|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2547
|
|
อีกหนึ่งงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน คืองานมหกรรมนวัตกรรมพลังงาน-ยานยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 หรือ ที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Thailand 1st Innovative Energy-Vehicle Challenge (Tinnec) ซึ่งจัดงานแถลงข่าวเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา
มหกรรมนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างบริษัทระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) และกระทรวงที่เกี่ยวข้องอีก 4 แห่ง ได้แก่กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสากรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา เพื่อเป็นการกระตุ้นจิตสำนึกการประหยัดพลังงานและการพัฒนานวัตกรรม
จุดเริ่มต้นของการจัดงานเกิดจากการเข้าไปสนับสนุนนักแข่ง รถกลุ่มหนึ่งของ RPC เมื่อปีที่แล้ว พร้อมกับการมีโอกาสไปชมการแข่งขัน Formula 1 ที่มาเลเซียของศุภพงษ์ กฤษณกาญจน์ ประธานกรรมการบริหาร RPC ที่ทำให้เห็นว่าการแข่งรถในเมืองไทย นั้นแตกต่างจากประเทศอื่นอยู่มาก ทั้งในเรื่องของจำนวนผู้ชม และ sponsor ที่ให้การสนับสนุน จึงเกิดคำถามตามมาว่า "ทำอย่างไรให้กิจกรรมแข่งรถเป็นที่นิยม มีผู้ดู มีผู้สนับสนุน?" เพื่อเป็นการจุดประกายการพัฒนานวัตกรรมที่เป็นจริงได้ในประเทศ
เมื่อเวลาผ่านไปกอปรกับกระแสประหยัดพลังงานเริ่มเป็นที่แพร่หลาย งานนี้จึงได้ดึงผู้มีส่วนร่วมรายอื่นๆ เข้ามา เนื่องจากเห็นว่าเรื่องของพลังงาน เรื่องของนวัตกรรมและยานยนต์ เป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เป็นที่มาที่ไปที่ทำให้งานมหกรรมนวัตกรรมพลังงาน-ยานยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 ที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้มีการกำหนดกิจกรรมที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการจัดงานได้อย่างกลมกลืน
ขั้นแรกคือการสร้าง awareness ในวงกว้างผ่านกิจกรรมประกวดวาดภาพดินสอสี ในหัวข้อ "พลังงานทดแทนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต" โดยให้เด็กชั้นประถม 4 ถึงมัธยม 3 มีการพูดคุยกับที่บ้าน เพื่อให้ทุกบ้านตระหนักถึงความสำคัญของการมีความคิดใหม่ๆ ในเรื่องนวัตกรรม พลังงาน และยานยนต์
ขั้นต่อมาคือการกำหนดความคิดให้เป็นระบบ ผ่านกิจกรรมประกวดวาดรูปประกอบการเขียนคำอธิบายและคำนวณของนักเรียน ชั้นมัธยมปลายถึงระดับอุดมศึกษา เพื่อให้สามารถคิดให้เป็นกระบวน การและสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ขั้นที่สามคือการกำหนดกรอบการพัฒนาและกรอบการวัดผล โดยอาศัยการแข่งรถพลังงานทางเลือก 3 ประเภท ได้แก่ รถไฟฟ้า รถไบโอดีเซล และรถประดิษฐ์ ซึ่งจะจัดขึ้นที่สนามพีระ เซอร์กิต พัทยา ในวันที่ 25 กันยายนนี้ โดยก่อนวันแข่งหนึ่งวันจะมีการนำรถพลังงาน ทางเลือกที่ประดิษฐ์ขึ้นทั้งหมด ออกวิ่งจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ผ่านบริเวณที่จะก่อสร้าง Energy Park อำเภอสัตหีบ ผ่านหาดจอมเทียน ก่อนเข้าสู่สนามแข่ง เพื่อเป็นการสร้าง awareness ให้การพัฒนาเป็นที่รู้จัก
ส่วนขั้นตอนสุดท้ายเป็นเรื่องของการนำผลสรุปที่ได้มาจัดเป็นนิทรรศการ ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นในวันที่ 2-3 ตุลาคม ที่ The Mall บางกะปิ ซึ่งเหตุที่เลือกสถานที่แห่งนี้เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่าย มีประชาชนจำนวนมากในบริเวณนั้น ภายในงานจะมีการสัมมนา วิชาการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เช่น นักประดิษฐ์จะได้อะไรหากมีผู้สนับสนุน จะมีวิธีเข้าถึงนักลงทุนได้อย่างไร ภายใต้กรอบ "Inventor Meets Investor"
"นี่ไม่ใช่แค่ trade show แต่จะเป็น floor ที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่เป็นจริงและยั่งยืน" ศุภพงษ์บอกเป็นการปิดท้าย
|
|
|
|
|