|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2547
|
 |

หลวงพระบาง มรดกโลก งดงามด้วยศิลปวัฒนธรรม ศรัทธาแห่งพระพุทธศาสนา วิถีชีวิตเรียบง่ายและธรรมชาติที่งดงาม ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานนิทรรศการที่น่าสนใจ
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 ที่ผ่านมา สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยได้มอบหมายให้หอศิลป์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ดำเนินโครงการเผยแพร่ศิลปร่วมสมัย ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยคัดเลือกศิลปินผู้มีชื่อเสียงในสาขาต่างๆ เดินทางไปยังเมืองหลวงพระบาง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2547
นิทรรศการ "ทิพย์สองฝั่งโขง" จึงเป็นการเผยแพร่ให้เห็นเมืองหลวงพระบางผ่านผลงานศิลปะ จากมุมมองของศิลปินที่เข้าร่วมโครงการ 6 คน ผู้ซึ่งได้ไปซึมซับบรรยากาศแห่งความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง และได้เก็บความประทับใจกลับมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในแขนงต่างๆ ตามแต่ถนัด
บทกวีชุด "หลวงพระบาง" อารยะ ธรรมชาติ สุนทรี ชีวิต และมิตรภาพ ที่ไพเราะจากจิรนันท์ พิตรปรีชา ถูกเรียงร้อยลงบนกระดาษสาแผ่นใหญ่
ความศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อศาสนา บรรยากาศริมฝั่งโขง ถ่ายทอดเป็นภาพสีน้ำจากปลายพู่กันของประหยัด พงษ์ดำ ภาพโบราณสถาน และโบราณวัตถุ บันทึกด้วยสีน้ำลงผืนผ้าใบด้วยฝีมือของพิชัย นิรันต์ ความสงบสุขที่เป็นตัวตนและวิญญาณของเมืองหลวงพระบาง ถูกมองผ่านกล้องของ สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ส่วนประเทือง เอมเจริญ สะบัดพู่กันเป็นภาพสีน้ำมันบนผ้าใบในเรื่องศิลปวัฒนธรรม ถาวร โกอุดมวิทย์ ได้บอกเล่ารูปทรงของภาชนะที่ออกแบบขึ้นอย่างเรียบง่ายตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ
ความสวยงามในชีวิตที่ถูกมองผ่านมิติต่างๆ ของศิลปิน อาจทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า ชาวหลวงพระบางจะยืนหยัดท้าทายการเปลี่ยนแปลงจากวัตถุนิยมของโลกภายนอกได้อีกนานแค่ไหน
|
|
 |
|
|