Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541
สยามซิตี้ แอสเซท แมแนจเม้นท์ ขนาดเล็ก คล่องตัวกว่า             
 


   
search resources

สยามซิตี้ แอสเซท แมแนจเม้นท์




บลจ.สยามซิตี้ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด เพิ่งออกกองทุน มาเพียงกองเดียวในลักษณะ balanced fund ใช้ชื่อ "กองทุนเปิดสยามซิตี้ บาลานซ์ ฟันด์" เริ่มจำหน่ายและลงทุนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 มูลค่าเริ่มต้นที่ประมาณ 400 ล้านบาท มีการจ่ายปันผลไปครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2541 ที่หน่วย ลงทุนละ 0.40 บาท(หรือคิดเป็นอัตรา 13% ต่อปี) และมีกำไรสะสมอยู่บางส่วน

balance fund เป็นการลงทุนระหว่าง fixed income กับ equity ซึ่งข้อดีของกองทุนแบบนี้ มนูญ เลิศโกมลสุข กรรมการผู้จัดการ บลจ.สยามซิตี้ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า "เราสามารถยืดหยุ่นระหว่างการลงทุนในหุ้นกับ fixed income ได้ประมาณ 75% กลับไปมาได้ และที่ผ่านมาที่เราเลือกออกตัวนี้เพราะสถานการณ์ในตลาดหุ้นไม่ค่อยดี ดอกเบี้ยค่อนข้างสูง เราจึงเอาเงินมาลงทุนในตลาด fixed income แต่เมื่อภาวะตลาดหุ้นกลับมาดี เราก็สามารถมาลงในตลาดหุ้นได้ และลดสัดส่วนของ fixed income ลงมา มันก็ยืดหยุ่นได้"

ซึ่งตอนนี้กองทุนเปิดสยามซิตี้ บาลานซ์ ฟันด์ ลงทุน 75% ในตลาด fixed income และอีก 25% เป็นการลงทุนในหุ้นและถือเงินสด ทั้งนี้มูลค่าหน่วยลงทุนทั้งหมดตอนนี้หดลงเหลือ 366.67 ล้านบาท (งบดุลเมื่อ 31 ม.ค. 2541)

สำหรับการออกกองทุนใหม่ในปีนี้ มนูญเปิดเผยว่าจะมีการออกอีก 2 กองทุน คือ Government Bond Fund ซึ่งได้รับอนุมัติจาก กลต.แล้วและรอจังหวะการออกกองทุนอยู่ คาดว่าภายใน 1-2 เดือนข้างหน้า กองทุนนี้จะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ซึ่งตอนนี้มีการออกพันธบัตรออกมามาก และมีอัตราผลตอบแทนที่ดีไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงเทียบเท่าฐานะรัฐบาล กองทุนนี้มีชื่อภาษาไทยว่า "สยามธนรัฐ" เป็นกองทุนเปิด โดยคาดหมายขนาดกองทุนที่ 800-1,000 ล้านบาท ขายให้บุคคลทั่วไปรวมถึงสถาบัน

ทั้งนี้มนูญอยากจะเน้นผู้ลงทุนสถาบันต่างชาติ เพราะมีผลตอบแทนที่ดีหากถือไว้ระยะยาว เช่น อายุ 5 ปี มีอัตราผลตอบแทน 16% เป็นต้น

เขามองว่า "เศรษฐกิจประเทศไทยตอนนี้ลงไปสู่จุดต่ำสุดหรือ bottom out แล้ว ซึ่งผมคิดว่าในอนาคต ดอกเบี้ยคงไม่ค้างอยู่อย่างนี้ เศรษฐกิจดีขึ้น ดอกเบี้ยก็ต้องลดลง ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยเช่นนี้คงไม่ได้เห็นใน 2-3 ปีข้างหน้าแน่ yield จะไม่ได้ขนาดนี้ หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ผลตอบแทนแค่ 6% เท่านั้น ตอนนี้ขึ้นมา 16% แล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสภาพตลาด"

อีกกองหนึ่งที่มีแผนจะออกคือ property fund ซึ่งมนูญกำลังปรึกษากับนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่สนใจจะออกกองทุนประเภทนี้ "เท่าที่ดูอยู่ตอนนี้คงมีขนาดราว 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นขนาดตามที่ทาง กลต.กำหนด และการขายกองนี้จะเป็นการขายแบบเฉพาะเจาะจงหรือ private placement ซึ่งลักษณะของการลงทุนคงเป็นอาคารพาณิชย์ต่างๆ ในกรุงเทพฯ เราต้องดูความพร้อมของนักลงทุน เพราะว่ามันยังไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่ชัดเจนในการออกกองทุนประเภทนี้" มนูญกล่าว

ทั้งนี้ กลต.ได้อนุมัติให้ออกกองทุนประเภท property fund ได้ แต่ผู้บริหารกองทุนส่วนมากยังไม่มีใครกล้าออกกองทุนประเภทนี้ ได้แต่ทำการศึกษา เพราะรายละเอียดเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจน

การออกกองทุนของ บลจ.ทั้งหลายในปีนี้ จะเปลี่ยนแนวไปจากเดิมอย่างมากตามภาวะตลาด ที่ไม่เอื้อให้กองทุนประเภทลงทุนในหลักทรัพย์และในตราสารหนี้รุ่งเรืองดังที่เป็นมาในอดีต จะเห็นได้ว่าวิกฤติเศรษฐกิจรอบนี้สร้างบาดแผลเจ็บปวดให้แก่ บลจ.ไม่น้อย มูลค่ากองทุนหดหายไปหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งปัจจุบันทั้งระบบมีกองทุนอยู่ 165 กอง มูลค่าเงินลงทุนรวม 87 พันล้านบาทเท่านั้น (ดูตารางประกอบ)

มนูญก็เปลี่ยนแนวทางโดยให้เหตุผลว่า "ช่วงนี้จังหวะยังไม่ค่อยดี บลจ.หลายแห่งช่วงนี้ก็ต้องถอยหลัง 1 ก้าว เพราะติดปัญหาเรื่องการลงทุนของลูกค้าทั่วไป และมีการระแวงพอสมควรในการลงทุนต่างๆ แต่ในระยะยาวนั้น ลูกค้าที่มีเงินออมน่าจะมาลงทุนในกองทุน เพราะผลตอบแทนอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ทีเดียว"

สยามซิตี้ฯ ยังมีส่วนแบ่งตลาดน้อยมากเพราะเพิ่งออกกองทุนมากองเดียว ดังนั้นจึงเจ็บตัวน้อยที่สุด "เรามีการคุมค่าใช้จ่ายในภาวะตลาดช่วงนี้ และเรื่องขนาดกองทุน แม้จะเล็กสุด แต่เราก็บริหารได้ดีในช่วงภาวะอย่างนี้" มนูญกล่าว

สมพงษ์ ฝ่ายจำปา ประธานกรรมการ บลจ.สยามซิตี้ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด กล่าวเสริมว่า "ธุรกิจกองทุนรวมนั้นจะเร่งให้เร็วไม่ได้ หากเราเร่งเร็ว มันก็จะเป็นแบบเรือ Titanic เราต้องไปเป็นขั้นตอน สร้างความเข้าใจให้ลูกค้าและไม่ฉวยโอกาส"

สำหรับประเด็นเรื่องผู้ถือหุ้น บลจ.สยามซิตี้ฯ ซึ่งมีบงล.ที่ถูกปิดไปแล้วถือหุ้นอยู่ด้วยนั้น กรณีนี้มนูญอธิบายว่า "ไม่ได้มีผลกระทบอะไรต่อการดำเนินงานของบลจ.แม้แต่น้อย ส่วน เรื่องการหาผู้ลงทุนมาถือหุ้นใหม่นั้นก็อยู่ระหว่างการพิจารณาภายในหมู่ผู้ถือหุ้นเดิม ซึ่งคาดว่าน่าจะตกลงกันได้ เพราะตอนนี้กฎหมายก็อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นใน บลจ.ได้มากขึ้นแล้วด้วย"

ทั้งนี้มี บงล. 3 แห่งที่ถือหุ้น บลจ. สยามซิตี้ฯ รวมกัน 30%

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us