Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ สิงหาคม 2547








 
นิตยสารผู้จัดการ สิงหาคม 2547
ทางเลือกใหม่ของผู้ใช้ไฟ             
 


   
search resources

Energy
โซลาร์ตรอน, บมจ.
วันดี กุญชรยาคง
สมศักดิ์ กุญชรยาคง




จากสถานการณ์ราคาน้ำดิบที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากมาตรการประหยัดพลังงานที่กำลังมีการรณรงค์กันอย่างขะมักเขม้นแล้ว พลังงานทดแทน (renewable energy) ดูจะเป็นทางเลือกหนึ่งที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจ ทั้งในระดับภาครัฐและภาคเอกชน

โดยรัฐบาลประเทศต่างๆ ได้กำหนดค่า RPS (Renewable Portfolio Standard) ซึ่งเป็นนโยบายที่ใช้ในการกำหนดสัดส่วนพลังงานทดแทน ที่จะนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนในแต่ละประเทศ ซึ่งรัฐบาลไทยได้กำหนด RPS ไว้ที่ 4% หรือคิดเป็น 1,840 เมกะวัตต์ (MW) ภายในปี 2554

หมายความว่าภายในปี 2554 ทุกๆ 100 หน่วยของกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นในประเทศไทย จะต้องมีอย่างน้อย 4 หน่วย ที่ผลิตจากพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟืน ถ่านไม้ แกลบ ชานอ้อย ลม น้ำ แต่ที่น่าจะเหมาะสมสำหรับประเทศในเขตร้อนอย่างไทยมากที่สุด ก็น่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ (solar)

อาศัยจังหวะที่หลายฝ่ายกำลังให้ความสนใจเรื่องน้ำมันราคาแพง บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ก่อตั้งมานานเกือบ 20 ปี และมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 80% อย่างบริษัทโซลาร์ตรอน ได้ออกมาสร้างความเคลื่อนไหว ด้วยการจัดงานแถลงกลยุทธ์ นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี โดยมีวันดี กุญชรยาคง กรรมการผู้จัดการ และสมศักดิ์ กุญชรยาคง รองกรรมการผู้จัดการ เป็นผู้แถลง

ภาพโดยรวมของงานเป็นการชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของระบบผลิตไฟฟ้า และการนำระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ในงานประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบสูบน้ำ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบประจุแบตเตอรี่ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบผสมผสานแหล่งพลังงาน (Solar Hybrid System) ระบบไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ และระบบไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อบ้านพักอาศัย (Solar Home System) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำไปใช้ในพื้นที่ที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง

ล่าสุด บริษัทโซลาร์ตรอน เป็นผู้ชนะงานประมูลติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในโครงการเร่งรัดขยายบริการไฟฟ้าให้กับหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ 150,000 หลังคาเรือน

แต่ส่วนที่น่าจะเป็นตัวเอกสำหรับงานนี้คือระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อสายส่ง (Grid Connected System) ที่ถือเป็นทางเลือกของผู้ที่มีไฟฟ้าใช้อยู่แล้ว แต่ต้องการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบ Grid Connected System เปรียบเสมือนเป็นโรงผลิตไฟฟ้าขนาดย่อมๆ โดยระบบจะผลิตไฟฟ้าเพื่อขายคืนให้กับการไฟฟ้าในตอนกลางวัน และซื้อกลับในตอนกลางคืน โดยมีมิเตอร์ซื้อและมิเตอร์ขายแยกออกจากกัน เมื่อถึงเวลาสิ้นเดือน การไฟฟ้าฯ ก็จะทำการหักลบยอดขายและยอดซื้อไฟ สำหรับครัวเรือนนั้นๆ

หากยอดขายไฟมีมากกว่ายอดซื้อ เจ้าของบ้านก็จะได้รับเงินส่วนเกินคืนจากการไฟฟ้าฯ

ปัจจุบันระบบ Grid Connected System เป็นที่นิยมใน ประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเช่น ญี่ปุ่น และเยอรมนี ในประเทศญี่ปุ่น มีการติดตั้งระบบนี้ไปแล้วกว่า 300,000 ครัวเรือน สำหรับประเทศไทยยังคงอยู่ในระยะแรกเริ่ม และคาดหวังว่าจะเป็นที่ยอมรับในอนาคตอันใกล้ ปัจจุบันยังติดปัญหาเรื่องระบบมีราคาค่อนข้างสูง

"เมืองไทยมีแสงแดดเฉลี่ยมากกว่าประเทศอื่นๆ ระยะเวลาคืนทุนน่าจะเร็วกว่า 8 ปี" วันดีบอก

ถือเป็นพลังงานทดแทนที่คนไทยสามารถพึ่งพิงได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us