูมิภาคเอเชียเองยังถือว่ามีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก ดูจากอัตราการบริโภคกระดาษในจีนคิดเป็น 10 กก./คน/ปี เทียบกับในอเมริกามีปริมาณมากกว่า 300 กก./คน/ปี จึงถือว่ายังมีช่องให้ธุรกิจด้านนี้โตขึ้นอีกเยอะ

ในขณะเดียวกันภูมิภาคเอเชียยังมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ที่จะสนับสนุนการผลิตกระดาษได้ เมื่อพิจารณาจากมาตรฐานอุตสาหกรรมกระดาษโดยทั่วไป "อย่างฟินแลนด์ ถ้าจะปลูกทดแทนวันนี้ เราจะสามารถตัดไม้ได้ในอีก 50 ปีข้างหน้า แต่ไทยถ้าเริ่มปลูกวันนี้ อีก 5 ปีก็ตัดได้แล้ว" มร.มิกโกกล่าว

ด้วยเหตุผลดังกล่าววาลเมตจึงเลือกประเทศไทย และเมื่อปลายปีที่แล้วก็ได้ปิดออฟฟิศที่ประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากไม่คุ้มการลงทุนและโยกเจ้าหน้าที่บางส่วนมาประจำออฟฟิศ ที่กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย และส่วนหนึ่งก็มาประจำในไทย โดยเจ้าหน้าที่ฟินแลนด์เหล่านี้จะอยู่ในเมืองไทยเพียง 3-4 ปีเท่านั้น เพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญในการใช้เครื่องจักรต่างๆ และสอนให้กับคนไทย หลังจากนั้นคนเหล่านี้ก็ต้องกลับประเทศ เหลือไว้แต่เจ้าหน้าที่คนไทยเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ศูนย์ฯ ดังกล่าวมีพนักงานทั้งสิ้น 50 คน และเตรียมขยายเป็น 80 คน ถ้ามีงานมากพอ

และจากขนาดการลงทุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเป็นศูนย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของวาลเมต เทียบกับศูนย์ฯ ในออสเตรเลียและมาเลเซียก็มีขนาดย่อมกว่านี้ โดยศูนย์ฯ ในไทยจะสามารถรองรับลูกกลิ้ง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือขนาด 100 ตันได้ มร.คอสกี้วีร์ต้า จึงเชื่อมั่นว่าศูนย์ฯ แห่งนี้จะสามารถคืนทุนได้ภายในปีแรก และจะทำรายได้เป็น 2 เท่าภายใน 3-4 ปีข้างหน้า

"โดยมาตรฐานแล้วธุรกิจประเภทนี้ คิดจากจำนวนพนักงานที่มีอยู่ 50 คน เป้าขั้นต่ำคือต้องได้ยอดขาย 2 แสนเหรียญสหรัฐ/คน/ปี และในภูมิภาคเอเชียมีลูกกลิ้งอยู่ถึง 12,000 ลูก โดยขณะนี้เรามีแชร์อยู่ประมาณ 100 เครื่อง ถ้าเราสามารถมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10-15% เราก็สามารถตั้งโรงงานแห่งที่ 2 ในภูมิภาคนี้ได้เลย" มร.คอสกี้วีร์ต้ากล่าวอย่างมั่นใจ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us