|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติ เปิดรายชื่อสถาบันการเงินที่ยื่นแผนขอปรับฐานะตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินรวม 27 แผน โดยมีบง.ขนาด ใหญ่ 4 แห่งยื่นขอยกฐานะเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ คาดหลังการพิจารณาอนุมัติจะมีธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ และธนาคารเพื่อรายย่อยเกิดใหม่ 10 แห่ง ขณะที่ บค. สหวิริยา ยังคงฐานะ ก่อนหาทางออกต่อไป
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของสถาบันการเงินที่ต้องการปรับสถานะตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financail Master Plan) ว่า ขณะนี้มีสถาบันการเงินยื่นเสนอแผนการยกระดับ และปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันการเงิน ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินรวมทั้งสิ้น 27 แผน หลังจากครบกำหนดให้ยื่นเป็นวันสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา
สำหรับรายละเอียดของสถาบันการเงินที่เสนอขอปรับฐานะ ประกอบด้วย สถาบันการเงินที่ยื่นแผนการยกระดับขอเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบมีจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1. บริษัทเงินทุน (บง.) ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ควบรวมกิจการกับบง.ไทยเพิ่มทรัพย์ จำกัด 2. บง. เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) ควบรวมกิจการกับบง. รัตนทุน จำกัด (มหาชน) 3.บง. สินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ควบรวมกิจการกับบง. บัวหลวง และ 4. บง. ฟินันซ่า จำกัด ควบรวมกิจการกับบง. กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)
ส่วนสถาบันการเงินที่ขอยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย มีทั้งสิ้น 7 แห่ง ได้แก่ 1. บง. สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) 2. บง. เอไอจี ไฟแนนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 3. บง. จีอี เอเชียไฟแนนซ์ จำกัด 4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด ควบรวมกับบง. บุคคลัภย์ จำกัด (มหาชน) 5. บค. ไทยเคหะ จำกัด 6.บค. ยูนิโก้ เฮาส์ซิ่ง จำกัด และ 7.บค. เอเชีย จำกัด
ทั้งนี้ คณะกรรมการที่พิจารณาแผนการยื่นขอจัดตั้งการยกระดับได้พิจารณาข้อมูลของบง. สินอุตสาหกรรมแล้ว โดยบง.สินอุตสาหกรรมได้เสนอ แผนมา 2 รูปแบบ คือ 1. ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย 2 สถาบันการให้สินเชื่อที่ไม่รับเงินฝาก (Credit Institution) ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติ ให้ยกระดับเป็นประเภทที่ 2 ซึ่งไม่สามารถที่จะยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อยได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติไม่ครบ จึงทำให้เหลือสถาบันการเงินที่ขอยกระดับเป็นธนาคารเพื่อรายย่อย 6 แห่ง พร้อมกันนี้ ยังมี บง.อเมริกัน เอ็กซ์เพรส และบง.แอดวานซ์ จำกัด (มหาชน) ขอคืนใบอนุญาต และเป็นสถาบันการเงินที่ให้สินเชื่อ แต่ไม่รับเงินฝาก
ในส่วนของ บง.ที่เหลืออีก 4 รายนั้น คือ 1. บง.ธนชาติ จะเข้าไปควบรวมกับธนาคารธนชาต 2. บง.ซิติ คอร์ป ควบรวมกับธนาคารซิตี้แบงก์ 3.บง.กรุงศรีอยุธยา ควบรวมกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา และ 4. บง.บีทีเอ็ม ควบรวมกับธนาคารแม่ที่เป็นสาขาธนาคารต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังมีบค. 1 แห่ง ที่ต้องการอยู่ในสถานะ เดิม คือ บค.สหวิริยา
"บค.สหวิริยา เป็นบริษัทรายเล็ก ซึ่งคงจะเตรียมตัวไม่ทัน แต่ธปท.จึงยอมให้คงสถานะเดิมต่อไปได้ ส่วนในระยะยาวคงจะต้องมีการหารือกันว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้เป็นกรณีเดียวกับ บง. และ บค. แห่งอื่นๆ ที่ขอยกระดับแล้วแต่ไม่ผ่านจึงต้องคงสถานะเดิมไว้ได้" นางธาริษา กล่าว
สำหรับสาขาธนาคารต่างประเทศนั้น นางธาริษา กล่าวว่า มีสาขาธนาคารต่างประเทศจำนวน 16 แห่ง ที่ต้องการคงสถานะเดิมต่อไป ส่วนรายที่ขอยกระดับขึ้นเป็นธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่จดทะเบียนในประเทศไทย คือ ธนาคารสากลพาณิชย์แห่งประเทศ ส่วนกิจการวิเทศธนกิจอเมริกัน เอ็กซ์เพรส และแบงก์ ออฟ นิวยอร์กขอคืนใบอนุญาตและเป็นเพียงสำนักงานตัวแทน ส่วนกิจการวิเทศธนกิจยูไนเต็ด โอเวอร์ซี ควบเข้ากับธนาคารยูโอบี รัตนสิน ขณะที่กิจการ วิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) ยู เอฟ เจ และโซซิเยเต้ เจนเนอราล ขอยกระดับเป็นสาขาเต็มรูปแบบ
ในส่วนของการยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ ทั้ง 10 รายนั้น ทางคณะกรรมการพิจารณาความเห็นชอบเบื้องต้น (กพพ.) ได้ส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาไปแล้ว 1 ราย ส่วนการขอรวมเป็นสถานะเดียวได้พิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว 1 แผน ส่วนที่เหลือนั้น หลังจากที่มีการเสนอ ขอยกระดับมาแล้ว จะใช้เวลาในการพิจารณา 1 เดือนเพื่อตรวจสอบข้อมูล ซึ่งจะเสร็จภายในวันที่ 1 สิงหาคมปีนี้ จากนั้นจะส่งให้ กกพ.พิจารณาเห็นชอบแผนเบื้องต้นต่อโดยจะเสร็จสิ้นภายใน 30 พ.ย.2547 และในกระบวนการสุดท้าย กพพ. จะส่งไปให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติ ซึ่งใช้เวลามากที่สุด 2 เดือน
ทั้งนี้ กระบวนการอนุมัติการยกระดับจะเสร็จสิ้นภายใน วันที่ 31 มกราคม 2548 หลังจากนั้น สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตดำเนินการ ปรับสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ทุกรูปแบบจะให้เวลา 1 ปี และยืดเวลาได้อีก 6 เดือน ส่วนสาขาธนาคารต่างประเทศต้องจัดตั้งภายใน 6 เดือน ส่วนการดำเนินการรวมเป็นสถานะเดียวใช้เวลา 1 ปี
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และแผนการยกระดับและเปลี่ยนสถานะของสถาบันการเงินครั้งนี้จะไม่กระทบต่อเงินฝาก และหนี้ของลูกหนี้ อย่างแน่นอนเนื่องจากอยู่ในโครงการค้ำประกันของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
"หากแผนการยกระดับจบลง คาดว่าจะมีแบงก์พาณิชย์เต็มรูปแบบ และรายย่อยของไทย เพิ่ม 10 ราย และเป็นธนาคารต่างประเทศที่จดทะเบียน ในประเทศไทยอีก 1 แห่ง ส่วนบีไอบีเอฟจะไม่เหลืออยู่เลย เพราะจำเป็นที่จะใช้ช่องทางนี้ในการ ระดมทุนจากต่างประเทศ" นางธาริษา กล่าว
|
|
 |
|
|