Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541
ฝันร้ายของญี่ปุ่นปี '41 เศรษฐกิจยังชะงักงัน             
 





วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ทั่วโลกโยนสวะให้ญี่ปุ่นเป็นหัวหอก เอาตัวให้รอดพร้อมฉุดเพื่อนร่วมชะตากรรม ให้พ้นภัย พี่เบิ้มแห่งภูมิภาคเอเชียจะพลิกฟื้นเศรษฐกิจของตนได้เมื่อไหร่ ณ วันนี้ยังมีคำถาม แต่ที่แน่ๆ ปีนี้...ไม่รอดหรอก


ในขณะที่กลุ่มประเทศย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายแห่ง กำลังประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจอย่างสาหัส ญี่ปุ่นดูจะถูกจับตามากที่สุดในฐานะของผู้นำทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในแถบเอเชีย ด้วยเหตุที่ว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างมาก และประสบปัญหาไม่แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆ ในย่านนี้นัก

ญี่ปุ่นถูกสหรัฐอเมริกากดดันมาตลอดให้เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจของตนให้กลับแข็งแกร่งขึ้น โดยหนุนการขยายดีมานด์ภายในประเทศมากกว่าที่จะเน้นเรื่องการส่งออก รวมถึงการตอบรับสินค้าราคาถูกจากประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก โดยหวังว่าญี่ปุ่นจะสามารถเป็นหัวหอกในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในแถบนี้ได้

แม้ญี่ปุ่นยินดีที่จะกระตุ้นดีมานด์ภายในประเทศตามแรงกดดันของนานาชาติ แต่ก็ไม่ต้องการที่จะใช้วิธีเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐหรือการลดอัตราภาษีเป็นตัวนำร่อง สิ่งที่คาดว่าญี่ปุ่นจะทำก็คือการให้เงินกู้มูลค่า 3 แสนล้านเยน แก่ชาติอาเซียนโดยผ่านทางเอ็กซิมแบงก์ญี่ปุ่น เพื่อผ่อนคลายความตึงตัวทางสินเชื่อของเอเชีย

อย่างไรก็ตามองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เชื่อว่าแต่ละ 1% ของการถดถอยของการเติบโตของดีมานด์ในภูมิภาคเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) มีผลทำให้ GDP ของญี่ปุ่นตกต่ำลงประมาณ 0.4% ในรอบ 12 เดือน

รัสเซล โจนส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก ของบริษัทลีแมน บราเธอร์ กล่าวว่า ญี่ปุ่นเป็นเสมือนกุญแจไขไปสู่ความเป็นไปของเอเชียในปี 2541 นี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของญี่ปุ่นใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย และเป็นอันดับสองของโลก

ปัจจุบันญี่ปุ่นยังคงประสบกับปัญหาขาดความเชื่อมั่นในระบบการเงิน ธุรกิจ และระบบราชการ โดยเฉพาะข่าวลือในระบบการเงินและธนาคารกลาง ภายหลังจากที่ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 4 ของญี่ปุ่นประกาศปิดตัวลง ตามมาด้วยสถาบันการเงินอีกหลายแห่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวด้านสินเชื่ออย่างมากในช่วงเศรษฐกิจบูม และพบว่ามีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้และหนี้เสียมหาศาล

โจนส์ มองว่าระบบการเงินของญี่ปุ่นยังมีความคลุมเครือ โดยเฉพาะเรื่องหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 80 พันล้านเยน หรือคิดเป็น 16% ของ GDP ของญี่ปุ่นซึ่งใหญ่มาก หนี้เสียเหล่านี้เป็นผลจากการขยายตัวในการให้สินเชื่ออย่างมากในช่วงก่อน ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องในระบบและต้องเพิ่มทุน

ด้านการส่งออกก็มีภาพที่ไม่สดใสนัก ตลาดเอเชียซึ่งเป็นตลาดหลักกำลังมีปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก และส่งผลถึงสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นโดยตรง

"เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ประมาณไตรมาส 2 การส่งออกของญี่ปุ่นไปยังภูมิภาคเอเชียขยายตัวประมาณ 10% แต่ในไตรมาส 4 ปีเดียวกัน การขยายตัวกลับอยู่ในระดับติดลบที่ 0.5%" โจนส์กล่าว

แม้การส่งออกไปยุโรป และสหรัฐอเมริกายังคงมีการ ขยายตัวที่ดีอยู่ แต่ก็จำเป็นต้องดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือปัญหาในเรื่องของราคาสินค้า ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก เนื่องจากอัตราภาษีทางอ้อมที่สูงและค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น โดยในปีที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ในระดับ 2% จากที่ก่อนหน้านั้นเคยอยู่ในระดับ 0% หรือติดลบ

นอกจากนี้ปัญหาหนี้สินของรัฐบาลญี่ปุ่นก็สูงมาก โดยมีหนี้สินสุทธิประมาณ 19% ของ GDP หนี้สินขั้นต้นมากกว่า 80% ของ GDP ปัญหาเหล่านี้หากได้รับการแก้ไขอย่างดี จะสามารถเรียกความเรียกมั่นใจระบบการเงินกลับคืนมาได้

จากการวิเคราะห์ปัญหาของญี่ปุ่นในช่วงต้นปีนี้ โจนส์ สรุปได้ว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นอยู่ในอาการปางตาย ระดับความเชื่อมั่นภายในประเทศต่ำมาก กระบวนการหารายได้ของภาครัฐตกต่ำ การส่งออกยังคลุมเครือ และวิกฤตการณ์ทางด้านการเงินซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาสำคัญที่สุดในขณะนี้ยังไม่คลี่คลาย

ในความเห็นของโจนส์ สิ่งที่รัฐบาลญี่ปุ่นควรทำคือ การใช้ The Fiscal Consolidation Law โดยลดการขาดดุลงบประมาณของภาครัฐทั้งในส่วนกลางและภูมิภาครวมกันให้อยู่ในระดับ 3% ของ GDP ให้ได้ภายในปี 2546 รัฐบาลกลางควรงดการออกตราสารทางการเงินจนถึงปี 2546 ขยายระยะเวลาของแผนการลงทุนสาธารณะจาก 10 ปีและ 13 ปี พยายามชะลอการใช้จ่ายสาธารณะระหว่างปี 2541-2543 รวมถึงการรักษาระดับอัตราหนี้สินขั้นต้นต่อ GDP ประมาณ 80% เศษไว้ให้นานที่สุด ไม่ควรเพิ่ม และควรรับภาระภาษีทั้งหมด การใช้จ่ายด้านความปลอดภัยในสังคม และการขาดดุลการเงินไว้ให้ต่ำกว่า 50% ของ GDP

อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นมีแผนปฏิบัติการเพื่อแก้วิกฤตการณ์ไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน โดยญี่ปุ่นใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนปรน จัดเตรียมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาษี การลดขนาดของภาคเอกชนลง ผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ให้มากขึ้น และแก้ปัญหาหนี้เสียอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นอกจากนี้ยังได้จัดการกับระบบธนาคาร เพื่อเรียกความเชื่อถือกลับคืนมาโดย ธนาคารกลางให้สภาพคล่องสู่ระบบธนาคาร การออกพันธบัตรเพื่อประกันเงินฝาก ดูดซับหนี้เสียในงบดุลของภาคเอกชน ลดกฎข้อบังคับเกี่ยวกับที่ดินและการซีเคียวริไทเซชั่น รวมถึงการสร้างจริยธรรมให้เกิดขึ้นในระบบธนาคาร และช่วยให้องค์กรเหล่านี้มีการปรับโครงสร้างใหม่

กระนั้นก็ตาม โจนส์มองว่าสิ่งที่ญี่ปุ่นทำอยู่นี้ยังมีบางอย่างที่ต้องแก้ไข เช่น การใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวดเกินไป กฎระเบียบต่างๆ ยังมีมากเกินไป ภาษีที่สูง ขาดดีมานด์ทางการเงินและการบาดเจ็บที่รุนแรงของเศรษฐกิจ

และสิ่งที่สำคัญที่สุด โจนส์ยังไม่แน่ใจว่า ปัญหาทั้งหมดเหล่านี้ ริวทาโร ฮาชิโมโต นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นจะสามารถนำพาเศรษฐกิจให้รอดพ้นได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ยาก ต้องใช้นโยบายที่เข้มแข็ง ภายใต้การนำของรัฐบาลที่แข็งแกร่ง แต่ในความเป็นจริงรัฐบาลญี่ปุ่นกลับเปราะบาง และใช้นโยบายที่อ่อน ดังนั้นในปี 2541 นี้เศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะยังคงชะงักงันต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us