Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2541
กรมการแพทย์หนุนแฟรนไชส์ "ร้านไท" กระตุ้นคนไทยใช้ยาและสมุนไพรไทย             
 


   
search resources

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ




ประเทศไทยได้ชื่อว่า หลากหลายไปด้วยพืช ผัก และผลไม้มากมาย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้รู้สรรพคุณของพืช ผัก และผลไม้ที่มีอยู่ ก็ได้นำมารับประทานและใช้เป็นยาสมุนไพรตามพื้นบ้านกันมานานนม ก่อนที่การแพทย์แผนปัจจุบันจะกระจายเข้าไปยังทุกจุดของประเทศเช่นทุกวันนี้

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น จากยาพื้นบ้านที่ถ่ายทอดกันมาจากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นหลัง มานิยมรักษากันด้วยยาฝรั่งซึ่งง่ายต่อการรับประทาน ทำให้ความรู้ในเรื่องของยาพื้นบ้านหรือยาสมุนไพรไทยกำลังจะค่อยๆ สูญไป รวมถึงเรื่องของการขาดดุลการค้าจากยานำเข้าจากต่างประเทศ

ทำให้แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันแพทย์แผนไทย เริ่มให้ความสำคัญต่อการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการรักษาคนไข้ ตั้งแต่ครั้งเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลวังน้ำเย็น เมื่อ 20 ปีก่อน จนได้รับรางวัลแพทย์สตรีดีเด่นเป็นรางวัลแห่งชีวิต

"ดิฉันต่อสู้เรื่องแพทย์แผนไทยมานาน สมัยอยู่โรงพยาบาลวังน้ำเย็นก็ใช้สมุนไพรรักษาคนไข้ได้ผล ทำสวนสมุนไพร 8 ไร่ มีสมุนไพรกว่า 200 ชนิด ทำอยู่ 5 ปี ได้แพทย์สตรีดีเด่น จนได้ตำแหน่งสูงขึ้นเป็นผู้อำนวยการสถาบันแพทย์แผนไทย ซึ่งผลักดันให้มีการตั้งขึ้นช่วงปี 2536-2537 เพื่อทำงานด้านนี้ได้อย่างจริงจัง จนตอนนี้มีโรงพยาบาลชุมชนที่ทำเรื่องแพทย์แผนไทยมากกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ" แพทย์หญิงเพ็ญนภากล่าว

จาก 70 แห่ง มีโรงพยาบาลที่ทำเรื่องสมุนไพรเต็มรูปแบบ 100% อยู่ถึง 33 แห่ง รวมถึงคลินิกแพทย์แผนไทยที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 220 แห่ง ซึ่งเป็นร้านที่มีตั้งแต่การขายยาสมุนไพรเพียงอย่างเดียว มีการอบประคบสมุนไพร มีนวดผสม

แต่อย่างไรก็ตามจำนวนโรงพยาบาลและร้านขายยาที่ทำเรื่องแพทย์แผนไทย ก็ยังไม่กว้างขวางและกระจายได้เท่ากับความต้องการของประชาชน และความต้องการของกรมการแพทย์ที่ต้องการส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้ยาไทย เพื่อลดการขาดดุลยานำเข้า และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยาไทยให้เป็นที่รู้จักและนิยมใช้ในหมู่คนไทยมากขึ้นเหมือนในสมัยก่อน

เพราะจากตัวเลขในปี 2537 พบว่าปริมาณการใช้ยาแผนโบราณมีไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ในขณะที่การใช้ยาแผนปัจจุบันมีถึง 18,000 ล้านบาทและส่วนใหญ่ก็ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งคนไทยควรจะช่วยกันลดปริมาณยานำเข้าเหล่านี้ลง เพราะกว่า 70% ของโรคสามารถรักษาให้หายได้ด้วยแพทย์แผนโบราณ เช่น ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้คัน ยาระบาย ฯลฯ

จากประสบการณ์การทำงานด้านแพทย์แผนไทยของหมอเพ็ญนภา พบว่านอกจากจะขาดแคลนเรื่องของคนและบริการ ที่ต้องเสียสละเพื่อเรียนรู้ที่จะให้บริการคนป่วยจริงๆ แล้ว ยังมีปัญหาในเรื่องของการจัดการในระบบราชการ ที่ต้องการการบริหารแบบสมัยใหม่

"เราเลยคิดระบบที่จะให้เอกชนเข้ามาร่วม เอาสิ่งที่ภาครัฐทำไม่ได้ ไปให้เอกชนทำ เช่นเรื่องการบริหารงาน กรมการแพทย์จึงร่วมหุ้นกับภาคเอกชนตั้งบริษัทขึ้นมา เพื่อบริหารงานและขายแฟรนไชส์ร้านยาไทย ในชื่อร้านไท ให้กระจายไปยังทุกภูมิภาคของประเทศและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ให้หันมาใช้สมุนไพรในรูปของอาหารและยา เพื่อดูแลสุขภาพโดยอาศัยหลักของภูมิปัญญาไทย ซึ่งจากตัวอย่างที่ทดลองเปิดร้านแรกมาเกือบ 1 ปี ก็ประสบความสำเร็จด้วยดี" แพทย์หญิงเพ็ญนภากล่าว

นี่คือต้นกำเนิดของร้านไท ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัทศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแผนไทย จำกัด ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และบริษัทผู้ผลิตยาจากภาคเอกชน

ลักษณะสินค้าและบริการในร้านไท เป็นศูนย์ส่งเสริมสุขภาพมีบริการนวด อบ ประคบสมุนไพร โดยอาศัยหลักของสถาบันการแพทย์แผนไทย และการใช้สมุนไพรในรูปแบบอาหาร และยาเป็นจุดเด่นของร้านแล้ว ยังมีขายสินค้าสุขภาพจากโครงการเกษตรต่างๆ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ

โดยร้านไทมีเป้าหมายที่จะขยายร้านไปยังชุมชนอย่างทั่วถึง เพื่อส่งเสริมบริการด้านสุขภาพและพัฒนาภูมิความรู้ด้านสมุนไพรพื้นบ้าน เน้นให้พึ่งพาตนเองได้ โดยมีรูปแบบการลงทุน 2 ลักษณะ

คือ ขยายงานสาขาโดยร้านไทเอง และขยายในลักษณะของการขายแฟรนไชส์ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยตั้งเป้าไว้ว่าจะขยายได้ประมาณ 50 สาขาในกรุงเทพฯ และอีก 25 สาขาในต่างจังหวัด สำหรับผู้สนใจทั่วไป

ทั้งนี้คุณสมบัติของผู้ลงทุนไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์มาก่อน เพียงแต่ต้องมีความตั้งใจและรักงานบริการชุมชน มีสถานที่ที่เหมาะสม อยู่ในทำเลเหมาะสม เช่นย่านชุมชน รักสมุนไพรและการดูแลสุขภาพแบบวิถีธรรมชาติ รวมทั้งยินดีที่จะให้ศูนย์ของตน เป็นศูนย์บริการข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพของสถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน

ลักษณะของแฟรนไชส์ ร้านไทจะแบ่งค่าแฟรนไชส์ ค่ารอยัลตี้ฟี ตามขนาดและประเภทของร้าน ซึ่งจะแบ่งประเภทตั้งแต่ร้านที่ขายเฉพาะสินค้าสมุนไพรและอาหารเสริม ไปจนถึงร้านที่มีลักษณะครบวงจรเหมือนร้านต้นแบบ คือ มีเรื่องการนวดแผนโบราณ อบ ประคบสมุนไพร เข้าไปด้วย โดยค่าแฟรนไชส์จะเริ่มตั้งแต่ 30,000-100,000 บาท ตามขนาดและประเภทของร้าน

ตัวอย่างการลงทุนร้านไทแบบประหยัดที่สุดคือ ขนาดพื้นที่ 4-40 ตารางเมตร ซึ่งขายเฉพาะสินค้าสมุนไพรและอาหารเสริม จะต้องมีเงินลงทุนสำหรับค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ 30,000 บาท ชำระในวันเซ็นสัญญา ค่าชั้นวางสินค้าและตู้วางสินค้า พร้อมป้าย 25,000 บาท ไม่เกิน 15 วัน ชำระหลังเซ็นสัญญา ค่าสินค้าแรกดำเนินการ 30,000 บาท ชำระหลังวันเซ็นสัญญาไม่เกิน 15 วัน และมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อย 30,000 บาท สำหรับการดำเนินธุรกิจซึ่งจะต้องจ่ายค่ารอยัลตี้ฟีรายเดือนๆ ละ 3,000 บาท ค่าสินค้าและค่าจ้างพนักงานอย่างน้อย 1-2 คน

โดยคาดว่าในหนึ่งครั้งการลงทุนจะมีจุดคุ้มทุนเป็นเวลา 6 เดือน จากการประเมินยอดขายต่อเดือนที่ 100,000 บาท

ทั้งนี้ศูนย์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่จะสนับสนุนด้านโปรแกรมสมาชิกร้านไท เพื่อสมาชิกจะได้กระจายไปใช้บริการร้านไทที่เปิดอยู่ในทำเลต่างๆ ช่วยด้านการวิเคราะห์ลูกค้าและทำเลที่ตั้ง รวมถึงอบรมพนักงานในการต้อนรับลูกค้า และอบรมความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์ อาทิ การจัดเรียงสินค้า การจัดทำสต็อกสินค้า การลงบัญชี การจัดการ เป็นต้น

สำหรับตัวอย่างร้านต้นแบบ พื้นที่ขนาด 200 ตารางเมตร เป็นร้านที่ร้านไทลงทุนไว้สูง เพื่อต้องการให้มีรูปลักษณ์ที่ดี ทันสมัย เพื่อเปลี่ยนความคิดของคนที่เห็นว่ายาแผนไทยเป็นยาผีบอก เป็นของเก่าโบราณ ถือเป็นร้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จและมีแนวโน้มดีมาก เพราะมีรายได้ต่อวันเกือบ 5 หมื่นบาท จากในช่วงเริ่มต้นที่มีรายได้เพียงวันละ 5-6 พันบาท จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการประมาณ 50-60 คนต่อวัน

รายได้หลักของร้านมาจากยอดขายสินค้า 80% จากบริการการนวด ประคบ อายุรเวช การวิเคราะห์ให้ลูกค้ารู้จักธาตุของตนเองด้วยคอมพิวเตอร์ การแนะนำการรับประทานอาหาร การนวดจุดรักษาโรค และการจ่ายยารักษาโรค 20%

สุดท้ายนี้ มีข้อแนะนำสำหรับผู้สนใจจริงคือ จะต้องมีความตั้งใจจริงรักงานบริการ และต้องพร้อมที่จะรอกำไรในระยะยาว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us