|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2547
|
|
เมื่อครั้งที่ณรงค์ ธารีรัตนาวิบูลย์ ตัดสินใจจะย้ายโรงงานผลิตลูกถ้วยไฟฟ้าจากนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ซึ่งคับแคบเกินไป โดยมาซื้อที่ดินจำนวน 100 ไร่ ริมถนนสายเอเชียในอำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ เขาคิดเพียงว่าเขาต้องการหาพื้นที่ ซึ่งอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เท่านั้น
เขาไม่เคยคิดมาก่อนว่าในประวัติศาสตร์ของอาณาจักรอยุธยาตอนปลาย จังหวัดสิงห์บุรี เคยเป็นแหล่งผลิตอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาขนาดใหญ่ ที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศจีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ฯลฯ
โดยใช้พื้นที่บริเวณริมแม่น้ำน้อย (สาขาแม่น้ำเจ้าพระยา) ในท้องที่ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจันในปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตสำคัญ โดยตลอดรายทางริมแม่น้ำสายดังกล่าวมีเตาเผาตั้งเรียงรายอยู่ถึงกว่า 200 ลูก
"ทางจังหวัดเพิ่งมาค้นพบภายหลังจากที่เราได้เข้ามาตั้งโรงงานแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์โดยบังเอิญ เพราะผลิตภัณฑ์ของเราก็ทำมาจากเครื่องปั้นดินเผาเช่นกัน" ณรงค์เล่า
ณรงค์เคยเป็นอดีตนิสิตนักกิจกรรม จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ถูกอุบัติเหตุทางการเมืองในยุคสมัย 14 ตุลาคม 2516 ทำให้เขาเรียนที่นี่ไม่จบ
หลังจากเหตุการณ์ทางด้านการเมืองคลี่คลาย เขาได้เข้าศึกษาต่อจนจบปริญญาตรีสาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พร้อมกับช่วยกิจการแพปลาของที่บ้านในจังหวัดชุมพร ในฐานะพี่ชายคนโต
การกระโดดเข้ามาจับอุตสาหกรรมผลิตลูกถ้วยไฟฟ้าของเขาเกิดขึ้นโดยบังเอิญ สมัยเมื่อกว่า 20 ปีก่อน ไฟฟ้าในต่างจังหวัดมักจะดับบ่อยๆ ทำให้เขาต้องตั้งคำถามอยู่ในใจ และเมื่อมีโอกาสได้พูดคุยกับพนักงานจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำให้ได้ทราบว่าลูกถ้วยไฟฟ้า ซึ่งในสมัยนั้นต้องนำเข้ามาจากประเทศจีน ไม่ได้มาตรฐาน จึงเป็นต้นเหตุของไฟดับ
ทำให้เขามีความรู้สึกว่า อุปกรณ์ชิ้นนี้มีความจำเป็นสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และที่สำคัญเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตในประเทศไทยได้เอง โดยไม่ต้องนำเข้า
เขาได้วางมือจากธุรกิจแพปลาให้น้องๆ เป็นผู้ดูแล และเริ่มมาตั้งโรงงานผลิตลูกถ้วยไฟฟ้าแห่งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2524
ตลอดเวลากว่า 10 ปี ในช่วงแรกหลังตั้งโรงงาน เขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่กับการสรรหากรรมวิธีพัฒนาสินค้าตัวนี้ โดยได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้ามาช่วยกันทำวิจัยเพื่อหาส่วนผสมของวัตถุดิบ ซึ่งเป็นดินจากแหล่งต่างๆ ทั้งภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศ จนได้ส่วนผสมและขั้นตอนที่ลงตัว ทำให้ลูกถ้วยไฟฟ้าของ AI ได้รับการยอมรับจากลูกค้ารายใหญ่ คือการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง
ปัจจุบัน AI กลายเป็นผู้ผลิตลูกถ้วยไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศไทย ส่วนตัวของณรงค์เองก็ได้มีโอกาสศึกษาต่อจนจบระดับปริญญาโท MBA จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงเรียนจบจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปรอ.4313) และกำลังจะนำหุ้นของบริษัทที่เขาสร้างขึ้นมาเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
|
|
|
|
|