Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541
ไพบูลย์ ปิลันธน์โอวาท "ผมมาเป็น MISSION พิเศษ"             
 

   
related stories

ปรส.โชว์ฝีมือ ตรงแนว IMF
75 วันอันตราย




โดยภาระหน้าที่หลักแล้วเขาดูแล บง.เอกธนกิจ, บงล.ไทยรุ่งเรืองทรัสต์, บง.ชาติไพบูลย์, บงล.พูลพิพัฒน์ โดยแต่ละที่จะมี SMs หลักดูแห่งละ 1 คนและเขาเป็นหัวหน้าสายอีกชั้นหนึ่ง และมีรองปลัดกระทรวงการคลัง นายมานิต วิทยาเต็ม เป็นประธานกรรมการตามมาตรา 30 ที่เขาต้องรายงานขึ้นต่ออีกลำดับชั้นหนึ่ง

ส่วนที่ปรึกษาพิเศษหรือ Special Advisors ที่ไพบูลย์ต้องทำงานร่วมด้วยคือ เจ้าหน้าที่จาก KPMG ส่วน SA อีก 2 รายคือ Deloitte Touche Tohmatsu Jaiyos หรือ ดีลอย ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ และ Ernst & Young ทั้ง 3 บริษัทนี้เป็น international law firm ที่ทำงานเสมือนหนึ่งพี่เลี้ยงของ Special Managers หรือ SMs

ไพบูลย์ เล่าภารกิจของ SMs ว่ามีความยากลำบากหลายประการ

ข้อแรก สภาพที่ SMs จะทำงานใน บงล.ต่างๆ คือต้องมีการปลดพนักงานบางส่วนในบริษัทนั้นๆ ออก เพราะต้องปิดบริษัท ต้องเผชิญแรงต่อต้านจากพนักงาน หากไม่สามารถทำความเข้าใจกับพวกเขาได้ ดังนั้นการเข้าไปทำงานในเบื้องแรก จึงต้องทำความเข้าใจกับพนักงานก่อนว่ามาทำหน้าที่อะไร ไม่ใช่เข้ามาควบคุม แต่เข้าไปเพื่อทำให้การดำเนินการต่างๆ ดีขึ้น ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนเหล่านี้ และให้พวกเขาอยู่ทำงานต่อ จนกว่าการชำระบัญชีเพื่อปิดกิจการจะสิ้นสุดลง ซึ่งตามหมายกำหนดการคือเริ่มชำระหนี้ในปี 2542

ต่อมา ต้องมีการดูเรื่องความมั่นคงของบริษัททั้งหมด และระบบข้อมูลทั้งหมดต้องถูกรักษาไว้อย่างดี ณ วันที่ถูกสั่งปิดกิจการ เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล นั่นคือความเสียหายอย่างมหาศาลต่อระบบ

การเก็บรักษาข้อมูลทำได้โดยการเข้าไปแบ็คอัพข้อมูลทั้งหมดเก็บไว้ ณ วันที่เข้าไปปิดกิจการ โดยเฉพาะเพื่อให้รู้ว่ามีลูกหนี้ทั้งหมดกี่ราย แต่ละรายมีสภาพเป็นอย่างไร ในขณะเดียวกันทรัพย์สินทั้งหมดมีอะไร ห้ามมีการเคลื่อนย้ายทั้งสิ้น Strong room ที่เก็บเอกสารสำคัญต่างๆ ต้องมีการรวบกุญแจเก็บไว้ทั้งหมด ยกเลิกอำนาจเดิมของผู้บริหารที่มีอำนาจในการลงนามทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเบิกจ่ายเช็ค บัญชีต่างๆ

จากนั้นก็ต้องมีการปลดพนักงานในระดับบริหารที่เป็นกรรมการ และหากเป็นไปได้ก็คือ ระดับที่เป็นกรรมการผู้อำนวยการ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารงาน เพราะการบริหารงานของ SMs ต้องไม่มีการแทรกแซงเกิดขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสิทธินี้ให้แก่เจ้าหนี้และผู้ถือหุ้น

สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นประเด็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่เมื่อเข้าไปควบคุมกิจการของ SMs

หลังจากนั้น ภาระหน้าที่ต่อมาในช่วง 75 วันเกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานสถานะทางการเงินเพื่อรอชำระบัญชี และในขณะเดียวกันก็ควบคุมความมั่นคงและความปลอดภัยของเอกสารทรัพย์สินต่างๆ การรักษาทรัพย์สินและทำคุณภาพของทรัพย์สินให้ดีนั้น SMs ต้องดูแลเรื่องการรับชำระเงินจากลูกหนี้ รวมไปถึงเรื่องการไถ่ถอนปลอดจำนองต่างๆ เมื่อครบกำหนดหรือมีการผ่อนชำระครบแล้ว ซึ่งประเด็นหลังนี้กลายเป็นข่าวที่ออกมาสะท้อนการทำงานของ SMs ตลอดมา

ในเรื่องนี้ ไพบูลย์กล่าวว่า การไถ่ถอนปลอดจำนองต่างๆ นั้นเป็นงานที่ง่ายมาก มันไม่ใช่เรื่องหลักที่ IMF กังวลหรือเน้นย้ำตรงจุดนี้และต้องการให้ SMs ที่เข้ามาเป็นบริษัทต่างชาติ แต่ประเด็นอยู่ที่ทรัพย์สินต่างๆ ที่ต้องดูแลแทนเจ้าหนี้ต่างหาก ดังนั้นในการทำงานตรงจุดนี้ จึงมีการตั้งคณะทำงานต่างๆ ขึ้นมาหลายชุด ซึ่งในทุก บงล.ที่ SMs เข้าดูแลจะมีกระบวนการทำงานในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดมาตรฐานและมีความโปร่งใสมากที่สุด

คณะทำงานชุดต่างๆ เช่น คณะกรรมการตรวจนับทรัพย์สิน ประกอบไปด้วย SAs เป็นชาวต่างชาติ ผู้แทนจากแบงก์ชาติ SMs และผู้บริหารจาก บงล.นั้นๆ รวม 4 ท่าน เพื่อดูแลทรัพย์สินให้คงอยู่ในสภาพดี ไม่สูญหายตามบัญชีที่มีการบันทึกไว้ในวันที่ 8 ธันวาคม 2540 ที่ SMs เข้าดูแลกิจการ

นอกจากนี้ก็มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองคืนหลักประกันให้ลูกหนี้ คณะทำงานนี้ทำหน้าที่ด้านการปลอดจำนอง หรือปลดจำนอง และไถ่ถอน ซึ่งตรงจุดนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสินเชื่อ

คณะทำงานย่อยในการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับเช่าซื้อ ในการคืนหลักประกันผู้เช่าซื้อ

คณะทำงานพิจารณาการปิดสาขาและสำนักอำนวยสินเชื่อ

ในการทำงานของคณะกรรมการหรือคณะทำงานต่างๆ เหล่านี้ ต้องมีการขออนุญาตประธานตามมาตรา 30 เพื่อขออนุมัติดำเนินการต่างๆ

ด้านพนักงานบริษัทที่ถูกปลดออกจากงานนั้น ฝ่ายที่โดนไปเต็มๆ ได้แก่ พนักงานมาร์เก็ตติ้ง ฝ่ายวิจัยและวางแผน พนักงานด้านเงินฝาก ฝ่ายงานเหล่านี้จะโดนปลดเป็นส่วนแรกๆ เพราะไม่มีงานให้ทำอีกต่อไป เนื่องจากบริษัทฯ ดำเนินการได้เพียงแค่การรับชำระหนี้จากลูกหนี้อย่างเดียว

พนักงานที่เหลือหลักๆ คือฝ่ายสินเชื่อในส่วนที่เป็นผู้ดูแลลูกค้า ฝ่ายเร่งรัดหนี้สิน กฎหมาย บัญชี การเงิน ตรวจสอบภายใน ตรงจุดเหล่านี้ต้องมีอยู่ตามปริมาณงานที่ต้องมีระดับหนึ่ง เช่น

บง.เอกธนกิจ เดิมมีพนักงาน 650 กว่าคน ตอนนี้เหลืออยู่ประมาณ 400 คน

ไพบูลย์กล่าวว่าเรื่องการปลดพนักงานเป็นความจำเป็น เพราะหากไม่มีธุรกรรมรองรับแล้ว ก็เท่ากับเป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์

ไพบูลย์จะมีการประชุมกับ SMs ในกลุ่มของเขาเป็นประจำ เพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานต่างๆ และดูแลให้มีการทำไปตามกระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ IMF และเจ้าหนี้

"เราไม่สนใจว่าเป็น case ของบริษัทชื่ออะไร สมมติว่าเป็นลูกค้า case มีอย่างนี้ จะให้แก้อย่างไร เพราะเราไม่อยากให้เกิดความที่ว่า ไปล่วงรู้ข้อมูลอะไรข้างในมาก แต่การดูแลทีมงานของเราก็เพื่อให้เขาได้ปฏิบัติให้สอดคล้องกับสิ่งที่ IMF ต้องการไปในแนวทางเดียวกัน ที่สามารถตรวจสอบได้หมด ทุกอย่างโปร่งใสหมด ในขณะเดียวกันก็ตรวจสอบพฤติกรรมในทีม เพื่อไม่ให้เกิดข้อบกพร่องในการทำงาน และบางอย่างเป็นเรื่องที่ต้องใช้ประสบการณ์ที่มาจากสายธนาคารเยอะ ซึ่งผมก็มีประสบการณ์ตรงจุดนี้เพราะมาจากด้านธนาคาร"

ทั้งนี้ ไพบูลย์ ทำงานที่ธนาคารทหารไทย ดูแลสายงานด้าน Private Banking ดูแลสินเชื่อขนาดใหญ่ และงาน Fund Management ที่มีการบริหารกองทุนส่วนบุคคล กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และ "ผมมาช่วยเป็น mission พิเศษ เพื่อชาติ"

ด้านการปิดสาขาในต่างจัหวัดนั้น ก็จะมีการทยอยปิด เนื่องจากบางแห่งยังมีปริมาณธุรกิจที่เยอะอยู่ หากปิดทันทีจะกระทบลูกค้าที่มาชำระหนี้ แต่ในส่วนของสำนักงานอำนวยสินเชื่อได้ปิดไปหมดแล้วในเดือนก่อน

เมื่อลูกค้ามาชำระหนี้นั้น การชำระยังคงเป็นไปตามปกติ เพียงแต่เงินที่ได้มาจะเข้าในบัญชี "ปรส.1" เช่น เช็คสั่งจ่าย ธนาคารกรุงเทพ กระแสรายวัน (ของ บง.เอกธนกิจ) (ปรส.1) เมื่อเงินเข้ามาจะถูกโอนโดยอัตโนมัติเพื่อเข้าบัญชี "ปรส.2" ซึ่งเป็นบัญชีสะสมทรัพย์ เพื่อให้ได้ดอกเบี้ย และจาก ปรส.2 จะมีการโอนเข้าไปลงทุนในตลาดซื้อคืนพันธบัตร หรือ Repo market ซึ่งเงินตรงนี้ก็จะถูกโอนไปที่แบงก์ชาติ เป็นการลงทุนให้บริษัทให้มีผลประโยชน์ โดยไม่มีความเสี่ยง และยังได้เพิ่มค่าเงินทำให้เจ้าหนี้ได้ผลประโยชน์มากขึ้นด้วย เพราะมีดอกเบี้ยรับ

ไพบูลย์ให้ความเห็นว่าเป็นไปได้มากที่ SMs ชุดต่อไปจะดำเนินงานแตกต่างไปจากชุดแรกที่พวกเขาทำไว้ เพราะภาระหน้าที่ไม่เหมือนกัน "ทั้งนี้ ชุดแรกทำหน้าที่เข้ามาตรวจสอบดูว่าบริษัทมีสุขภาพทางการเงินดีหรือไม่ ซึ่งนี่เป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด ไฮไลท์อยู่ตรงที่ว่า สุขภาพนี้ เมื่อจะขาย จะได้ราคาสูงสุด ต่ำสุดเท่าใด"

แต่ใน SM ชุดสองนั้น ไม่ต้องทำการตรวจสุขภาพแล้ว แต่เตรียมในเรื่องของการขายทรัพย์สิน การปลดจำนองไถ่ถอนให้ลูกค้า ไม่ต้องทำเรื่องการตรวจสอบ การจัดบัญชีระบบ การสัมพันธ์กับพนักงานบริษัทในช่วงวิกฤติ การประเมินพอร์ตโฟลิโอ ไม่ต้องทำงานกับ SAs อีกต่อไป

ไพบูลย์ยอมรับว่างานที่โหดที่สุดได้ผ่านไปแล้ว ทั้งนี้เขาลาออกจากตำแหน่งงานที่ธนาคารทหารไทย เพื่อเข้ามาช่วยประเทศในเรื่องนี้ "ผมลาออกโดยผมไม่ต้องคิดเลย เราต้องมาช่วยประเทศแล้ว และเอกธนกิจก็เป็นอะไรที่ใหญ่มาก ผมลาออกโดยไม่คิดว่าจะได้กลับเข้าไปอีก"

เขามาร่วมงาน ปรส.ในฐานะ SM เมื่อ 23 ธันวาคม 2540 และเสร็จสิ้นภารกิจเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2541 ซึ่งเป็นเส้นตายที่ IMF กำหนดให้จบภารกิจในขั้นนี้ เขากล่าวว่า "ผมมาทำหน้าที่เรื่องการจัดทำ final report ทำงานร่วมกับ SAs ทำข้อมูลทั้งหมดเพื่อพร้อมให้มีการจัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่ 2 ได้ตาม IMF กำหนด หากเราทำงานเกินกลางเดือน ก.พ. ที่มีการจัดประชุมเจ้าหนี้ไป ประเทศไทยมีความเสียหายเกิดขึ้นแน่"

ทั้งนี้จะเห็นว่าการทำงานของ SMs ชุดนี้เต็มไปด้วยความเครียดในเรื่องของกรอบเวลาอย่างมาก เพราะเมื่อเข้ารับงานก็ทราบทันทีว่า dead line อยู่ที่เท่าไหร่ ขณะทำงานก็มีเรื่องยุ่งยากเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

แต่เขาก็โชคดีเมื่อ ดร.ทนง พิทยะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ อดีต รมว.คลัง ผู้ลงนามเพื่อนำประเทศไทยเข้าสู่โครงการรับความช่วยเหลือของ IMF ในรอบนี้ ได้ขอให้เขากลับเข้าไปทำงานที่แบงก์ในตำแหน่งเดิมอีกครั้งหนึ่ง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us