Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน13 สิงหาคม 2547
บิ๊กบจ.ลงขันอุ้มหุ้น ผ่านกองทุนให้สิทธิ์ภาษีดีเดย์ก.ย.นี้             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ศุภาลัย, บมจ.
ไมด้า แอสเซ็ท, บมจ.
อมตะ คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ประทีป ตั้งมติธรรม
กมล เอี้ยวศิวิกูล
ชาตรี โสภณพนิช
วิกรม กรมดิษฐ์
Investment




บรรดาผู้บริหารบจ.รวมตัวเตรียมใส่เงินลงขันในกองทุนหุ้นระยะยาวที่ได้สิทธิภาษีควบคู่ หวังให้เป็นหนทางอุ้มหุ้นในตลาดที่ทรุดตัวลงจากแรงขายฝรั่ง หลังตลาดหุ้นไทยผันผวนทรุดร่วงหลุด 600 จุด เปิดโพยบิ๊ก บจ.อุ้มหุ้นตัวเองตลาดผันผวนทรุด เจ๊งระนาว "กมล" นำทีมบักโกรกเก็บไมด้าฯ ขาดทุนกว่า 57 ล้านบาท ด้าน "วิกรม- อมตะ" ขาดทุน 21 ล้านบาท "ประทีป ตั้งมติธรรม" ไม่น้อยหน้าเก็บ ศุภาลัย ทั้งสามัญ-วอร์แรนต์ เจ็บตัว 7 ล้านบาท "เจ้าสัวชาตรี" แบงก์กรุงเทพ ที่ดอดเก็บหุ้นไปได้ไม่กี่วันโดนไป 2.5 ล้านบาท

มรสุมข่าวร้ายที่กระหน่ำตลาดหุ้นไทยมาตั้งแต่ต้นปี 2547 ได้ลากดัชนีหุ้นไทยที่ทำท่าว่าจะเป็นขาขึ้นเปลี่ยนมาเป็นผันผวนสู่ขาลง ล่าสุดดัชนีปรับตัวลดลงมาหลุดแนวรับ 600 จุด เป็นรอบที่ 2 ของปี โดยเมื่อวันที่ 11 ส.ค. ที่ผ่านมาดัชนีปิดที่ 595.60 จุด ซึ่งหากเทียบกับเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2546 ที่ดัชนีปิดตลาดที่ระดับ 772.15 จุด ถือว่าดัชนีปรับตัวลดลงถึง 168.63 จุด หรือคิดเป็น 22.07%

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างทางที่ตลาดผันผวนขาลง ได้มีกลุ่มผู้บริหารที่มั่นใจในหุ้นของบริษัทตนเองว่าพื้นฐานดี กระโดดเข้าไปรับซื้อหุ้นเข้าพอร์ต อีกนัยหนึ่งอาจหวังว่าจะสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุน

อย่างเช่น นายกมล เอี้ยวศิวิกูล ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัทไมด้า แอสเซท จำกัด (มหาชน) (MIDA), นายวิกรม กรมดิษฐ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (AMATA), นายประทีป ตั้งมติธรรม ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) (SPALI) หรือแม้แต่นายชาตรี โสภณพนิช ประธานกรรมการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BBL) ที่เข้ามาซื้อหุ้นในช่วงที่มีข่าวเรื่องการตรวจสอบ NPL เข้ามากระทบหุ้นกลุ่มแบงก์อย่างจัง

แต่ความพยายามของผู้บริหารเหล่านั้น ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากแต่ละรายที่เข้ามาเก็บหุ้นของตัวเอง ล้วนแล้วแต่ต้องประสบกับผลขาดทุนทั้งสิ้นจากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตามภาวะตลาดที่ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน

"ผู้จัดการรายวัน" ได้รวบรวมรายการลงทุนของผู้บริหารที่ซื้อหุ้นมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา พบว่า นายกมล เอี้ยวศิวิกูล ประสบกับผลขาดทุนมากที่สุด โดยเข้ามาซื้อหุ้น MIDA จำนวนทั้งสิ้น 5,762,200 หุ้น รวมมูลค่าการลงทุน 146,394,235 บาท ในขณะที่ล่าสุดราคาหุ้นปิดที่ 15.50 บาท ปรับตัวลดลงถึง 44.14% จากต้นปี ส่งผลให้มีมูลค่าคงเหลือเพียง 89,314,100 บาท หรือขาดทุน 57,080,135 บาท

ด้านนายวิกรม กรมดิษฐ์ ขาดทุนเป็นอันดับที่ 2 โดยตั้งแต่ต้นปีมีการเข้ามาซื้อหุ้น AMATA จำนวน 5,392,900 หุ้น รวมมูลค่าการลงทุน 75,559,227 บาท ในขณะที่ล่าสุดราคาหุ้นปิดตลาดที่ 9.95 บาท หรือลดลง 33.22% จากต้นปี ส่งผลให้มีมูลค่าคงเหลือเพียง 53,659,355 ล้านบาท หรือขาดทุน 21,899,872 บาท

ส่วนนายประทีป ตั้งมติธรรม เป็นอีกคนหนึ่งที่เราจะเห็นการรายงานซื้อหุ้น SPALI อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยมีการเข้ามาซื้อหุ้นจำนวน 10,979,200 หุ้น มูลค่าการลงทุน 37,455,074 บาท ในขณะที่ราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ 2.82 บาท หรือลดลง 36.49% จากต้นปี ส่งผลให้มีมูลค่าคงเหลือเพียง 30,961,344 บาท หรือขาดทุน 6,493,730 บาท

นอกจากนั้น นายประทีปยังมีการซื้อ SPALI-W2 อีกจำนวน 6,434,200 หน่วย รวมมูลค่าการลงทุน 20,138,165 บาท ในขณะที่ราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ 2.06 บาท ลดลง 37.20% จากต้นปี ส่งผลให้มีมูลค่าคงเหลือ 13,066,992 บาท หรือขาดทุน 7,071,173 บาท

ทั้งนี้ รวมแล้วนายประทีปขาดทุนจากการลงทุนในหุ้น SPALI และ SPALI-W2 ทั้งสิ้นจำนวน 13,564,903 บาท

ในขณะที่นายชาตรี โสภณพนิช เข้ามาซื้อหุ้น BBL ในช่วงต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่าน รวมจำนวน 994,600 หุ้น มูลค่าการลงทุน 89,048,054 บาท ในขณะที่ราคาปิดล่าสุดอยู่ที่ 87 บาท หรือลดลง 20.18% จากต้นปี ส่งผลให้มีมูลค่าคงเหลือ 86,530,200 บาท หรือขาดทุน 2,517,854 บาท

บิ๊กบจ.เตรียมลงขันอุ้มหุ้น

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีความเคลื่อนไหว ในหมู่ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง ได้มีความสนใจเข้าลงทุนหรือซื้อหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ long term equity fund ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการที่รัฐบาลได้ออกมาสนับสนุนให้มีนักลงทุนสถาบันระยะยาวลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มมากขึ้น โดยการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี

ทั้งนี้ มีรายงานข่าวจากโบรกเกอร์ ระบุว่า บรรดาผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนได้มีการ รวมตัวกันหันไปให้ความสนใจเข้าลงทุนในกองทุนหุ้นระยะยาวอีกทาง ด้วยหวังจะให้กองทุนดังกล่าวเป็นหนึ่งในการเข้าไปรับซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่กำลังเผชิญกับแรงขายของนักลงทุนต่างชาติอยู่ในขณะนี้

สำหรับความคืบหน้าในการจัดตั้งกองทุนหุ้นระยะยาวดังกล่าวนั้น ก่อนหน้านี้บรรดาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมในเมืองไทยทั้ง 14 แห่งได้เคยออกมาเปิดเผยไว้ว่าจะมีการจัดตั้งกองทุนในลักษณะดังกล่าวขึ้นมีมูลค่ารวมกันกว่า 20,000 ล้านบาท

ด้านนายกำพล อัศวกุลชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส บลจ.ธนชาติ กล่าวว่า ในส่วนของการจัดตั้งกองทุนหุ้นที่ได้รับสิทธิประโยชน์เรื่องภาษีนั้น ขณะนี้รอให้กฤษฎีกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนาม จึงจะดำเนินการจัดตั้งได้ อย่างไรก็ตามในระหว่างนี้ได้มีการเตรียมการและมีการเลือกกลุ่มเป้าหมายหลักของผู้ที่จะเข้ามาลงทุนหรือซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนดังกล่าวนี้อยู่

โดยมีการมองกันว่าจะเป็นกลุ่มคนทำงาน พนักงานและผู้บริหารที่มีรายได้ในระดับสูง โดยเฉพาะในส่วนของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการลงทุนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เนื่องเพราะการลงทุนที่จะทำให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์เรื่องภาษีเต็มจำนวน 300,000 บาทต้องมีรายได้ประมาณ 2 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ คาดว่ากองทุนดังกล่าวจะได้รับความสนใจอย่างสูงจากนักลงทุน ประกอบกับในขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องได้มีความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่จะประชาสัมพันธ์การลงทุนในกองทุนดังกล่าวกับพนักงาน และผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน

"เราคาดว่าหากกองทุนดังกล่าวสามารถเสนอขายได้ น่าจะมี 15 บลจ.ที่เปิดกองทุนดังกล่าว และคาดว่าจะมีเงินเข้ามาในส่วนของกองทุนระยะยาวที่ได้รับสิทธิเรื่องภาษีกว่า 10,000 ล้านบาท" นายกำพลกล่าว

ในส่วนของบลจ.ธนชาติขณะนี้ได้ยื่นขอจัดตั้งโครงการไปยังคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แล้ว 2 กอง กองละ 2,000 ล้านบาท

ด้านนายเพิ่มพล ประเสริฐล่ำ กรรมการ ผู้จัดการ บลจ. พรีมาเวสท์ เผย ขณะนี้ในส่วนของบลจ.พรีมาเวสท์ได้ยื่นขอจัดตั้งกองทุน 1 กอง 2,000 ล้านบาท โดยคาดว่าในช่วงเดือนกันยายนนี้จะสามารถขายหน่วยลงทุนได้ โดยกองทุนดังกล่าวจะมีนโยบายที่จะจ่ายเงินปันผล แต่อาจจะจ่ายในระดับที่ไม่สูงนัก เนื่องจากผู้ลงทุนได้รับประโยชน์จากเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว

ด้านกลุ่มเป้าหมายมองว่ากลุ่มที่จะให้ความสนใจในกองทุนประเภทดังกล่าวจะเป็นในส่วนของนักลงทุนรายย่อย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยกับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อเข้าร่วมลงทุนในกองทุนดังกล่าว

"เราคาดว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยน่าจะมีนโยบายที่เข้ามาลงทุนในกองทุน ดังกล่าวกับบลจ.ที่ขอตั้งกองทุนประมาณ กองละ 100 ล้านบาท โดยในส่วนของพีมาเวสท์ จะเสนอขายหน่วยลงทุนผ่านธนาคารกรุงศรี-อยุธยา" นายเพิ่มพลกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us