Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547
โมบายไลฟ์แอนด์เดอะแก๊ง             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 


   
www resources

AIS Homepage
SC MATCHBOX Home Page
mobile life

   
search resources

แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส, บมจ.
SC MATCHBOX
Mobile Phone
เกศินี คุณทรัพย์




เบื้องหลังคาแรกเตอร์การ์ตูนทั้ง 6 ของโมบายไลฟ์แก๊ง คือบุคลิกใหม่ของโมบายไลฟ์ที่มาจากแรงบันดาลใจ ความนิยมในโมเดลการ์ตูน
หลังจากประเมินแล้วว่าบริการโมบายไลฟ์ยังขาดบุคลิกที่ชัดเจน ยากต่อการจดจำและความเข้าใจของลูกค้า เอไอเอสจึงลงมือผ่าตัดสร้างบุคลิกใหม่ โดยมีเอเยนซี่คู่ใจ "SC Matchbox" เป็นผู้รับไอเดียไปปฏิบัติ

"เริ่มคิดมาตั้งแต่ 3-4 เดือน นอก จากบุคลิกไม่ชัดแล้ว ตัวบริการที่มีนับ 100 ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่สักเท่าไร" เกศินี คุณทรัพย์ ครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ บริษัท SC Matchbox บอก

บริการกว่า 100 ชนิดภายใต้สโลแกน "บริการไร้ขีดจำกัด" ที่เคยถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทสินค้า Pro-plus-basic ถูกนำมา จัดหมวดใหม่ แบ่งออกเป็น 6 หมวด โดยยึดไลฟ์สไตล์ของลูกค้าเป็นหลัก

"พอแบ่งหมวดหมู่ได้แล้ว ขั้นต่อไป ต้องหาตัวแทนสะท้อนบุคลิกของบริการ เพื่อสร้าง positioning ของแต่ละหมวดบริการ"

กระแสของการ์ตูนแอนิเมชั่นบวกกับความนิยมคอลเลกชั่นสะสม "Model" หุ่นการ์ตูนนิยมทั้งในฮ่องกงและสิงคโปร์ และแพร่มาถึงเมืองไทย เป็นแรงบันดาลใจ ทำให้ทีมงานกลุ่มนี้ตัดสินใจเลือกคาแรกเตอร์การ์ตูนมาเป็น presenter เพื่อสะท้อน รูปแบบบริการทั้ง 6 หมวด

"เป็นแนวโน้มของวงการกราฟิกดีไซเนอร์ ที่มีการดีไซน์คาแรกเตอร์ ฮ่องกง และสิงคโปร์ มี artist ที่ประกอบอาชีพคิดคาแรกเตอร์โดยเฉพาะ เพราะคนนิยมสะสม เราก็ inspire ไปกับเขา เพราะคาแรกเตอร์ พวกนี้สามารถประยุกต์เข้ากับสินค้าของเราได้"

Mac หนุ่มอ้วนผู้คลั่งไคล้การกิน เล่นเกม เป็นตัวแทนกลุ่ม funlife และ Molly หญิงสาวเทรนดี้ เก่ง เก๋ เปรี้ยวชอบใช้ชีวิตแบบมีสไตล์ กิน ดื่ม เป็นตัวสะท้อนบริการ ท่องเที่ยว แฟชั่น

Krit เป็นตัวแทนของนักธุรกิจหนุ่ม ส่วน Ken หนุ่มนักกีฬาที่ไม่มีอะไรถูกใจเท่ากับ Sport channel ส่วน Doc เป็นเด็ก อัจฉริยะ ชื่นชอบข้อมูลข่าวสาร และ Boo Boo สัตว์เลี้ยงสมองกล ชื่นชอบการสื่อสาร ผ่าน sms, mms, e-mail

"คาแรกเตอร์" การ์ตูนทั้ง 6 โลดแล่นอยู่บนภาพยนตร์โฆษณา แผ่นป้ายโปสเตอร์ แต่ภารกิจของพวกเขายังไม่จบ สิ่งที่พวกเขาต้องทำต่อไปคือการสร้างให้การ์ตูนเหล่านี้เข้ามาอยู่ในความทรงจำของผู้ใช้ทั่วไป

"ถ้าเห็น "Molly" ที่ไหน ต้องนึกถึง แฟชั่นหรือไลฟ์สไตล์ ถ้าเป็นกีฬาก็ต้องเป็น "Ken" นี่คือโจทย์ของพวกเขา

แม้จะเป็นคาแรกเตอร์การ์ตูน แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกที่แมกกาซีนบางเล่มจะมี "Molly" ไปเป็นคอลัมนิสต์แนะนำการแต่งตัว หรือ hip hotel หรือแม้แต่ไปเป็นนางแบบขึ้นปกนิตยสารแฟชั่น ซึ่งเวลานี้เจรจากับ "แพรวสุดสัปดาห์" คู่กับนายแบบ หนุ่มชื่อดัง

พวกเขาเชื่อว่าคาแรกเตอร์การ์ตูนเหล่านี้ยัง "ต่อยอด" ไปเป็นเกมในโทรศัพท์มือถือ เริ่มจากการทำเป็นสินค้าพรีเมียม เช่น พวงกุญแจ หัวปากกา หรือแม้แต่นำไปเป็นตัวการ์ตูนบนแผ่นฟิล์ม

"ต่อไป Molly อาจเป็นผู้นำแฟชั่นที่นักศึกษาอาจใส่เสื้อผ้าตามก็ได้ หรือเราอาจทำกิจกรรมการตลาด ส่ง MMS ครบ จะได้โมเดลคาแรกเตอร์ไปสะสม เป็นกิมมิค การตลาด

การลุกขึ้นมาสร้างบุคลิกใหม่ให้กับบริการ "โมบายไลฟ์" ของเอไอเอสในครั้งนี้ เป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับการแข่งขันในธุรกิจ non-voice ดีกรีการแข่งขันมากขึ้นเรื่อยๆ จากความเคลื่อนไหวของ TA Orange ที่จับมือกับ SK Telecom เชื่อว่า DTAC ที่กำลังซุ่มเงียบเตรียมความพร้อมสำหรับบริการ

สุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ ผู้อำนวยการ สำนักธุรกิจการให้บริการสื่อสารไร้สายเอไอเอสเชื่อว่า การสร้างบุคลิกใหม่ด้วยภาษาการตลาดแบบง่ายๆ จะช่วยให้ "โมบายไลฟ์" มีความชัดเจน ใกล้ชิดกับลูกค้า มากขึ้น ซึ่งสะดวกต่อการสร้างโปรโมชั่นหรือแม้แต่การเพิ่มบริการใหม่ในอนาคต

ตัวเลขรายได้ของบริการโมบายไลฟ์ ไตรมาสแรกปี 2547 มีรายได้ 1,826 ล้านบาท เอไอเอสคาดหมายว่าตลอดทั้งปีนี้จะทำรายได้ไม่ต่ำกว่า 7,500-8,000 ล้านบาท

ความคาดหมายนี้มาจากตัวเลขบริการที่เพิ่มขึ้น เฉพาะผู้เข้าใช้บริการโมบายไลฟ์ พลาซ่า ถึงสิ้นปีที่แล้ว 480,000 ราย เมื่อเดือนเมษายน 2547 อยู่ที่ 1 ล้านราย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us