|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2547
|
 |

ขณะที่ศูนย์วิจัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลก กำลังให้ความสนใจในเรื่อง นาโนเทคโนโลยี (nanotechnology) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คาดว่าจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษยชาติ ในอนาคตอันใกล้
โครงการวิจัยนาโนเทคโนโลยีกับการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาแผงวงจรไฟฟ้าชนิดยืดหยุ่นหรือโค้งงอได้ (flexible printed circuit) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคาตาไลซิส และวิศวกรรมปฏิกิริยาที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท Mek Tec Manufacturing Cooperation (Thailand) Ltd. จึงถือกำเนิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นโครงการ แรกของการพัฒนาด้านนาโนเทคโนโลยีในประเทศไทยแล้ว ยังถือเป็นต้นแบบของโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและภาคเอกชน
โดยได้มีการลงนามข้อตกลงไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2547 ที่อาคารจามจุรี 4 สำนักงานมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นาโนเทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีของโลก เป็นเรื่องของการสร้างหรือผลิต (manu-facturing) ชิ้นส่วนใดๆ ในระดับอะตอม ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีขนาด เล็กในระดับนาโนเมตร (1 ในหนึ่งพันล้านส่วนของ 1 เมตร) โดย ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสังเกตและควบคุมอนุภาคเหล่า นั้นได้แล้ว แต่การพัฒนายังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการคิดค้นเครื่องมือและเทคนิคที่สามารถถ่ายทอดนาโนเทคโนโลยี จากแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ไปสู่การนำไปใช้งานในเชิงพาณิชย์
ซึ่งในที่สุดการผลิตโดยนาโนเทคโนโลยีนั้น (molecular manufacturing) จะเข้าไปทดแทนการผลิตแบบอัตโนมัติที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน (conventional automated manufacturing) คือมีการเก็บชิ้นส่วน เคลื่อนย้ายชิ้นส่วน ประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วย กัน และเคลื่อนย้ายชิ้นงานที่ประกอบเสร็จ โดยอาศัยการทำงาน ของระบบเซ็นเซอร์และคอมพิวเตอร์ แต่ข้อแตกต่างของการผลิต โดยนาโนเทคโนโลยีนั้น หน่วยวัดต่างๆ จะเป็นไปในระดับนาโนเมตร
เมื่อเราสามารถสร้างชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กมากๆ ประโยชน์ ที่ได้รับคือเราสามารถรีไซเคิลทุกชิ้นส่วนที่เหลือจากการผลิต ซึ่งจะทำให้การผลิตนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้เราสามารถผลิตชิ้นงานที่มีขนาดเล็กเพื่อส่งขึ้นไปในอวกาศ ทำให้เราสามารถเก็บข้อมูลลงในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้มากยิ่งขึ้น และการนำไปใช้ในแบบอื่นๆ อีกมากมาย
ถือเป็นการเอาชนะข้อจำกัดในเรื่องขนาดและน้ำหนักที่ประสบพบอยู่ในปัจจุบัน
แผงวงจรไฟฟ้าชนิดยืดหยุ่นหรือโค้งงอได้ เป็นชิ้นส่วนประกอบสำคัญในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ชนิดพกพา เป็นชิ้นส่วนที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างแผงวงจรไฟฟ้าต่างๆ ในเครื่องใช้แต่ละชนิด มีข้อดีในเรื่องน้ำหนักเบาและมีราคาถูก แต่ยังคงถูกใช้เป็นเพียงตัวเชื่อมสัญญาณไฟฟ้าเพียงเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงเราอาจนำชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ หรือวงจรรวม ไปติดบนแผงวงจร ไฟฟ้าชนิดยืดหยุ่นได้เหล่านั้น เพื่อการใช้งานที่มากกว่า แต่ติดปัญหาเรื่องเทคโนโลยีการผลิตที่ไม่สามารถทำได้ในปัจจุบันโครง การวิจัยนี้จึงเกิดขึ้น
งบโครงการวิจัยนี้ตั้งไว้ที่ 130 ล้านบาท ภายใต้กรอบเวลา 5 ปี ถือว่าเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดของโครงการความร่วมมือ ระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาในไทย โดยผลต่อเนื่อง คือการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของสถาบันการศึกษา ให้ทัดเทียมนานาชาติที่เจริญแล้วในเรื่องนาโนเทคโนโลยี
|
|
 |
|
|