Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2541
เมดิแคป' เจ้าแห่งแคปซูลนิ่ม             
 


   
search resources

เมดิแคป
Health Foods and Food Supplements




หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินและรับประทานอาหาร ที่เรียกกันติดปากว่า 'อาหารเสริม' ในอดีตอาหารประเภทนี้ประเทศไทยจะนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก อาทิ เยอรมนี ออสเตรเลีย อเมริกา แต่ปัจจุบันสามารถผลิตภายในประเทศได้แล้ว โดยบริษัทแรกที่เข้ามาดำเนินธุรกิจผลิตอาหารเสริมคือ บริษัทเมดิแคป จำกัด เมื่อ 12 ปี ที่แล้ว มีทุนจดทะเบียนครั้งแรก 25 ล้านบาท ปัจจุบันเพิ่มเป็น 50 ล้านบาท โดยรับจ้างผลิตอาหารเสริมในลักษณะแคปซูลนิ่ม (Soft Gelatine Capsules) ภายใต้การนำของวิเวก ดาวัน ชาวอินเดีย ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท

"เราเป็นผู้ผลิตแคปซูลนิ่มรายแรกของไทย และขณะนี้ยังเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยกำลังการผลิต 1,200 ล้านเม็ดต่อปี" วิเวกกล่าว

เขายังกล่าวเสริมอีกว่า ปัจจุบันผลิตได้ 600 ล้านเม็ดต่อปี คาดว่าปี 2541 จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 1,000 ล้านเม็ดต่อปี และ 1,200 ล้านเม็ดต่อปี ในปี 2542 และปี 2543 จะมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,400 ล้านเม็ดต่อปี

ผลิตภัณฑ์ที่เมดิแคปรับจ้างผลิตมีทั้งยา (Drug-Pharmaceutical), วิตามิน และแร่ธาตุ (Vitamin & Mineral supplements), อาหารควบคุมน้ำหนัก (Dietary supplements), สมุนไพร (Herbals) และเครื่องสำอาง (Cosmetics) โดยทั้งหมดจะอยู่ในรูปแคปซูลนิ่ม

"ด้วยกำลังการผลิตสูงขนาดนี้เราสามารถรองรับการผลิตสินค้าต่างๆ ในรูปแคปซูลนิ่มให้กับบริษัทชั้นนำของไทยและต่างประเทศรวมกันกว่า 50 แห่ง" วิเวกกล่าว

บริษัทชั้นนำที่มอบให้เมดิแคปผลิตสินค้าให้ อาทิ บริษัทโรช ไทยแลนด์ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์เนเจอร์ส เวย์, บริษัทสกายไลน์ เฮลท์แคร์ จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์กิฟฟารีน, บริษัทเบอร์ลิน ฟาร์มาซูติคอลอินดัส ตรี้ จำกัด, บริษัทเบตเตอร์เวย์ (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์มิสทิน, บริษัทสมิท ไคล์น แอนด์ เฟรนซ์ (ไทยแลนด์) จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์น้ำมันตับปลาตราสกอตต์, บริษัทชูมิตร จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์ จินซรอย จี อาร์ 150 และอิมมูจิน

ในแต่ละปีเมดิแคปส่งออกผลิตภัณฑ์ประมาณ 60-70% ของยอดผลิตรวมทั้งหมด ซึ่งตลาดจะอยู่เกือบทั่วทุกมุมโลก ทั้งเอเชีย ออสเตรเลีย ยุโรป และแอฟริกาใต้ เกือบ 50 ประเทศ โดยในปี 2539 ส่งออกเป็นจำนวน 400 ล้านเม็ด คิดเป็นมูลค่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2540 ส่งออก 500 ล้านเม็ด คิดเป็นมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนปีนี้คาดว่าจะสามารถส่งออกได้ 800 ล้านเม็ด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 7 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับยอดขายทั้งหมดในช่วงที่ผ่านมาปรากฏว่าปี 2540 มียอดขายรวม 250 ล้านบาท ส่วนปี 2541 คาดว่าจะมียอดขายประมาณ 500 ล้านบาท หรือเติบโตเพิ่มขึ้น 20-30% ส่วนใหญ่จะมาจากตลาดส่งออกเป็นหลัก

"ปีนี้เป็นปีที่ลำบากสำหรับการขายของ โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจแถบบ้านเราตกต่ำทุกประเทศ แต่เรามั่นใจว่าจะส่งออกได้มากขึ้น แม้ว่าเมดิแคปจะเป็นโรงงานไทย โดยคนไทย แต่ก็สามารถให้หลักประกันและความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่เราผลิตและเครื่องจักรที่ทันสมัย ตลอดจนความเชี่ยวชาญของทีมงานในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีคุณภาพทัดเทียมกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคู่แข่งชั้นนำของโลก ล่าสุดเรากำลังเข้าไปเจาะตลาดใหม่ๆ ทั้ง แอฟริกา รัสเซีย" วิเวกกล่าว

สำหรับค่าเงินบาทที่กำลังดิ่งลงเหวในปัจจุบัน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาอย่างหนักต่อการควบคุมต้นทุนการผลิตของเมดิแคป โดยเฉพาะด้านวัตถุดิบซึ่งบริษัทต้องนำเข้ามาผลิตเกือบ 100% ดังนั้นในขณะนี้เมดิแคปจึงไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้

"หลังจากลดค่าเงินบาทเราทำอะไรไม่ได้ก็เลยปล่อยให้เป็นอย่างนี้ เพราะถ้าลูกค้าต้องการผลิตภัณฑ์ เราจำเป็นต้องนำวัตถุดิบเข้ามาผลิตให้เขา คือ ไม่อยากคิดถึงเรื่องค่าเงินแล้ว คิดแต่ว่าทำอย่างไรจะส่งออกให้มากที่สุด ถ้าส่งออกได้มาก ก็สามารถแก้ปัญหาของค่าเงินบาทตกต่ำไปได้มากเท่านั้น" วิเวกกล่าว

และล่าสุดบริษัทขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไปแล้วประมาณ 15-20 ล้านบาท สาเหตุมาจากมีเงินกู้อยู่บ้างเล็กน้อยและราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ขณะที่บริษัทยังขยายสินค้าอยู่ราคาเดิม ดังนั้นหนทางออกของเมดิแคปที่ทำได้ช่วงนี้คือ ขึ้นราคาสินค้าไปอีกประมาณ 15-20%

ส่วนการลงทุนของบริษัทนั้นในทุกๆ ปีจะลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างปีที่แล้วใช้เงิน 150 ล้านบาทเพื่อขายโรงงาน แต่ปีนี้อาจจะเป็นปีแรกที่บริษัทงดการลงทุน หลังจากเจอพิษเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามบริษัทยังมีนโยบายการลงทุนทุกๆ ปี โดยเงิน 5% ของยอดขายจะกันไว้สำหรับลงทุน แม้ว่าปีนี้จะไม่ขยายโรงงาน แต่บริษัทจะนำเงินจำนวนดังกล่าวลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) และพัฒนาบุคลากร

ด้านเทคโนโลยีและมาตรฐานการผลิตของเมดิแคปปัจจุบัน มีความสามารถเทียบเท่ากับบริษัทผู้ผลิตชั้นนำของโลกได้ โดยพัฒนาระบบการผลิตจนถึงขั้น Solvent-free ซึ่งเป็นระบบที่ดีและทันสมัยของการผลิตแคปซูลนิ่ม จนบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (Good Manufacturing Practice : GMP) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ของไทย และการรับรองของอย. จากเดนมาร์กและออสเตรเลีย ล่าสุดยังได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดคุณภาพ ISO 9002 อีกด้วย

"ส่วน ISO 14000 และ 18000 กำลังดำเนินการอยู่ซึ่งคาดว่าภายในปี 2543 เราจะได้รับการรับรอง และเมื่อนั้นความฝันของเราที่จะนำเมดิแคปเข้าไปกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ คงจะเป็นจริง" วิเวกกล่าวตบท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us