|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2547
|
|
ไม่ใช่คณิตศาสตร์ทฤษฎีใหม่อะไรหรอกค่ะ เป็นการตีความการใช้ประโยชน์จากห้องเพียงห้องเดียวที่สามารถตกแต่งเพื่อใช้งานได้ถึง 2 วัตถุประสงค์ นั่นคือ รวมเอาห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหารไว้ในห้องเดียวกันได้อย่างไม่เคอะเขิน
ตัวอย่างที่เห็นในภาพเป็นเพนต์เฮาส์ อพาร์ตเมนต์ริมแม่น้ำใน Meadowbank, Sydney บริษัทออกแบบคือ Waterpoint Shepherds Bay ต้องการกำจัดอุปสรรคทางกายภาพที่เกิดจากการมีห้องนั่งเล่นและห้องอาหารอยู่คนละห้อง จึงตกแต่งให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน เพราะต้องการให้ส่วนของพื้นมีพื้นที่ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวโดยไม่มีผนังห้องมากั้นเอาไว้
อย่างไรก็ตาม พื้นที่ใช้สอยทั้งของห้องอาหารและห้องนั่งเล่นต่างก็มีสัดส่วนของตัวเองอย่างชัดเจน โดยมีเพดานห้องทำหน้าที่บอกอาณาเขตได้อย่างเหมาะเจาะ
ไอเดียของงานออกแบบตกแต่งห้องนี้ จึงสอดคล้องกันด้วยดีกับข้อเขียนของ Sarah Susanka ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือ The Not So Big House (จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Taunton Press) ว่า
"ประเด็นมันอยู่ที่ความชัดเจนว่าคุณใช้ชีวิตอย่างไร จากนั้นก็ทำให้บ้านมีสภาพสอดคล้องกับความต้องการใช้งานของคุณ ซึ่งดีกว่าจะมากะเกณฑ์ว่า บ้านทุกหลังต้องมีห้องเหมือนกันหมด"
(The point is to identify how you live and then tailor the house to accommodate those needs rather than just assume that every house has to have the same sets of rooms.)
และ
"บ้านเป็นผลพวงของความจำเป็นต้องมีพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในบ้านหลังนั้น" (A house is a sequence of spaces for all the different activities that happen there.)
|
|
|
|
|