|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ สิงหาคม 2547
|
|
Tiger ถือเป็น Flagship brand ของเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด (สิงคโปร์) หรือ APB ผู้ถือหุ้นในไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ (TAPB) 35% จากความสำเร็จในระดับโลกของ Tiger ที่ไปพาดลายไว้กว่า 60 ประเทศ ณ บัดนี้ถึงเวลาย่ำถิ่นสิงห์ในไทยแล้ว
TAPB เดินเครื่องกำลังการผลิตพร้อมส่ง Tiger ลงสังเวียน ตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
จากมูลค่าตลาดเบียร์โดยรวม 80,500 ล้านบาท จำนวน 9,000 ล้านบาท เป็นของเซ็กเมนต์เบียร์สแตนดาร์ด ซึ่งมีสิงห์เพียงเจ้าเดียวที่ครอบครองอยู่ TAPB เฝ้ามองให้สิงห์ลอยนวลแบบ 100% เช่นนี้มาตลอด ครั้งนี้จึงขอร่วมชิงชัยบ้างพร้อมประกาศศักดาคว้ายอดขาย 1,000 ล้านบาท ภายในสิ้นปีหน้าโดยใช้งบการตลาด 300 ล้านบาท
"Tiger จับกลุ่มเป้าหมายชายหญิงอายุ 23-35 ปี ในเขตเมือง ผู้รักความท้าทายและมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จตามแบบฉบับของตนเอง และเชื่อว่าด้วยรสชาติที่นุ่มละมุนชวนดื่มจะทำให้ Tiger ติดตลาดในเวลาอันรวดเร็ว"
อันที่จริง Tiger ไม่ได้ถูกวางตำแหน่งเป็นคู่ต่อกรของสิงห์เท่านั้น แต่หากล่วงล้ำเข้าไปถึงเซ็กเมนต์เบียร์พรีเมียมที่มี Heineken เป็นเจ้าตลาดอยู่ ปัญญา ผ่องธัญญา ผู้จัดการทั่วไปของ TAPB มองว่า Tiger จะเข้าไปเก็บส่วนแบ่งของ Carlsberg ที่หยุดทำการตลาดไป และไม่เป็นการแย่งส่วนแบ่งกันเองกับ Heineken" เราเชื่อว่า Tiger คือทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการเบียร์คุณภาพสูงในราคาที่คุ้มค่า" ขณะที่เบียร์พรีเมียมอื่นๆ อย่าง Mitweida และ Asahi ยังคงเงียบงัน
เพลานี้สิงห์เตรียมกรำศึกรอบด้าน ทั้งจาก Tiger และล่าสุดจากช้างที่ upgrade ชนสิงห์อย่างจัง พร้อมส่งอาชา บี้ Leo พี่น้องตระกูลบุญรอดของสิงห์ ในตลาดเบียร์อีโคโนมี่ ขณะที่อีกไม่นานทาง TAPB จะส่งแบรนด์ลำดับ 3 ของค่ายสู่ตลาดอีโคโนมี่ด้วย
ความดุเดือดของตลาดเบียร์ที่ปะทุขึ้นกลางปีนี้จะยืนยาวไปอีกนาน ตราบเท่าความเชื่อของกลุ่มลูกค้าที่ว่า แอลกอฮอล์คือสัญลักษณ์แห่งความรื่นเริงบันเทิงใจ พอๆ กับเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยบำบัดทุกข์ทางใจยังคงอยู่
ไม่เชื่อรอดูสีสันจากลานเบียร์ปลายปีนี้
|
|
|
|
|