|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กสท เปิดศึกโทร.ในประเทศผ่านอินเทอร์เน็ตไม่จำกัดจำนวนและเวลา ขอเพียงเป็นลูกค้าอินเทอร์เน็ต กสท เผยโทร.ต่างประเทศลูกค้าลดลง 1% รายได้วูบเดือนละ 30 ล้าน หลัง ทศท เข้ามาแข่ง กำไรครึ่งปีแรก 1,900 ล้าน ตั้งเป้าทั้งปี 4 พันล้าน พร้อมเข้าตลาดหุ้นไตรมาสแรกปี 48 เปิดวิชันเชิงรุกเป็นผู้นำ ด้านโทรคมนาคมและด้านไอพีเทคโนโลยี ตั้งเป้าเป็นฮับในภูมิภาคนี้
นายวิทิต สัจจพงษ์ รักษาการกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยในโอกาสที่ กสทดำเนินงานครบ 1 ปี ว่า กสท เตรียมเปิดให้ลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์ธรรมดา หรือลูกค้าบรอดแบนด์สามารถใช้บริการโทรศัพท์ในประเทศแบบไม่จำกัดครั้งหรือจำนวนนาทีภายในโครงข่ายของกสท ภายในปีนี้
"ลูกค้าที่ใช้อินเทอร์เน็ตจะมาจดทะเบียน เป็นลูกค้าวอยซ์โอเวอร์ไอพี (VoIP) ของกสท ทำให้สามารถโทรศัพท์ภายในประเทศโดยไม่จำกัด เสียแค่ค่าบริการอินเทอร์เน็ต ทั้งลูกค้าองค์กรและลูกค้าทั่วไป"
2 เป้าหมายเชิงรุก
นายวิทิตกล่าวถึงวิสัยทัศน์เชิงรุกของ กสทว่า ต้องการเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมในระดับภูมิภาค (Regional Telecom Player) และเป็นผู้นำในธุรกิจ เกี่ยวเนื่องกับ IP เทคโนโลยี
สำหรับการเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมในระดับภูมิภาค คือ 1.การเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดการเป็นฮับหรือศูนย์การเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างประเทศ เหมือนอย่างที่สิงคโปร์เทเลคอม, MCI เอทีแอนด์ทีให้บริการอยู่ในขณะนี้
2.การเข้าไปมีส่วนแบ่งตลาดในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศในภูมิภาคนี้กับประเทศสหรัฐอเมริกา และ3.การนำวงจรเคเบิลใยแก้วใต้ทะเลที่กสทลงทุนจำนวนมากและมีศักยภาพเพียงพอในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ในการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ
ส่วนการเป็นผู้นำในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ IP ที่จะเห็นได้ภายในปีนี้คือ นอกจากบริการโทรศัพท์ในประเทศผ่านระบบ IP ยังมีบริการอื่นๆ ที่สามารถ ให้บริการได้บน IP เทคโนโลยี โดยที่เป้าหมายของกสทคือการเป็น IP Champion ของประเทศไทย
ด้านการให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศนั้น กสทสนับสนุนนโยบายการแข่งขันแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อนำไปสู่การแข่งขันเสรีเต็มรูปแบบของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ซึ่งเกตเวย์ของกสทถือว่ามีศักยภาพพร้อมรองรับปริมาณการใช้งานของผู้ให้บริการได้จำนวนมาก การที่บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น ออกมาให้ข้อมูลก่อนหน้านี้ว่าเกตเวย์ของกสทไม่มีคุณภาพที่ดี เพียงพอ น่าจะเป็นความเข้าใจผิด
นายวิฑิตกล่าวถึงผลกระทบจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศของทศท ว่า บริการ 001 ในระบบ IDD มีคนใช้ลดลง 1% ส่วน 009 ในระบบ VoIP มีคนใช้เพิ่มขึ้น 40% ในขณะที่ 007 ของทศท ทำให้รายได้กสทถูกกระทบเดือนละประมาณ 30 ล้านบาท ซึ่งไม่ได้เป็นตัวเลขที่สูงมาก อย่างที่เคยคาดการณ์กันว่า กสท จะสูญเสียรายได้หลายพันล้านบาท
ผลประกอบการครึ่งปีแรกกสท มีรายได้รวม 17,054.52 ล้านบาท รายจ่ายรวม 14,301.52 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,920.34 ล้านบาท ส่วนผลประกอบการทั้งปีคาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 3.3 หมื่นล้านบาทและมีกำไรสุทธิประมาณ 4 พันล้านบาท โดยที่กสทมีรายได้จากฮัทช์ประมาณ 2.4 พันล้านบาทหรือ 20% ของรายได้ของฮัทช์ที่ 1.2 หมื่นล้านบาทในปี 2547
"เรื่องโทร.ต่างประเทศ ไม่อยากใช้เรื่องราคาเป็นหลัก และกสทคงลดลงไม่ได้มากกว่านี้แล้ว เพราะใกล้เคียงกับต้นทุน หากทศทลดลงไปอีก เราคงไม่ตอบโต้ แต่คงหันไปให้บริการเสริมอื่นๆ อย่างเช่นการรวมบิล"
นายวิทิตกล่าวว่าภายในเดือนตุลาคมนี้จะมีการรวมบิล กรณีลูกค้าบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอสไปใช้บริการข้ามแดนอัตโนมัติ หรืออินเตอร์เนชั่นแนลโรมมิ่งในต่างประเทศ เพราะที่ผ่านมาจะมีการแยกบิลระหว่างบิลของเอไอเอสกับบิลของกสท การรวมบิลเพื่ออำนวยความสะดวก ให้ลูกค้า ซึ่งต่อไปจะมีการพัฒนาไปสู่การรวมบิล กับผู้ให้บริการในประเทศ โดยรายละเอียดการใช้โทรศัพท์ต่างประเทศจะไปปรากฏบนบิลโทรศัพท์ในประเทศ นอกจากนี้ กสทจะพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (Network Provider) กับผู้ขายส่ง (Wholesaler) โดยปล่อยหน้าที่ด้านการตลาดและบริการลูกค้าให้แก่รีเซลเลอร์ต่อไป
ทำซีดีเอ็มเอทั่วประเทศ
ส่วนโครงการขนาดใหญ่อย่างโทรศัพท์มือถือในระบบซีดีเอ็มเอ คาดว่าจะสรุปทีโออาร์ได้ ภายในเดือนนี้และขายซองประกวดราคาได้ โดยกระบวนการ จัดหาจะใช้หลักเกณฑ์เรื่องคุณภาพและราคา (Price/Performance) โดยที่ราคาต่อเลขหมายจะไม่สูงเหมือนที่ของบประมาณไว้ 1.34 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยประมาณเลขหมายละ 140 เหรียญ ซึ่งแม้แต่ผู้ติดตั้งระบบก็ออกมายอมรับว่าโครงการนี้ไม่น่าจะถึง 1 หมื่นล้านบาทหรือ 8 พันล้านบาท โดยที่คาดว่าต้นทุนต่อเลขหมายจะอยู่ที่ประมาณ 80-100 เหรียญ
ส่วนแนวทางในการดำเนินโครงการซีดีเอ็มเอภูมิภาค เนื่องจาก กสท เข้าสู่ตลาดผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นรายที่ 5 และเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็ว จึงจำเป็นต้องมี 2 ปัจจัยคือ 1. มีความคล่องตัวเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์รัฐวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ต้องมีโฟกัสที่ชัดเจน ทำหลายๆ อย่างพร้อมๆกันไม่ได้ และ 2.จะให้บริการเฉพาะ 51 จังหวัดในภูมิภาคไม่ได้ จะต้องให้บริการทั่วประเทศ
นายวิฑิตกล่าวว่า การให้บริการซีดีเอ็มเอจะต้องแยกออกเป็นเรื่องเน็ตเวิร์ก กับการตลาด โดยด้านเน็ตเวิร์กมีความเป็นไปได้ทั้งการซื้อเน็ตเวิร์กของฮัทช์ที่ให้บริการในกรุงเทพฯและภาคกลาง หรือการโรมมิงเน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน ส่วนด้านการตลาดก็อาจเป็นต่างคนต่างทำการตลาดแล้วแบ่งรายได้กัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำทั้งหมด ทุกอย่างอยู่ระหว่างการศึกษา
เข้าตลาดต้นปีหน้า
นายวิทิตกล่าวถึงแผนการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯว่า จะเป็นช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า ซึ่งหากตลาดไม่ดีก็เข้าในสัดส่วนที่น้อยสัก 10% ของทุนจดทะเบียน
ส่วนเรื่องการรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท นั้น นายวิทิตกล่าวว่า รอเพียงหนังสือยืนยันจากกระทรวงการคลังเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
|
|
|
|
|