Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547
World Class             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 





บีโอไอในยุคสถาพร กวิตานนท์ ภูมิใจเรื่องจ้าง Time-Warner ทำโฆษณาภาพลักษณ์เมืองไทยให้สายตาตะวันตกเข้าใจว่าไทยกำลังผ่านพ้นวิกฤติ ถือว่าเป็นความคิดใหม่ในยุคโลกไม่มีพรมแดน แต่พอจัดงานใหญ่ ซึ่งถือเป็นต้นแบบงานโชว์ที่ใหญ่ที่สุดในบ้านเรา (ที่จัดโดยราชการ) งานบีโอไอแฟร์ เพื่อสร้างกระแสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เขากลับไม่ได้สนใจตลาดต่างประเทศหรือระดับภูมิภาคเลย

ตอนนั้นเรายังอาจไม่เคยคิดว่างานแฟร์ที่สิงคโปร์ และฮ่องกง ทำไมคนไทย (รวมทั้งภูมิภาค) แห่กันไปชม

ทุกวันนี้เหลียวซ้ายแลขวา ทางการไทยพยายามจะสร้าง hub ต่างๆ ที่เป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคกันอย่างมากมายจนบางคนบอกว่าเฝือเกินไป

เครือซิเมนต์ไทยเริ่มต้นจากการผลิตปูนซีเมนต์เมื่อเกือบๆ 100 ปีก่อน เพื่อทดแทนการนำเข้า และพอใจกับการเติบโตในตลาดภายในประเทศ จนเมื่อการแข่งขันข้ามพรมแดนมากขึ้น จึงพยายามสร้างสินค้าระดับโลก เครือซิเมนต์ไทยใช้เวลาเรียนรู้เรื่องนี้หลายสิบปีทีเดียว เรียนรู้และเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้มากมาย จนวันนี้ก็ยังถือเป็นกลุ่มบริษัทระดับท้องถิ่นอยู่ดี ทั้งๆ ที่พยายามใช้มาตรฐานระดับโลกมากมาย

ธุรกิจธนาคารไทยมีอิทธิพลมานาน 50 ปีในสังคมไทย ในที่สุดก็ต้องปรับตัวอย่างทุลักทุเลกับมาตรฐานโลก

กลุ่มชินที่ก่อตั้งโดยทักษิณ ชินวัตร เติบโตมาด้วยสินค้าตะวันตก (อุปกรณ์โทรศัพท์ไร้สาย) และวิธีการแบบตะวันตก (หาเงินจากตลาดหุ้น) ความร่ำรวยของเขาไม่ได้เกิดจากความคิดสร้างสินค้าระดับโลกของไทยเลย ทีมงานของเขาบอกว่าทิศทางสร้างกิจการต้องมองระดับภูมิภาคแต่ก็ยังไปไม่ถึงไหน

บรรดาธุรกิจไม่ค่อยจะแปลกใจ เพราะเกิดจากแรงบีบภายนอก โดยเฉพาะราคาที่จ่ายค่าปรึกษานั้นแพงตรงข้อสรุปที่คุณต้องคิดระดับภูมิภาคและระดับโลกนี่เอง

แต่แล้วอยู่ๆ สินค้างานฝีมือของชุมชนที่ถูกรัฐกระตุ้นให้ผลิตมากขึ้น และทำการตลาดกลับได้รับการตอบรับจากตลาดโลกอย่างมากมายในเวลาอันสั้น

ใครจะว่าอย่างไร ผมจึงมองการเรียนรู้ในเรื่องนี้ของสังคมไทยดีขึ้น ไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือชุมชน แม้จะดูว่า กระบวนการนั้นขรุขระมากทีเดียว นับเป็นแนวโน้มของสังคม ไทยในเวลาที่ผู้คนยังมองหาแนวโน้มเชิงโครงสร้างกันไม่พบ

กระบวนการเรียนรู้ผ่านการยอมรับเบื้องต้นแล้วในโลกยุคใหม่ยุคที่ความเชื่อมกับโลกภายนอกเป็นจริง และซึมเข้ากับกิจกรรมชีวิตของผู้คนแล้ว ความคิดนี้น่าจะเป็นกระแสที่เกิดขึ้นอย่างมั่นคงในความคิดของผู้นำในสังคมไทยในเกือบทุกระดับอย่างเป็นปึกแผ่นพอสมควร

แต่ว่าแค่ความคิดเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ยังต้องทำงานและเรียนรู้อีกมากกว่าจะไปถึงจุดนั้นจริงๆ

ผมเชื่อว่านี่คือทิศทางสำคัญของชิ้นส่วนในสังคมเวลานี้ ไม่ว่าคุณจะมีสินค้าส่งออกหรือไม่ ไม่ว่าคุณจะเป็น NGO ที่ต่อต้านโลกยุคใหม่หรือไม่ ทุกคนได้ถูกกระแสดูดเข้าไปในวงจรนี้เรียบร้อยแล้ว

สินค้าหรือมาตรฐานระดับโลก มีความหมายที่ลงตัวพอสมควรแล้ว

นั่นคือองค์ความรู้ของสิ่งนั้นจะต้องประกอบด้วยองค์ความรู้ของสังคม และชุมชนไทยอยู่ด้วย สังคมและชุมชนไทยมีส่วนความเป็นเจ้าของ (แม้จะไม่ทั้งหมดก็ตาม) โดยมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาสิ่งนั้นอยู่เสมอ และสุดท้ายสิ่งนั้นต้องสะท้อนเอกลักษณ์หรือบุคลิกของสังคมและชุมชนไทย ซึ่งเอกลักษณ์หรือบุคลิกเฉพาะตัวนั้นต้องอยู่ในแผนที่ทางจิตใจของสังคมและชุมชนในระดับโลกด้วย

ทั้งหมดนี้มีกระบวนการเรียนรู้และปฏิบัติที่ขรุขระยิ่งนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us