Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กรกฎาคม 2547
"สมคิด" ขีดเส้นบินไทยปรับใหญ่             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
ท่าอากาศยานไทย, บมจ.
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ทนง พิทยะ
กนก อภิรดี
ศรีสุข จันทรางศุ
Aviation




"สมคิด" สั่งการบินไทยทำตลาด เชิงรุก ดันแข่งขันในตลาดโลก ฟุ้งการเงินแข็งแกร่ง กำไร ยกฐานะเป็นหัวหอกด้านขนส่งของประเทศ หนุนการท่องเที่ยวไทย ดีเดย์ มี.ค. 48 ปรับโฉมครั้ง ใหญ่ก่อนเปิดสุวรรณภูมิ หนุนแผนซื้อฝูงบินใหม่ 14 ลำ ชี้สอดรับตัวเลขรายได้ กำไร สัดส่วนหนี้สินต่อทุน "ทนง" ตั้งเป้าติด 1 ใน 5 สายการบินชั้นนำของโลกเร่งตั้งแอร์คาร์โก้แตกไลน์ธุรกิจเพิ่มรายได้

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมและฟังบรรยายสรุป เรื่อง "PROACTIVE EXPANSION FOR BETTER PERFORMANCE" ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) วานนี้ (29 ก.ค.) ว่ารัฐต้องการให้การบินไทยเป็นแกนนำในการขนส่ง ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะด้าน Logistic เพื่อลดต้นทุน การขนส่งของประเทศ เพราะมีการเงินที่แข็งแกร่ง เป็นตัวเชื่อมโยงกับขนส่งในด้านอื่นได้ ซึ่งขณะนี้ การบินไทยได้ผ่านการปรับปรุงระยะแรกทำให้มีฐานะการเงินที่แข็งแกร่งมากขึ้นจากเดิม ซึ่งหากในอนาคตไม่มีการลงทุนใดๆเลยหนี้สินต่อทุนจะอยู่ที่ 0.3-0.4 ต่อ 1 ซึ่งต่ำมาก จึงต้องการให้ก้าวสู่การพัฒนาในระดับต่อไปคือ การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านการบิน ด้าน Logistic

โดยจากแผนระยะยาว 5 ปี (2548/2549-2551/2552) ซึ่งคณะกรรมการ (บอร์ด) ได้อนุมัติแผนจัดหาฝูงบินเพิ่มอีก 14 ลำ ซึ่งจะรับมอบครบใน 4-5 ปีข้างหน้า ประกอบกับเครื่องบิน 8 ลำที่ซื้อไว้ก่อนหน้านี้จะรับครบในปีหน้า รวมถึงแผนปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องบินทั้งหมด จะเสริมสมรรถนะของการบินไทยให้มีความพร้อมมากขึ้น ซึ่งตั้งเป้าว่าในเดือนมีนาคม 2548 จะพบกับการปรับโฉมครั้งใหญ่ของการบินไทยตั้งแต่ภายนอกไปถึงภายในทั้ง โลโก้ เครื่องแบบพนักงาน ด้านอาหาร เพื่อผลักดันเข้าสู่การแข่งขันของตลาดโลกให้ได้ใน 3 ปี โดยเน้น ทั้งการขนส่งผู้โดยสาร สินค้าและธุรกิจอื่นๆ เช่น ครัวการบิน การซ่อมบำรุง ซึ่ง 6 เดือนแรกปี 47 นี้การบินไทยมีกำไรแล้ว 13,000 ล้านบาท

"การบินไทยจะเป็นหัวหอกด้านขนส่ง เหมือนปตท.ที่เป็นแกนนำด้านพลังงาน และเป็นส่วนสำคัญหนุนการท่องเที่ยว ซึ่งในปี 2010 จะมีนักท่องเที่ยวประมาณ 4 ล้านคนต่อปี และในวันที่ 21-22 ส.ค.นี้ จะมีการประชุมเวิร์กชอป 11 รัฐวิสาหกิจ โดยในด้านการขนส่ง Logistic การบินไทยจะต้องคุยกับสายการบินอื่นๆ เพื่อหาจุดร่วมในด้านการบิน เพื่อเพิ่มความจุ ลดค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการเป็นฮับอย่างแท้จริง"

ตั้งแอร์คาร์โก้เพิ่มรายได้

นายทนง พิทยะ ประธานคณะกรรมการ บริษัท การบินไทยกล่าวว่า 2 ปีที่ผ่านมาการบินไทยพยายาม ทำทุกอย่างโดยเฉพาะการปรับปรุงด้านอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อให้เป็นสายการบินชั้นนำ 1 ใน 5 ของเอเชียและใน 2 ปีข้างหน้าจะพยายามเป็น 1 ใน 5 ของโลก โดยในมีนาคม 2548 ก่อนเปิดสนามบินสุวรรณภูมิจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกันในเดือนสิงหาคมนี้จะเริ่มลงรายละเอียดด้านการขนส่งสินค้า (AIR CARGO) และน่าจะเริ่มให้บริการได้ในมีนาคม 2548 นอกจากนี้จะศึกษาธุรกิจเพิ่มเติมอื่นๆ ที่สามารถ ทำรายได้เพิ่ม

สำหรับการจัดหาฝูงบินใหม่ 14 ลำนั้นเรื่องเงิน ทุนไม่มีปัญหา โดยจะใช้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ไลบอร์ 8 และมีการกระจายความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนทั้ง ดอลลาร์ เยน และบาท โดยเป้าหมายรายได้จากแผน 5 ปี ที่มีการจัดหาฝูงบินเพิ่มอีก 14 ลำ จะทำให้การ บินไทยมีรายได้เพิ่มจากปัจจุบัน 130,000 ล้านบาทต่อปี เป็น 200,000 ล้านบาทต่อปี และมีกำไรประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี เป็นสายการบินที่มีรายได้ดีที่สุด ส่วนหนี้สินต่อทุนจะอยู่ที่ประมาณ 1.4-1.5 ต่อ 1 ซึ่งอยู่ในกรอบ 2 ต่อ 1

"รายได้จะค่อยๆ เพิ่ม จนปีที่ 5 น่าจะถึง 200,000 ล้านบาท ส่วนเครื่องบิน 14 ลำนั้น ตอนนี้ชัดเจนแล้วคือ แอร์บัส A380/6 ลำ เพราะขนาด ใหญ่ที่สุดตอนนี้ไม่มีคู่แข่ง และ A340-500/ 1 ลำ A340-600/1 ลำ ส่วนอีก 6 ลำนั้นอยู่ระหว่างเปรียบเทียบอยู่"

เพิ่มเส้นทางบินรับฝูงบินใหม่

ด้านนายกนก อภิรดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย กล่าวว่า บริษัทมีแผนเปิดจุดบินเพิ่ม เพื่อรองรับฝูงบินใหม่ ทั้ง 8 ลำที่ซื้อก่อนหน้านี้และ 14 ลำใหม่ เช่น นิวยอร์ก มอสโก โคเปนเฮเกน โจฮันเนสเบิรก์ และอีกหลายเมืองในจีน ซึ่งมีนาคมปีหน้าจะเริ่มทดลองบินตรงไปนิวยอร์กก่อนและคาดว่าจะบินจริงได้ในเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม การลงทุนต่างๆ มีแผนที่ชัดเจนมีความโปร่งใส เพื่อให้ผู้ถือหุ้นเกิดความมั่นใจ โดยเฉพาะสัดส่วนหนี้สิน ต่อทุนนั้นจะไม่สูงกว่า 2 เท่าแน่นอน

สุวรรณภูมิสนามบินนานาชาติแห่งเดียว

นายศรีสุข จันทรางศุ ประธานคณะกรรมการ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. กล่าวถึงความคืบหน้าของการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิว่า ขณะนี้คืบหน้ากว่าร้อยละ 70 เชื่อว่า การก่อสร้างจะเสร็จตามกำหนดในวันที่ 31 มีนาคม 2548 และเปิดใช้ได้ในวันที่ 29 กันยายน 2548 ตามแผน แต่ยอมรับว่างานบางส่วนอาจล่าช้าบ้าง แต่จะไม่กระทบกับภาพรวม และในวันที่ 28 กันยายน 2547 นี้จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ณ บริเวณก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งจะรายงานถึงผลและปัญหาในการก่อสร้างของงานต่อครม.ด้วย

"ตามนโยบายของรัฐบาลต้องการให้ประเทศไทยมีสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียว ส่วนสนามบินดอนเมืองก็จะดำเนินการปรับปรุงให้เป็นศูนย์ซ่อม เครื่องบิน และอาจจะเป็นศูนย์ฝึกบินของกองทัพอากาศ ซึ่งคาดว่าทุกสายการบิน เช่น สายการบินนานา ชาติ หรือโลว์คอสต์ แอร์ไลน์ จะมาใช้บริการในสนาม บินสุวรรณภูมิเพียงแห่งเดียว เนื่องจากการต่อเที่ยวบินเมื่อมาจากประเทศต่างๆ มาลงประเทศไทย และจะเดินทางต่อไปจังหวัดต่างๆ ก็น่าจะเป็นสนามบินที่เดียวกัน ดังนั้น จึงไม่อยากให้สนามบินในประเทศ แยกตัวออกไปให้บริการอยู่ในส่วนของสนามบินดอนเมือง"

ส่วนปัญหาราคาน้ำมันแพงนั้น นายศรีสุข มั่นใจว่าไม่กระทบต่อการก่อสร้าง เนื่องจากในแต่ละส่วนงานมีการลงนามสัญญาไปแล้ว จึงไม่คิดว่าจากปัญหาราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้การก่อสร้างหยุดชะงัก หรือภาครัฐจะต้องเสียเงินในการก่อสร้าง สูงขึ้น

สำหรับผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนปี 2547 (ต.ค. 46-มิ.ย. 47) จำนวนเที่ยวบิน5 สนามบิน มีจำนวน 217,042 เที่ยวบิน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 มีผู้โดยสาร 33,111,009 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.80 จำนวนสินค้า 809,163 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.29   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us