Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541
JLW ชี้ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวปี 2000             
 


   
search resources

JLW




บริษัท โจนส์ แลง วูธทั่น (JLW) บริษัทที่ให้บริการทางด้านอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่รายหนึ่งของโลก ได้ออกมาให้ความเห็นว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยน่าจะดีขึ้นในปี ค.ศ.2000 ถ้าภาวะเศรษฐกิจของไทยไม่เลวร้ายไปกว่านี้

เครก พลัมบ์ กรรมการฝ่ายวิจัย บริษัท JLW ได้ให้เหตุผลสำคัญในเรื่องนี้ว่า เป็นเพราะพื้นที่ขายได้ลดตัวลงอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าน่าจะปรับตัวสอดคล้องกับความต้องการซื้อในอีกประมาณ 2-3 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะในช่วงนี้ปรากฏว่า มีนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก ที่สนใจจะเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย แต่การซื้อขายจริงยังเกิดขึ้นน้อย เป็นเพราะว่านักลงทุนเหล่านั้นต้องการเห็นระบบการเงินในเมืองไทยมั่นคงกว่านี้ และหลายรายยังหวังว่าราคาน่าจะลดต่ำลงไปอีกได้ ในขณะเดียวกัน กฎหมายที่จะเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติถือครองกรรมสิทธิ์ของอสังหาริมทรัพย์ ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข

"เรื่องขยายระยะเวลาในการเช่าที่ดินเพิ่มขึ้นจาก 30 ปีเป็น 99 ปี และมาตรการเพิ่มกรรมสิทธิ์ในการถือครองจะช่วยให้ตลาดฟื้นตัวเร็วขึ้น เพราะขณะนี้หลายรายต้องการเข้ามาซื้อโครงการเพื่อบริหารเอง แบบยกตึกไปเลย" เครก กล่าว

ส่วนประเภทของโครงการที่อยู่อาศัยที่น่าจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเภทอื่นๆ ก็คือโครงการคอนโดมิเนียมที่พักอาศัย ตัวเลขจากผลวิจัยของบริษัทพบว่าในช่วงปี 2540 ที่ผ่านมา มีการก่อสร้างคอนโดมิเนียมในย่านใจกลางกรุงเทพฯ เสร็จเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นประมาณ 7,000 ยูนิต หรือประมาณ 30% ของจำนวนทั้งหมดที่คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปีที่ผ่านมา 21,900 ยูนิต โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2540 มีโครงการคอนโดมิเนียมที่ถูกยกเลิกไปทั้งสิ้น 15 โครงการ หรือประมาณ 2,530 ยูนิต และอีก 22 โครงการ หรือ 6,540 ยูนิตที่ไม่เริ่มการก่อสร้าง หรือหยุดการก่อสร้างนานกว่า 6 เดือน ส่วนโครงการใหม่ๆ ที่เปิดตัวเข้าสู่ตลาดในช่วงที่ผ่านมามีเพียง 870 ยูนิต ซึ่งคิดเป็นเพียง 10% ของจำนวนยูนิตที่มีการเปิดตัวเฉลี่ยต่อปีในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

อัตราการขยายตัวที่ต่ำลงของคอนโดมิเนียมในย่านกลางกรุง เป็นผลสะท้อนจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับความต้องการในตลาด และการขาดสภาพคล่องในประเทศไทย ในปีที่ผ่านมาระดับความต้องการคอนโดมิเนียม ในย่านใจกลางกรุงเทพฯ ลดระดับลงอย่างมาก คือมียอดการขายรวมเพียง 2,090 ยูนิต เมื่อเทียบกับปี 2537 ที่ผ่านมาที่มียอดขายสูงสุดถึง 12,700 ยูนิต อย่างไรก็ดี แม้ระดับ ความต้องการจะลดลง แต่ยอดรวมของคอนโดมิเนียมที่ยังเหลือในย่านใจกลางกรุงเทพฯ กลับมีระดับลดลง โดยลดลงจาก 12,500 ยูนิตในสิ้นปี 2539 เหลือ 9,000 ยูนิต ณ สิ้นปี 2540

ทั้งนี้เนื่องจากมีคอนโดมิเนียมจำนวนมากที่ถูกยก เลิกหรือถูกเปลี่ยนประโยชน์การใช้ ณ สิ้นปี 2540 คอนโด มิเนียมในย่านใจกลางกรุงเทพฯ มียอดขายเฉลี่ย 83% โดยโครงการที่สร้างเสร็จแล้วมียอดขายเฉลี่ย 90% ส่วนโครงการที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างมียอดขายเฉลี่ย 72% อย่าง ไรก็ดี ตัวเลขยอดขายนี้มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากคาดว่าบางโครงการจะถูกระงับไป และผู้ซื้อส่วนหนึ่งไม่สามารถหรือไม่ประสงค์ผ่อนต่อ

ในช่วงของครึ่งหลังปี 2540 ราคาเสนอขายเฉลี่ย สำหรับคอนโดมิเนียมในย่านใจกลางกรุงเทพฯ ลดลง 3.5% เหลือตารางเมตรละ 47,530 บาท โดยมีเจ้าของโครงการหลายรายที่เสนอส่วนลดพิเศษให้แก่ผู้ซื้ออีก บางโครงการเสนอส่วนลดถึง 50% และบางโครงการเสนอขายในราคาต่ำกว่าทุน เนื่องจากเจ้าของโครงการต้องการขายยูนิตที่เหลือให้หมด

จากปีนี้จนถึงปี 2543 คอนโดมิเนียมที่กำหนดจะก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งสิ้น 20,200 ยูนิต โดยกำหนดแล้วเสร็จปีนี้จำนวน 10,300 ยูนิต ปี 2542 จำนวน 5,790 ยูนิต และปี 2543 จำนวน 4,150 ยูนิต อย่างไรก็ดีจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนทั้งหมดนี้ได้ถูกยกเลิก หรือหยุดการก่อสร้าง หรือยังไม่เริ่มการก่อสร้างมานานกว่า 6 เดือน นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มด้วยว่าจะมีคอนโดมิเนียมอีกประมาณ 10-20% ใน จำนวนที่กำลังก่อสร้างทั้งหมดที่จะถูกยกเลิกโครงการหรือเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์

เครก พลัมบ์อธิบายเพิ่มเติมว่า การยกเลิกหรือหยุดโครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมาก ตลอดจนถึงการเปลี่ยนประโยชน์การใช้ จะทำให้ยอดคอนโดมิเนียมที่จะเสนอขายมีจำนวนลดลงเหลือประมาณ 5,000-7,500 ยูนิต ซึ่ง ณ ระดับความต้องการในปัจจุบัน คอนโดมิเนียมที่เหลือนี้ต้องใช้เวลา 2.5-3.7 ปีจึงจะขายหมด เมื่อเทียบกับระดับความต้องการในภาวะปกติจะ ใช้เวลาเพียง 1-1.5 ปี

"สภาวะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าตลาดคอนโดมิเนียมในย่านใจกลางกรุงเทพฯ กำลังอยู่ในระหว่างการปรับความสมดุลของความต้อง การ และปริมาณและคาดว่าจะก้าวสู่ขาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อระดับความต้องการปรับตัวดีขึ้น"

สำหรับในส่วนอาคารสำนัก งานนั้นได้คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวหลังคอนโดมิเนียม ในรายงานของ JLW ได้สรุปไว้ว่าหลังปี 2541 ตลาดอาคาร สำนักงานกรุงเทพฯ จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในแง่ของปริมาณพื้นที่ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในตลาด เนื่องจากในขณะนี้ มีพื้นที่อาคารสำนักงานที่กำลังทำการก่อสร้างทั่วกรุงเทพฯ เพียง 359,700 ตารางเมตร นอกจากนี้คาดว่าจะมีการยกเลิกหรือชะลอโครงการเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของอาคารสำนักงานในช่วงหลังปี 2541 เป็นต้นไปจะลดระดับลงมามาก แต่อัตราค่าเช่าและมูลค่าพื้นที่จะยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างน้อยในอีก 2 ปี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us