|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ยานภัณฑ์" เดินหน้าเข้าตลาดหุ้นภายในเดือน ก.ย. ไม่หวั่นสภาพตลาดผันผวนเนื่องจากปัจจัยพื้นฐาน บริษัทแกร่ง แถมได้รับอานิสงส์จากนโยบายรัฐบาลที่ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตยานยนต์ในเอเชีย (Detroit of Asia) ขณะที่การเปิดเขตเสรีการค้าไทย-ออสซี่ ทำให้มีการโยกฐานการผลิตมายังประเทศไทย ส่งผลให้ตลาดรถยนต์มีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง
นายสัมพันธ์ พันธ์พาณิชย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยานภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมระดมทุนประมาณ 1 พันล้านบาท เพื่อนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินบางส่วน และเตรียมไว้เป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยจะกระจายหุ้นให้แก่ประชาชน (ไอพีโอ) ภายในเดือนกันยายนนี้ ซึ่งจะออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 68 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5 บาท ซึ่งภายหลังการระดมทุนครั้งนี้บริษัทจะมีทุนชำระแล้วเท่ากับ 1,400 ล้านบาท แบ่งเป็น 280 ล้านหุ้น
สำหรับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุน 68 ล้านหุ้น จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้กับกรรมการและพนักงานจำนวน 7 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 13 บาท โดยกำหนดไซเลนต์ พีเรียด 1 ปีครึ่ง เพื่อป้องกัน ไม่ให้ราคาหุ้นผันผวน ส่วนที่เหลือ 61 ล้านหุ้น จัดสรรให้ประชาชนทั่วไป และนักลงทุนสถาบัน โดยบริษัทมีนโยบายจัดสรรให้ในสัดส่วน 50:50 โดยขณะนี้นักลงทุนสถาบันจองซื้อครบหมดแล้ว เนื่องจากมั่นใจในอุตสาหกรรมรถยนต์
"การที่รัฐบาลไทยมีนโยบายผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางรถยนต์ในภูมิภาคเอเชีย ถือว่ามีส่วนสำคัญมากในการผลักดันยอดขายให้แก่บริษัท เนื่องจากปัจจุบันเริ่มมีการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมายังประเทศไทย เพราะมีความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนการผลิต"
นายสัมพันธ์กล่าวว่า นอกเหนือจากการขยายกำลังการผลิตเพิ่มจากการเปิดตัวโรงงาน 2 ที่จะทำให้รายได้ของบริษัทเพิ่ม บริษัทยังได้รับประโยชน์จากการที่รัฐบาลได้มีการลงนามเปิดเขตเสรีการค้า (FTA) ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย โดยปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ในออสเตรเลียได้ลงนามในข้อตกลงที่จะซื้อชิ้นส่วนดิสเบรกจากยานภัณฑ์เฉลี่ยปีละ 3 ล้านชิ้น และเตรียมย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทย เนื่องจากมีความได้เปรียบในเรื่องของต้นทุนค่าแรงงาน
ส่วนการระดมทุนครั้งนี้จะนำไปคืนหนี้ให้แก่สถาบันการเงินประมาณ 700 ล้านบาท ส่วนที่เหลือใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน หลังจากที่ได้กู้เงินมาเพื่อสร้างโรงงาน 2 ซึ่งจะทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนลดลงจาก 2.5 เท่า เหลือเพียง 1.5 เท่า โดยโรงงาน 2 เป็นโครงการ IMV ผลิตรถกระบะโตโยต้ารุ่นใหม่ มีอัตราการใช้กำลังการผลิตในปี 2548 ประมาณ 5 แสนคน ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 3 แสนคัน และส่งออกต่างประเทศ 2 แสนคน เพื่อแข่งขันกับรถยนต์กระบะอีซูซุ ดีแม็กซ์ ขณะที่โรงงาน 1 ซึ่งจะเริ่มผลิตในเดือนก.ย.ประมาณ 1.4 หมื่นคัน และในปี 2549 จำนวน 5.5-6.5 แสนคัน
สำหรับส่วนแบ่งตลาด (มาร์เกตแชร์) ในการผลิตท่อไอเสียรถยนต์ของยานภัณฑ์ปัจจุบัน มีมาร์เกตแชร์มากกว่า 60% โดยแบ่งเป็นผลิตให้แก่โตโยต้า 36% อีซูซุ 30% ฮีโน่ ขณะที่ชิ้นส่วนขาเบรกและคลัสต์ มีมาร์เกตแชร์กว่า 60% โดยผลิตป้อนให้แก่โตโยต้าและอีซูซุ ส่วนผลการดำเนินงานงานในปี 2546 บริษัทมียอดขายประมาณ 3 พันล้านบาท
นอกจากนี้ ยานภัณฑ์ยังเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน งานขึ้นรูปให้กับมอเตอร์ไซค์ ฮอนด้า ผลิตชิ้นส่วนแอร์ให้แก่ COPLAND ซึ่งเป็นผู้ผลิตแอร์ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ที่ทำคอมเพรสเซอร์แอร์ โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการผลิตป้อน 6-9 แสนชุด
บริษัทยานภัณฑ์ เป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แบบครบวงจร เป็นผู้นำของภูมิภาคในการผลิตชุดท่อไอเสีย และชิ้นส่วนขึ้นรูปโลหะสำหรับรถยนต์ บริษัทยานภัณฑ์มีบริษัทย่อย 2 บริษัทคือ บริษัท วาย เอ็น พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (YNPE) และบริษัท ยานภัณฑ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YNPI) บริษัทยังมีบริษัทร่วมทุนกับบริษัทออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่น และประเทศอเมริกาอีก 2 บริษัทคือ บริษัท วาย เอส ภัณฑ์ (YSP) และบริษัท วอกเกอร์ เอ็กชอร์ต (ประเทศไทย) จำกัด (WETCO) ซึ่งเป็นผู้จำหน่ายหลักชิ้นส่วนท่อไอเสียให้แก่ค่ายรถยนต์โตโยต้า และค่ายอีซูซุ
|
|
|
|
|