Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547
TTL Zone ไม่ขายแต่ให้ฟรี ๆ             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
 

   
related stories

ย่ำแดนกิมจิ เปิดโลก "มัลติมีเดียไร้สาย"

   
www resources

SK Telecom Homepage

   
search resources

เอสเค เทเลคอม




ไม่ใช่อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่ไหน TTL Zone เป็นร้านที่ SK Telecom ลงทุนสร้างขึ้นเพื่อให้ลูกค้าของบริการ TTL มาใช้บริการ ซึ่งเป็นลูกค้าวัยรุ่นอายุเฉลี่ย 20 ปี ไว้ใช้เป็น "hang out" ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต จิบน้ำชากาแฟ

TTL เป็นโปรแกรมการตลาด ที่ SK Telecom คิดขึ้นในปี 2542 เพื่อปรับภาพลักษณ์เดิมที่ดูหรูหราเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นนักธุรกิจจนถูก คู่แข่งอย่าง KTF ช่วงชิง ลูกค้าในกลุ่มวัยรุ่นไป จนต้องคิดโปรแกรม TTL ขึ้นใหม่เพื่อขยายไปยังลูกค้าวัยรุ่น

ภาพลักษณ์ของ TTL ถูกกำหนด ให้มีบุคลิก young, lively (มีชีวิตชีวา) motive (ทันสมัย เร้าใจ) และ energetic (มีพลังกระตือรือร้น) SK Telecom ศึกษามาแล้วว่า เข้ากับพฤติกรรมความ ชอบของคนในวัย 20 ปี สำหรับเกาหลีแล้ว วัยนี้มีพลังและอิสระทางความคิด ก้าวจากเด็กสู่ความเป็นผู้ใหญ่

ร้าน TTL Zone มีทั้งหมด 8 แห่ง รอบกรุงโซล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อสร้าง "แบรนด์อิมเมจ" ที่ว่านี้โดยเฉพาะ

ภายในร้านได้รับการตกแต่งอย่างดี สอดคล้องกับบุคลิกของแบรนด์ ไม่มีมุมใดในร้านที่ขายสินค้าหรือบริการของ TTL แต่มีไว้ให้สมาชิกของ TTL มาใช้ "บริการ" ดูหนัง ฟังเพลง เล่นอินเทอร์เน็ต ได้ฟรี

หากไม่อยากท่องอินเทอร์เน็ต สามารถยืมแผ่นซีดีหรือภาพยนตร์มานั่งดู ช่วงเย็นศุกร์-เสาร์ นำภาพยนตร์มาฉายให้ชมเป็นพิเศษ หากเป็นคอหนังประเภท "อินดี้" มีมุมพิเศษด้านใน เปิดโอกาสให้นักศึกษา หรือผู้กำกับหนังหน้าใหม่ ใช้เป็น สถานที่เปิดตัวหรือแนะนำภาพยนตร์ จัดเทศกาลภาพยนตร์ย่อมๆ

สถานที่ตั้งของร้านต้องเหมาะสม ต้องเป็นโซนสำหรับ "วัยรุ่น" เช่น ร้าน TTL แห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณชั้นล่างสุดของห้างสรรพ สินค้า "COEX Mall" เป็นที่ตั้งโรงภาพยนตร์ ใกล้กับ Sony Play Station และขนาบข้างด้วยร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่

ร้านเปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงเที่ยง คนใช้บริการยังไม่มาก แต่ก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตลอดเวลา แต่ไม่ถึงกับหนาแน่น อินเทอร์เน็ตโซนจะมีผู้ใช้บริการมากเป็นพิเศษ

ทุกวันนี้ TTL มีสมาชิกใช้บริการ 9 ล้านราย มีคนมาใช้บริการ 2,500 คนต่อวัน เฉลี่ยการใช้บริการ 1-2 ชั่วโมงต่อคน นับเป็นยุทธวิธีในการสร้าง Brand Image ที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นได้ดี ส่วนจะนำมาให้บริการในไทยหรือไม่ คำตอบมีแล้ว

"ไอเดียดี แต่ก็เหมาะสำหรับโอเปอ เรเตอร์ที่ฐานลูกค้ามากๆ อย่าง TTL อย่างออเร้นจ์มีลูกค้าแค่ 2 ล้านคน ลงทุนขนาด นี้คงไม่คุ้มเท่าไรนัก" ศุภชัย เจียรวนนท์ ซีอีโอ ทีเอ ออเร้นจ์ บอก

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าเวลานี้ลูกค้าของออเร้นจ์คงยังไม่ได้สัมผัสกับร้าน TTL แบบนี้แน่ แต่อนาคตไม่แน่หากฐานลูกค้า มีมากพอ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us