Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 สิงหาคม 2547
ธอส.ลงทุน Core Banking รองรับสินเชื่อ-สกัดหนี้เสีย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารอาคารสงเคราะห์
โฮมเพจ ดาต้าแมท

   
search resources

ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ดาต้าแมท, บมจ.
ขรรค์ ประจวบเหมาะ
Banking




ธอส.เร่งพัฒนาระบบ Core Banking กว่า 630 ล้านบาท เพื่อรองรับเกมรุกขยายตลาดสินเชื่อและสกัดการเกิดหนี้เสีย จับตานิวลุคของธนาคารปี 48

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงแผนพัฒนาโครงการระบบงานหลัก (Core Banking System) ของธอส.ว่าได้จัดสรรงบประมาณ 631.362 ล้านบาทในการทำโครงการดังกล่าว เนื่องจากสภาวะการแข่งขัน ที่ค่อนข้างรุนแรงในตลาด โดยเฉพาะการให้บริการลูกค้ารายย่อย ซึ่งทางธนาคารฯมีนโยบายให้ความสำคัญกับลูกค้ากลุ่มนี้เป็นอย่างมาก จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คณะกรรมการธนาคารฯตัดสินใจเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขันและการให้บริการ เพื่อรองรับตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลัง ขยายตัว อีกทั้งระบบงานหลักที่มีอยู่ใช้มานานกว่า 14 ปีแล้ว

การเปลี่ยนระบบ Core Banking เป็นการก้าวไปข้างหน้าอีกระดับที่ธนาคารฯให้ความสำคัญ กับการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก นอกเหนือจากตัวระบบแล้ว ธนาคารยังต้องพิจารณาเป็นพิเศษในการคัดเลือกบริษัทที่จะให้บริการติดตั้งและดูแลระบบ โดยธนาคารได้เลือกบริษัทดาต้าแมท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการทั้งหมด เนื่องด้วย บริษัท ดาต้าแมท มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาและวางระบบ ICT ที่ภาครัฐและเอกชนใช้มากว่า 30 ปี โดยเฉพาะเทคโนโลยีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และไฟแนนซ์ อีกทั้งบริษัท ดาต้าแมทได้เตรียมบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านธนาคารพาณิชย์มารับงานด้วย

"ธนาคารจะนำระบบใหม่มาใช้กับระบบเงินฝาก ระบบสินเชื่อ ระบบบัญชีและระบบงบประมาณของทุกสาขาทั่วประเทศ ซึ่งระหว่าง นี้ธนาคารกำลังปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานหลักๆ ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมกับการปรับภาพลักษณ์และรูปโฉมของธนาคารใหม่ทั้งหมด เพื่อรับโฉมใหม่ การเป็นธนาคารทันสมัยเพื่อที่อยู่อาศัยครบวงจร ตั้งแต่ปี 2548"

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงเดือนกรกฎาคม ธอส.สามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้กว่า 60,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยอดการปล่อยสินเชื่อของธอส.มีอัตราการขยายตัว โดยในเดือนม.ค.อนุมัติ สินเชื่อได้ 5,100 ล้านบาท, ก.พ.ปล่อยได้ 6,000 ล้านบาท, มี.ค. 8,900 ล้านบาท, เม.ย. 7,500 ล้านบาท และพ.ค. 8,200 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วปล่อยสินเชื่อได้ประมาณเดือนละ 7,000-8,000 ล้านบาท ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงมาก จึงมองว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ได้ชะลอตัวอย่างที่มีการคาดการณ์กัน อีกทั้งแนวโน้มยังสดใสห่างไกลจากภาวะฟองสบู่

นอจากนี้ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ รายงานภาวะตลาดที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่ช่วงครึ่งปีแรกมีจำนวนทั้งหมด 235 โครงการ มีจำนวนหน่วยขายทั้งหมดที่ขายได้ในตลาดรวมกันถึง 30,478 หน่วย หรือประมาณ 58% ของจำนวนหน่วยขายทั้งหมดในปี 2546 ที่มีจำนวน 52,305 หน่วย และมีมูลค่าโครงการสูงถึง 103,001 ล้านบาท หรือประมาณ 74% ของมูลค่าโครงการที่เปิดตัวในปี 2546 โดยเดือนพฤษภาคม 2547 มีโครงการเกิดใหม่มากที่สุดถึง 47 โครงการ มูลค่า 19,028 ล้านบาท ส่วนเดือนกุมภาพันธ์เกิดใหม่เพียง 43 โครงการ แต่มีมูลค่าสูงถึง 21,028 ล้านบาท

ขณะเดียวกันการปรับระบบ Core Banking จะมีส่วนสนับสนุนข้อมูลในศูนย์อสังหาริมทรัพย์ที่ธอส.ดำเนินการอยู่ ซึ่งขณะนี้ธอส.เตรียมเปิดศูนย์อย่างเป็นทางการ 25 มี.ค.2547 ทั้งนี้ ดัชนีสำคัญที่ได้รวบรวมแล้ว ได้แก่ 1. ดัชนีข้อมูลบ้านที่สร้างเสร็จ แล้ว 2. ดัชนีบ้านสร้างใหม่ 3.ดัชนีสินเชื่อที่อยู่อาศัย 4.ดัชนีราคาบ้าน 5.ยอดขายบ้าน 6.ยอดการโอนที่อยู่อาศัย ซึ่งก่อนการประกาศใช้ดัชนีชี้ภาวะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ทั้ง 6 ตัวนั้น จะต้องมีการพิจารณาอีกครั้งว่าดัชนีชี้วัดตัวใดต้องประกาศเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ซึ่งในส่วนนี้จะต้องมาหารือกันอีกครั้ง เพราะการประกาศตัวเลขจะต้องมีการกำหนดที่ชัดเจนเพื่อความถูกต้องและน่าเชื่อถือ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us