Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2543
ฟรีอินเทอร์เน็ต             
 


   
search resources

ISP (Internet Service Provider)




คำนี้กำลังเกิดขึ้นในไทย และ "ฟรีไอ.เน็ต" กำลังมาเป็นผู้บุกเบิกฟรีอินเทอร์เน็ต จะทำให้คนไทยได้ใช้ฟรีหรือไม่ อีกไม่นานคำถามนี้จะถูกเฉลย

กระแสของธุรกิจอินเทอร์เน็ตในช่วงเวลานี้จะมุ่งไป ที่การเปิดตัว "web site" มากกว่าความเคลื่อนไหวของไอเอสพีเวลานี้มีไม่มาก โปรโมชั่นหวือหวามากๆ ยังไม่มีให้เห็น

ไอเอสพีส่วนใหญ่ดูเหมือนจะวุ่นอยู่กับการหาพันธมิตรต่างชาติมาร่วมหอลงโรง หลายรายถูกผนวกกิจการ หรือได้บริษัทข้ามชาติเข้ามาถือหุ้น ยังมีอีกไม่น้อย ที่อยู่ระหว่างการเจรจา หรือหาผู้ร่วมทุนมาอัดฉีดเม็ดเงิน และช่วยทำ ตลาด connection หรือ knowhow ใน ด้านต่างๆ

จะว่าไปแล้ว สาเหตุส่วนหนึ่ง น่าจะมาจากไอเอสพีอยู่ในช่วงสุญญากาศ เพราะหลังจาก ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติกฎหมายการแต่งตั้งคณะมนตรีสื่อสารแห่งชาติ (มสช.) อำนาจของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ที่เคยเป็นผู้อนุมัติให้เปิดบริการไอเอสพี ต้องถูกโอนย้ายไปอยู่ ที่ มสช. ซึ่งจนถึงเวลานี้ยังไม่มีการแต่งตั้งใครขึ้นมาดำรงตำแหน่ง กฎหมายโทรคมนาคมเองก็ยังไม่คลอดออกมา

บริษัทข้ามชาติหรือกลุ่มธุรกิจ รายใด ที่อยากเข้ามาทำธุรกิจไอเอสพีเวลานี้ จึงต้องหาทางผนวกกับไอเอสพี รายเดิม เพราะไม่รู้จะไปขอใบอนุญาตกับรายใด ไอเอสพีเดิมเองก็รู้ดีว่าตลาดการแข่งขันในวันข้างหน้าไม่ใช่ของง่าย หากไปเจอไอเอสพีข้ามชาติรายไหนทุนหนาพอจะแจกฟรีอิน เทอร์เน็ต เพื่อกวาดส่วนแบ่งตลาด กรณีการมาของบริษัทฟรี.ไอเน็ต ที่ดอดเข้าไปขอใบอนุญาตจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หรือ ทศท. จะเป็นไอเอสพีอีกรายที่น่าจับตามอง ไม่ใช่เป็นไอเอสพีรายแรก ที่ ทศท.ให้ใบอนุญาตเท่านั้น แต่เป็นเพราะไอเอสพีรายนี้ เขาแจกฟรีอินเทอร์เน็ต

ทศท.แต่เดิมไม่เคยให้ใบอนุญาตแก่เอกชนรายใด เนื่องจากอินเทอร์เน็ตต้องอาศัยวงจรต่างประเทศ อำนาจในการให้ใบอนุญาตจึงตกเป็นของ กสท. แต่ ทศท.เองก็ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมสำหรับการแข่งขันในอนาคตหลังเปิดเสรี และ ทศท.ก็มี โครงข่าย IP telephony ที่มีไว้สำหรับ ให้บริการอินเทอร์เน็ตสาธารณะ และโครงการนี้จะเป็นความอยู่รอดของทศท.ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ฟรี. ไอเน็ต บริการในสังกัด ทศท.ก็ยังต้อง เช่าวงจรต่างประเทศจาก กสท.อยู่ดี

บริษัทฟรีไอ.เน็ต เป็นของตระกูลชินวงศ์วัฒนา ที่เคยอยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ แต่หันมาเอาดีในธุรกิจอินเทอร์เน็ต ด้วยการไปซื้อแฟรนไชส์ฟรีอินเทอร์เน็ตมาจากสหรัฐอเมริกา ด้วยเม็ดเงิน 200 ล้านบาท เพื่อแลกกับลิขสิทธิ์ให้บริการ 5 ประเทศ คือ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน

พรศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา ผู้บริหารของฟรีไอ.เน็ตบอกว่า การเปิดบริการในสิงคโปร์เป็นการร่วมทุนกับสิงค์เทล ส่วนในไทยลงทุนโดยคนไทย 100% มีเงินทุนเบื้องต้น 500 ล้านบาท เป็นการลงทุนสร้างโครงข่าย 200 ล้านบาท เพื่อรองรับผู้ใช้ได้ 1.4 ล้านคน

เป้าหมายของบริษัทนี้ คือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวน 1 ล้านราย ซึ่งตัวเลข นี้ไอเอสพีทั้ง 18 รายต้องใช้เวลาทำมาถึง 3 ปีเต็ม แต่ฟรีไอ.เน็ตขอเวลาแค่ปีเดียว!

กลยุทธ์ ฟรีไอ.เน็ต ก็คือ การแจกแผ่นซีดีให้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรีตามจุดสำคัญๆ โดยผู้ใช้ไม่ต้องลงทะเบียนลงชื่อ ที่อยู่ รหัสส่วนตัว ไม่ต้องกรอกประวัติส่วนตัว หรืออีเมล พูดง่ายๆ เพื่อไม่ให้คนรับแจกไปแล้วไม่ยอมใช้ เพราะกลัวว่าจะเอาประวัติส่วนตัวไปทำอะไร

รายได้ของฟรีไอ.เน็ต ที่จะตามมาจากการปูพรมสร้างฐานลูกค้า ก็เหมือนกับบริการฟรีอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ ที่จะมาจากค่าโฆษณา ซึ่งบริษัทจะมีการสร้างเว็บท่า ชื่อ freei.net. ให้ข้อมูล ข่าว พยากรณ์ อากาศ กีฬา ข้อเสนอของผู้ให้บริการรายนี้ก็คือ ให้ลูกค้าเลือก ได้ว่าต้องการโฆษณาบนเว็บในหรือต่างประเทศ เพราะได้สิทธิบริการในอีก 4 ประเทศ และรายได้จากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ที่จะตามมาในอนาคต

เดือนกรกฎาคมนี้ หากไม่มีอะไรผิดพลาด คนไทยจะมีโอกาสได้ใช้อินเทอร์เน็ตฟรี แต่จะมีเงื่อนไขอะไรหรือไม่ ก็ต้องรอดู

สำหรับความเห็นของคนในแวดวงอินเทอร์เน็ตแล้ว ต่างก็มองว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้นทุนของไอเอสพีในไทยนั้น แพงกว่าในต่างประเทศ โดยเฉพาะค่าเช่าวงโคจรต่างประเทศ ที่ไม่มีทางเลือกมากนัก ต้องเช่าจาก กสท. ที่กำหนดอัตราค่าบริการไว้แล้ว

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่ยังมีอยู่จำกัด ยังคงเป็นอุปสรรคต่อการหาค่าโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต ที่จะต้องขึ้นอยู่ กับจำนวนผู้ใช้ และหากเปรียบเทียบอัตราค่าโฆษณากับจำนวนคนดูแล้ว โฆษณาบนแบนเนอร์ก็ไม่ได้ถูกกว่าโฆษณาบนทีวี

ปรเมศวร์ มินศิริ รองประธานบริหารฝ่ายกลยุทธ์ บริษัทเอ็มเว็บ ประเทศไทย ให้ความเห็นไว้ว่า การทำอินเทอร์เน็ตฟรีไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้นทุนของการให้บริการอินเทอร์เน็ตฟรี จะต้องใช้งบลงทุน 2,000-3,000 ล้านบาท ต่อปี และจะต้องมีลูกค้าอย่างน้อย 6 ล้านรายขึ้นไป

ในมุมมองของปรเมศวร์แล้ว ฟรี อินเทอร์เน็ตในไทยทำได้ยาก เนื่องจากจำนวนลูกค้าไม่มากพอ ซึ่งรายได้ของบริการฟรีอินเทอร์เน็ตจะมาจากค่าโฆษณาบนเว็บไซต์ จำเป็นต้องมีฐานลูกค้าจำนวนมาก

"ถ้าเราประเมินค่าโฆษณาปีละ 10,000 ล้านบาท สัดส่วนของโฆษณาบน อินเทอร์เน็ตตกปีละ 5% คิดเป็นเงิน 500 ล้านบาท กับต้นทุน ที่ต้องเสียค่า ใช้จ่ายปีละ 2,000-3,000 บาท ผมว่าเมืองไทยจะมีแต่เกือบฟรี"

อินเทอร์เน็ตเกือบฟรี ในความหมายของปรเมศวร์ จะเป็นในลักษณะของ ที่ไอเอสพีจับมือกับเจ้าของสินค้า และให้ลูกค้า ที่ซื้อสินค้าได้เล่นอินเทอร์เน็ตฟรี หรือกรณี ที่ไปร่วมมือกับผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน เพื่อใช้ระบบบิลลิ่ง ในการเก็บเงินร่วมกัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายระบบบิลลิ่ง ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เมื่อมีบริการฟรีอินเทอร์เน็ตแล้ว ไอเอสพีทุกรายจะต้องกระโดดลงมา ที่บริการฟรี ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกทำตลาดแบบใดบางรายอาจจะเลือกให้บริการดีมีคุณภาพ คู่สายพร้อมลูกค้าไม่ต้องมาก็อยู่ได้ เก็บค่าบริการได้สม่ำเสมอก็อยู่รอดได้

เหมือนอย่างในสหรัฐอเมริกา ถึงแม้เอโอแอลจะยึดมาร์เก็ตแชร์รายใหญ่ แต่ยังมีไอเอสพีบางรายยังครองมาร์เก็ตแชร์ได้ต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับว่าไอเอสพีรายใดจะยึดเอาโมเดลธุรกิจแบบใด แปซิฟิกอินเทอร์เน็ตจากสิงคโปร์ ที่เคยโด่งดังจากการแจกฟรีอินเทอร์เน็ต มาแล้วในสิงคโปร์ การเข้ามาเปิดตัวในไทย โดยร่วมทุนกับกลุ่มผู้บริหารเดิมของเวิลด์เน็ต ในเครือยูคอม ที่ยังคงสงวนท่าที เริ่มต้นด้วยบริการเหมือนไอเอสพีทั่วไป คือ มีทั้งลูกค้าบุคคล และองค์กร แต่อาศัยความเป็นเครือข่ายข้ามชาติ เพิ่มบริการพิเศษ ด้วยการแจก บัตรสมาชิกแก่ลูกค้า ที่นอกจากจะเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า และบริการแล้ว ยังนำไปใช้บริการในต่างประเทศได้ เปรียบแล้วก็เหมือนกับบริการโรมมิ่งในโทรศัพท์มือถือ

นั่นเพราะแปซิฟิก อินเทอร์เน็ต ก็รู้ดีว่า บริการฟรีอินเทอร์เน็ตไม่ใช่ของง่าย เพราะธุรกิจย่อมมีต้นทุน การเริ่มต้นมาด้วยฟรีอินเทอร์เน็ต น่าจะเป็นทางออกท้ายๆ หรือด้วยสาเหตุอื่นๆ อย่าง เช่น ที่เคยทำในสิงคโปร์ ก็ เพื่อต้องการไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

แต่ ที่แน่ๆ ตลาดไอเอสพีครึ่งปีหลังคงต้องสนุกกว่าครึ่งปีแรก !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us