Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 สิงหาคม 2547
เล็งออกบอนด์อีก2หมื่นล.หลังปีนี้ขายครบ 2 แสนล้าน             
 


   
search resources

กระทรวงการคลัง
พรรณี สถาวโรดม
Bond
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ




สบน. เล็งออกพันธบัตรออมทรัพย์ชดเชยกองทุนฟื้นฟูฯ ล็อตใหม่อีก 2 หมื่นล้านบาท ในปี 2548 หลังทยอยออกในปีนี้ครบ 2 แสนล้านบาท ล่าสุดออกพันธบัตรออมทรัพย์มูลค่า 7 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 5.1% ต่อปี และ 5.9% ต่อปี ในพันธบัตร อายุ 7 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ มั่นใจขายเกลี้ยงในวันแรก และเตรียมประมูลพันธบัตรลงทุน 4.5 หมื่นล้านบาท ล็อตละ 5 พันล้านทุกสัปดาห์ เริ่มวันนี้ (11 ส.ค.) พร้อมคลอดเอเชียบอนด์ 3 หมื่นล้าน ขายให้ธนาคารกลางกลุ่มเอซีดี ด้าน ผอ.สบน.ยอมรับเฟดขึ้นดอกเบี้ย กระทบภาระดอกเบี้ยระยะสั้น ทำให้ยอดหนี้สาธารณะพุ่ง

ตามที่กระทรวงการคลังมีแผน ออกพันธบัตรออมทรัพย์ ปีงบประมาณ 2547 วงเงินรวม 70,000 ล้านบาท เพื่อจำหน่ายให้แก่บุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย หรือมีถิ่นที่อยู่ในประเทศ สหกรณ์ มูลนิธิ วัด สถานศึกษา และนิติบุคคลเพื่อการสาธารณกุศล และจะประกาศผลการ กำหนดอัตราดอกเบี้ยวานนี้ (10 ส.ค.) นั้น

นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง กล่าวว่า สบน. ประกาศอัตราดอกเบี้ย พันธบัตร ซึ่งคำนวณจากผลตอบแทนพันธบัตรตามตลาด หรือ Bond Yield เฉลี่ยตั้งแต่วันที่ 3-10 สิงหาคม 2547 ที่ผ่านมาทำให้อัตรา ดอกเบี้ยพันธบัตร รุ่นอายุ 7 ปี อยู่ที่ 5.1% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ 5.9% ต่อปี หรืออยู่ที่ 4.39% ต่อปี และ 5.13% ต่อปี หลังจากจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% ในรุ่นอายุ 7 ปี และ 10 ปี ตามลำดับ โดยจะเริ่มคิดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป

จากอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว รัฐบาลต้องมีภาระในการชำระคืนดอกเบี้ย หากเป็นพันธบัตรอายุ 10 ปี ทั้งจำนวนจะมีภาระดอกเบี้ยที่ต้อง จ่ายสูงสุด 41,300 ล้านบาท ต่อ 10 ปี และหากเป็นพันธบัตรอายุ 7 ปี ภาระดอกเบี้ยจ่ายสูงสุดจำนวน 24,990 ล้านบาท ต่อ 7 ปี โดยการจ่ายดอกเบี้ยจะจ่ายให้ปีละ 2 งวด คือในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และ 26 สิงหาคมของทุกปี เป็นจำนวนเงินงวด ละเท่าๆ กัน จนกว่าพันธบัตรจะครบ กำหนด

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถจองซื้อผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นตัวแทน จำหน่ายทั้ง 13 แห่ง และธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันที่ 16-20 สิงหาคม 2547 โดยผู้จองซื้อก่อนมีสิทธิ์ได้ก่อน ซื้อครั้งละไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท สำหรับผู้มีปัญหา โดยเฉพาะรายย่อยที่ไม่สามารถจองซื้อได้ หรือ ธนาคารไม่รับการยื่นจอง สามารถร้องเรียนได้ที่ สบน. กระทรวงการคลัง

"กระทรวงการคลังให้หลักการกับแบงก์ชาติ ไปแล้วว่า ให้กระจายให้กับรายย่อยมากที่สุด ซึ่งเราก็หวังว่าจะขายได้หมดภายในวันแรก เพราะเมื่อเทียบกับผลตอบแทนเงินฝากประจำ 1 ปี อยู่ที่ประมาณ 1% ต่อปี ถือว่าสูงกว่ามาก"

สำหรับผู้ถือพันธบัตรออมทรัพย์นี้ สามารถขายคืนให้กับสถาบันการเงิน หลังจากถือครบ 1 ปี และสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดรองได้

นางพรรณี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2547 มีวงเงินที่ต้องออกพันธบัตรชดเชยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินทั้งสิ้นจำนวน 200,000 ล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาได้ออกพันธบัตรเข้าตลาดเงินไปแล้ว 55,000 ล้านบาท และครั้งนี้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ จำนวน 70,000 ล้านบาท

ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2547 ได้ประกาศ จำหน่ายพันธบัตรลงทุน (Inves ment Bond) อีกจำนวน 45,000 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยประมูลขายให้กับสถาบันการเงิน สัปดาห์ละ 5,000 ล้านบาท เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคมนี้ ขณะที่อีกจำนวน 30,000 ล้านบาท จะออกเป็นพันธบัตรเอเชียสกุลเงินบาท ขายให้กับธนาคารกลางประเทศต่างๆ ในกลุ่มความร่วมมือเอเชีย (เอซีดี) ซึ่งคาดว่าออกได้ประมาณเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2547 ขึ้นอยู่กับความพร้อมในด้านดีมานด์ รวมทั้งความพร้อม ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2548 จะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ชดเชยความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูฯ อีกประมาณ 20,000 ล้านบาท เพื่อทดแทนพันธบัตรรัฐบาลที่กำลังจะครบกำหนด ไถ่ถอนในเดือนพฤศจิกายน 2547 และมกราคม 2548 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องสำหรับผู้ออมเงิน แต่จะออกเป็นพันธบัตรรุ่นใด อัตราดอกเบี้ยเท่าใด ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาวะตลาดในช่วงนั้น

ภาระหนี้สาธารณะพุ่งหลังเฟดขึ้นดบ.

ส่วนแผนการบริหารหนี้สาธารณะ หากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น นางพรรณี กล่าวว่า การขึ้นดอกเบี้ยเฟดจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นปรับตัวขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะยาวน่าจะอยู่ในระดับที่คงตัว ดังนั้น โดยเฉลี่ยแล้ว ไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก

อย่างไรก็ตาม สบน. จำเป็นต้องบริหารหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยต้องพยายามหาแหล่งเงินกู้ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุด รวมทั้งต้องพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ให้มีความหลากหลายและต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในส่วนของหนี้สาธารณะประจำปี งบประมาณ 2548 นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอให้คณะกรรมการนโยบายหนี้สาธารณะพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะมีการประชุมกันในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2547 นี้ โดย สบน.ได้เสนอกรอบเพดาน การก่อหนี้ต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2548 จำนวน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2547 ซึ่งกำหนดเพดานก่อนหนี้ต่างประเทศ จำนวน 900 ล้านเหรียญ

อย่างไรก็ตาม กรอบการก่อหนี้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2548 นี้ กำหนดไว้ไม่เกิน 50% ของจีดีพี ซึ่งปัจจุบันหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ที่ประมาณ 45% ต่อจีดีพี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us