Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541
โค้กเปลี่ยนประธานคุมเอเชีย พร้อมแผนสร้างวิกฤตเป็นโอกาส             
 


   
search resources

โคคา โคลา (ประเทศไทย), บจก.




ไม่นานมานี้ โมอัมหมัด ราฟาเอ็ด เจ้าของห้างดัง "แฮร็อด" แห่งประเทศอังกฤษ ได้เดินทางมาชอปปิ้งเมืองไทยเพื่อหาซื้อของถูก ด้วยว่าภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำสุดๆ อย่างตอนนี้ ทำให้เจ้าของกิจการชาวไทยทั้งหลายใกล้สิ้นใจไปตามๆ กัน และทางออกสำคัญที่ทำกันอย่างแพร่หลายในขณะนี้ก็คือ ขายบริษัทตัวเองอย่างลดกระหน่ำตอกย้ำยุคไอเอ็มเอฟ เห็นกันชัดๆ ก็พวกธุรกิจการเงินทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไฟแนนซ์ หรือธนาคาร

ในขณะที่ค่าเงินบาทตกต่ำและฟื้นตัวบ้างอย่างสะลืมสะลือเช่นนี้ บริษัทโคลา-โคลา จำกัด ได้ฉวยโอกาสกระชับสัมพันธ์และสร้างความมั่นใจให้กับ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด ในยามที่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่อง ด้วยการเพิ่มหุ้นจำนวน 40,196 หุ้น ในราคาหุ้นละ 48,000 บาท คิดเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,900 ล้านบาท

ไมเคิล บาสเคิล ประธานภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตก บริษัทโคคา-โคลา จำกัด คนใหม่กล่าวว่า การลงทุนในบริษัทไทยน้ำทิพย์ ซึ่งเป็นผู้บรรจุขวดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจต่อคู่ค้าที่สำคัญในไทย อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงพันธะสัญญาและความมุ่งมั่นในระยะยาวต่อตลาดแห่งนี้ การเพิ่มทุนดังกล่าวทำให้โคคา-โคลามีสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 44% เป็น 49%

ในขณะที่บริษัทอื่นๆ มองว่าเมืองไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ แต่โคคา-โคลามองว่านี่คือโอกาส และขยายการลงทุนต่อไป โดยเล็งผลในระยะยาวเมื่อเศรษฐกิจ ไทยฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้ง

"ผมได้มาประจำภูมิภาคเอเชียในช่วงที่ไทยกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เราคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงความจริงข้อนี้ได้ แต่ก็ไม่สามารถเพิกเฉยกับมัน ขณะที่คนอื่นเรียกสิ่งนี้ว่าวิกฤตการณ์ เราเรียกมันว่าโอกาส ในขณะที่บริษัทอื่นลดค่าใช้จ่ายลงแต่เรายังคงขยายการลงทุนต่อไป ในขณะที่คนอื่นมีนโยบายชะลอการเติบโต เรายังคงเร่งสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างไม่หยุดนิ่ง" บาสเคิล กล่าว

เขามองว่าในภาวะเช่นนี้จะเป็นโอกาสในการเพิ่มพูดทักษะความสามารถของบุคลากร การพัฒนาเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบผู้บรรจุขวด และการขยายผลกิจกรรมทางการตลาด

ในปี 2540 โคคา-โคลาได้เข้าไปลงทุน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบผู้บรรจุขวดทั่วโลก เป็นมูลค่ากว่า 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันบริษัทฯ เข้าถือหุ้นในบริษัทผู้บรรจุขวดคิดเป็น 60% ของยอดขายทั้งหมดทั่วโลก

นอกจากนี้บริษัทยังได้เซ็นสัญญากับไทยน้ำทิพย์ เพื่อติดตั้งระบบเครือข่ายซอฟท์แวร์มูลค่า 40 ล้านบาท โดยระบบ BASIS (Bottler Advanced Standard Information System) นี้ จะทำหน้าที่ควบคุมการผลิตและยอดจำหน่ายน้ำอัดลม รวมถึงวิธีการจัดจำหน่าย การบัญชี และการเงินได้เป็นอย่างดี

สำหรับผลกระทบจากราคาน้ำตาลที่ปรับตัวสูงขึ้นนั้น บาสเคิล ยืนยันว่าได้รับผลกระทบไม่มากนัก และยังไม่มีแผนที่จะขึ้นราคาน้ำอัดลมแต่อย่างใด เขามุ่งที่จะเน้นการขยายตัวทางการตลาดอย่างต่อเนื่องมากกว่าการรักษาระดับกำไรขั้นต้น

เคิร์ก วีลเลอร์ ผู้จัดการภูมิภาคประจำประเทศไทย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว ถึงการศักยภาพทางการตลาดของโค้ก ในเมืองไทยว่า จากการวิจัยของบริษัทดีมาร์ รีเทล ออดิท พบว่า ยอดจำหน่ายทั้งหมดของผลิตภัณฑ์โคคา-โคลา เพิ่มขึ้น 5% ในปี 2540 ในขณะที่อัตราการเติบโตของตลาดน้ำอัดลมโดยรวมลดลง 0.4%

ทั้งนี้ในปี 2538 มูลค่าตลาดรวมของอุตสาหกรรมน้ำอัดลมอยู่ที่ 16,500 ล้านบาท และขยายตัว 9% ใน ปีต่อมาเป็น 18,000 ล้านบาท กระทั่งปี 2540 มีมูลค่าตลาด รวมประมาณ 17,900 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามโคคา-โคลากลับมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ โดยยอดขายโค้กเพิ่มขึ้นจาก 50.7% ในปี 2539 เป็น 51.5% ในปีที่ผ่านมา ส่วนแฟนต้ามีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 65.9% เป็น 67% และสไปรท์ มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นจาก 80.5% เป็น 81.6%

"ผลการวิจัยเหล่านี้ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตของโคคา-โคลาว่า เป็นผู้นำตลาดน้ำอัดลมไทยอย่างแท้จริง ทั้งในตลาดรวมและในแต่ละกลุ่มผลิตภัณฑ์ แม้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงันเช่นนี้ บริษัทก็ยังสามารถเติบโตได้" วีลเลอร์กล่าว

กลยุทธ์การตลาดที่แข็งแกร่ง การส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนาระบบการผลิตและจัดจำหน่ายอย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จในวันนี้

นอกจากนี้บริษัทยังมีการเซ็นสัญญากับเซเว่น อีเลเว่น เป็นเวลา 3 ปี ในการจำหน่ายเฉพาะโคคา-โคลาเท่านั้น ทั้งยังได้ร่วมมือกับลูกค้าหลักในการเพิ่มกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆ เช่น เอสโซ่ แมคโดนัลด์ อีจีจี แพลนเน็ต ฮอลลีวู้ด และเชลล์

มิใช่แต่เฉพาะตลาดน้ำอัดลมเท่านั้น ในขณะที่ตลาดกาแฟกระป๋องกำลังเฟื่องฟูเช่นทุกวันนี้ โคคา-โคลาย่อมไม่เสียโอกาสที่จะเข้าไปร่วมชิงส่วนแบ่งตลาดกับเขาบ้าง โดยจับมือร่วมทุนกับ "เนสกาแฟ" จัดตั้งบริษัทโคคา-โคลา เนสท์เล่ เบเวอร์เรจ (ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นมาเพื่อผลิตเนสกาแฟกระป๋อง โดยโคคา-โคลาได้รับเลือกให้เป็นผู้จัดจำหน่ายใน 14 จังหวัดภาคใต้ด้วย

วีลเลอร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ภายในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ โค้กจะมีรายการส่งเสริมการขายล่าสุดออกมา ซึ่งเป็นรายการที่สนุกสนานและมีรางวัลมากมายให้ทันที และสำหรับแฟนต้า บริษัทได้เพิ่มงบประมาณอีก 30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เพื่อตอกย้ำจุดยืนของแฟนต้าต่อกลุ่มวัยรุ่น โดยจะมีกิจกรรมส่งเสริมการขายในช่วงหน้าร้อนที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการคืนกำไรให้แก่ผู้บริโภคอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

"เราจะแสวงหาทุกโอกาสทางการตลาดให้โคคา-โคลา ประเทศไทย และผู้บรรจุขวดของเราอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าอย่างสิ้นเชิง ด้วยการครอบครองผลิตภัณฑ์ที่ครองใจผู้บริโภค ซึ่งทำให้เราสามารถเผชิญหน้ากับสภาวะท้าทายเช่นนี้ได้" วิลเลอร์สรุป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us