Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน30 กรกฎาคม 2547
สาวปมหนี้ฉาวแบงก์กรุงไทย             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
โฮมเพจ ธนาคารกรุงไทย

   
search resources

ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารแห่งประเทศไทย
กฤษดามหานคร, บมจ.
แนเชอรัล พาร์ค, บมจ.
ปรีดิยาธร เทวกุล, ม.ร.ว.
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
สุชาย เชาว์วิศิษฐ
Banking




เผยสินเชื่อกรุงไทยที่ถูกแบงก์ชาติ จับตา "กฤษดานคร-เอ็นพาร์ค" อนุมัติโดย "สุชาย เชาว์วิศิษฐ" สมัยเป็นประธานบอร์ดบริหาร เป็นเหตุให้บิ๊กแบงก์ชาติอ้างเรื่องความเสี่ยงจับผิด หวังแก้แค้นอดีตขุนคลังพี่ชาย พร้อมทำลายคู่แข่งทางธุรกิจ อย่างกลุ่มแนเชอรัล พาร์ค ตลาดหุ้นวานนี้ หุ้นที่เกี่ยวพันกับข่าวกรุงไทย ร่วงระนาว เผยสาเหตุนอกจากปัจจัยร่วมเรื่องน้ำมันแพงแล้ว ยังเป็นเพราะคู่กรณีต่างเทขายหุ้นฝ่ายตรงข้ามเพื่อล้างแค้น

แหล่งข่าวระดับสูงจากธนาคารกรุงไทย เปิดเผยกรณีที่ม.ร.ว. ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีความหละหลวม โดยมีลูกหนี้ 2-3 รายที่อาจมีความเสี่ยงเรื่องความสามารถในการชำระหนี้นั้น ลูกหนี้รายที่ว่านี้หมายถึงกลุ่ม บริษัทกฤษดามหานคร (KMC) และแนเชอรัล พาร์ค (N-PARK) ซึ่งได้รับการอนุมัติสินเชื่อโดย ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ สมัยที่ ร.ท.สุชาย เป็นประธานกรรมการบริหารของธนาคารกรุงไทย (ระหว่างเดือนเมษายน 2544-เมษายน 2546) เนื่องจากมีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้ง 2 ราย โดยเฉพาะกับ บ.กฤษดามหานคร

"ตอนที่มีการประชุมบอร์ด คุณสุชายอ้างชื่อผู้บริหารบริษัทเทเลคอมที่ใกล้ชิดกับนายกรัฐมนตรีว่า โครงการนี้ได้คุยกันเรียบร้อยแล้ว จึง ให้ที่ประชุมอนุมัติให้ทั้งๆ ที่ยังไม่มีการวิเคราะห์รายละเอียดความเป็นไปได้ของโครงการ" แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงไทยกล่าว

นอกจากนั้น การอนุมัติสินเชื่อดังกล่าว มีขึ้นในขณะที่นายวิโรจน์ นวลแข กรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ในตอนนั้นไม่ได้ร่วมประชุม เพราะเดินทางไปต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม หนี้ 2 กลุ่มดังกล่าวยังไม่เป็นเอ็นพีแอลและมีความแตกต่างในการจัดชั้นหนี้ โดยบริษัทกฤษดามหานคร ซึ่งกู้เงินผ่านบริษัทโกลเด้น เทคโนโลยี่ อินดัสเทรียล พาร์ค อยู่ในชั้นหนี้สงสัยจะสูญ ทีมตรวจสอบของธปท. ระบุว่าไม่ได้มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและเงินกู้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

ส่วนแนเชอรัล พาร์คเป็นหนี้ปกติ แต่ทีมตรวจสอบธปท.สั่งจับตาอย่างใกล้ชิดและกันสำรองเผื่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับกระแสเงินสดจาก การดำเนินงานและแหล่งเงินที่จะนำมาชำระหนี้

"หนี้แนเชอรัล พาร์คยังไม่เป็นเอ็นพีแอล แต่ ได้เกิดความเสียหายจากการเปิดเผยข้อมูลของผู้ไม่หวังดี ทำให้บริษัทไม่สามารถนำหลักทรัพย์ไปขอกู้จากสถาบันการเงินอื่นอีก" แหล่งข่าวกล่าว

แก้แค้นสุชาติ-ทำลายคู่แข่ง

แหล่งข่าวธนาคารกรุงไทยตั้งข้อสังเกตกรณี ที่ผู้บริหารของธปท.ให้ข่าว ที่เป็นผลลบกับธนาคารกรุงไทยและลูกหนี้ 2 กลุ่มดังกล่าวไม่ได้ เป็นการทำหน้าที่ตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ตามปกติ แต่มีวัตถุประสงค์ส่วนตัวที่ต้องการเล่นงาน ร.ท.สุชายน้องชายร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รองนายก รัฐมนตรี เนื่องจากสมัยที่ร.อ.สุชาติเป็นรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลังไม่สนองผลประโยชน์ เช่น การของานที่ปรึกษากองทุนรวมวายุภักษ์ กองทุนรวมที่มีมูลค่าหลายแสนล้านแต่ไม่ได้เพราะกระทรวง การคลังเลือกกลุ่มฟินันซ่าเป็นที่ปรึกษาแทน

"ตอนกระทรวงการคลังจะจัดตั้งกองทุนวายุภักษ์ก็ไปขอความช่วยเหลือจากเขา แต่พอเลือกที่ปรึกษากองทุนฯที่มีรายได้มหาศาล กลับไปเลือกฟินันซ่า ซึ่งกลุ่มแนเชอรัล พาร์ค เป็นพันธมิตรและถือหุ้น แทนที่จะเลือกบริษัททรีนีตี้ วัฒนา ซึ่งบริษัทคอมลิงค์ถือหุ้นอยู่ ทำให้เขาไม่พอใจมาก" แหล่งข่าวกล่าว

ต่อมาฟินันซ่าได้ขยายธุรกิจและขายหุ้นให้แนเชอรัล พาร์ค ขณะนี้กำลังยื่นขอเป็นธนาคาร พาณิชย์โดยควบรวมกับบริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร (BFIT) ได้กลายเป็นคู่แข่งของกลุ่มคอม-ลิงค์เต็มตัว

ความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารธปท. และ ร.อ.สุชาติ อีกเรื่องหนึ่งคือ ความขัดแย้งเรื่องการ ควบรวมกิจการธนาคารที่กระทรวงการคลังนำบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ฐานะแข็งแกร่งไปควบรวมกับธนาคารทหารไทยแทนไทยธนาคารตามที่ธปท.เสนอ

"แบงก์ชาติเสนอให้ไอเอฟซีทีมาควบรวมกับไทยธนาคาร เพราะคอมลิงค์ถือหุ้นใหญ่ไทยธนาคาร โดยนับตั้งแต่คลังเลือกทหารไทย ม.ร.ว. ปรีดิยาธรออกมาให้สัมภาษณ์ว่าจะไม่ข้องเกี่ยวกับคลังเรื่องควบรวมแบงก์อีกต่อไป"

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เป็นผู้ร่วมก่อตั้งคอมลิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทที่รับสัมปทานองค์การโทรศัพท์แห่ง ประเทศไทยในการติดตั้งและบำรุงรักษาโครงข่าย เคเบิลใยแก้วนำแสง ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท คอมลิงค์ชนะคดีพิพาทในการฟ้องร้องเรียกค่าเช่าเคเบิลใยแก้วจากองค์การโทรศัพท์ฯเป็นเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ต่อมาคอมลิงค์ขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่ปรึกษาการ เงินและธนาคาร โดยถือหุ้นใหญ่ในทรีนีตี้และธนาคารไทยธนาคาร

แหล่งข่าวจากธนาคารกรุงไทย เชื่อว่าการเปิดเผยรายงานการตรวจสอบคุณภาพหนี้ของธนาคารกรุงไทยโดยระบุชื่อลูกค้าสินเชื่ออย่างชัดเจนต่อสาธารณะ ซึ่งผิดพ.ร.บ.ธนาคารพาณิชย์ นั้น น่าจะมาจากฝ่ายตรวจสอบของธปท. โดยการ รู้เห็นเป็นใจของผู้บริหารระดับสูง

ทุบหุ้นกลุ่มโยงหนี้กรุงไทย

ราคาหุ้นของธนาคารกรุงไทย และบริษัทซึ่ง ตกเป็นข่าวว่าเป็นหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารปรับ ตัวลดลงอย่างมาก อันเป็นผลมาจากข่าวการถูกจับตาจากธปท. นอกเหนือจากปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันที่ทำให้ราคาหุ้นส่วนใหญ่ลดลง โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ผันผวน ลดลงเกือบหลุดระดับ 625 จุด ซึ่งเป็นแนวรับสำคัญ ก่อนดีดกลับมา ปิดที่ 631.42 จุด มูลค่าการซื้อขายซบเซาเพียง 11,121.62 ล้านบาท โดยหุ้นกลุ่มแบงก์ร่วงทั้งกระดาน โดยเฉพาะหุ้น KTB ซึ่งได้รับแรงกดดัน เรื่องการให้ข่าว NPL ธปท.เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้ถูกแรงเทขายออกมาอีก จนราคาวูบไปต่ำสุด ที่ 8.50 บาท ซึ่งเท่ากับราคาขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชน เมื่อวันที่ 9 ต.ค.46 แต่มีแรงซื้อเข้าดีดกลับมาปิดตลาดที่ 8.65 บาท มูลค่าการซื้อ ขาย 820.5 ล้านบาท ทั้งๆ ที่นักวิเคราะห์หลายค่ายก็ยังมีมุมมองที่ดีต่อ KTB ในเรื่องของผลการดำเนินงานที่ดี

N-PARK ราคาทรุดลงไปลึกถึง 1.88 บาท ก่อนจะกลับมาปิดที่ 1.95 บาท ลดลง 0.05 บาท หรือ 2.5% ด้วยจำนวนหุ้นที่ซื้อขายสูงถึง 48,381,400 หุ้น มูลค่า 94.311 ล้านบาท

KMC ราคาทรุดหนักกว่า N-PARK ลงไปต่ำสุดที่ 5.60 บาท แต่ดีดขึ้นมาปิดที่ 5.65 บาท ลดลง 0.25 บาท หรือลดลง 4.24% มูลค่าการซื้อ ขาย 10.6 ล้านบาท

FNS ราคาได้ลดลงไปต่ำสุดที่ 34.25 บาท และปิดที่ 34.75 บาท ลดลง 0.75 บาท หรือ 2.11% แต่มูลค่าการซื้อขายน้อยเพียง 3.533 ล้านบาท

ส่วนหุ้น TNITY ราคารูดหนักกว่าใคร โดยมีแรงขายออกมาจนทำให้ราคาทรุดติด 1 ใน 10 หุ้นที่ราคาตกมากที่สุด โดยราคาเปิดที่ 22 บาท จากนั้นลงไปต่ำสุดที่ 19.70 บาท และปิดที่ 20.10 บาท ลดลง 2.20 บาท หรือลดลง 9.87% มูลค่าการซื้อขาย 50.54 ล้านบาท

รายงานข่าวจากห้องค้าหลักทรัพย์ ระบุว่า วานนี้นับว่าเป็นวันแรกที่มีแรงเทขายออกมาในหุ้นที่เกี่ยวพันกับข่าว KTB พร้อมกันหมด ไม่ว่าจะ N-PARK KTB FNS ทั้งยังมี TNITY ที่มีกลุ่มคอมลิงค์ถือหุ้นใหญ่อยู่จนเป็นที่ร่ำลือกันในห้องค้าหุ้นว่า มีรายการถล่มหุ้นซึ่งกันและกันเกิดขึ้นระหว่างผู้ได้รับผลกระทบจากกรณี KTB

นางสาวธีรดา ชาญยิ่งยง นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า "ข่าวที่เกิดขึ้นกระทบกับบรรยากาศการลงทุน ต้องรอเวลาเพื่อ ให้นักลงทุนเข้าใจมากกว่านี้จึงจะมีแรงซื้อจริงกลับเข้ามาอีกครั้ง ด้านราคาของหุ้นในกลุ่มธนาคารตอนนี้ถือว่าลดลงมามากแล้ว KTB ลดลงไปมาก โดยราคาเป้าหมายตามปัจจัยพื้นฐานที่ บล.ฟิลลิปคาดไว้อยู่ที่ 12 บาท"

นายวิชัย ทองแตง นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ กล่าวว่า หุ้น KTB ถูกทุบด้วยข่าว และนักลงทุนรายใหญ่เทขายออกมามากด้วย ทำให้นักลงทุนทุกคนต้องขาย KTB เพื่อความปลอดภัย ประกอบกับ KTB มาร์เกตแคปใหญ่ด้วย

"สำหรับผม KTB ยังเป็นหุ้นที่น่าลงทุน อยู่ และสถานะ KTB ก็แตกต่างจากในอดีตมาก" นายวิชัยกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us