Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541
สถาบันไทย-เยอรมัน ถ่ายทอดเทคโนโลยีเยอรมันสู่ไทย             
 


   
search resources

สถาบันไทย-เยอรมัน




เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1995 เป็นวันที่มีการเซ็นสัญญาให้มีการก่อตั้งสถาบันไทย-เยอรมันแห่งนี้ขึ้น และในเดือนกรกฎาคม 1995 ดร.เอิร์นส์ กุนเทอร์ ชิลลิ่ง ผู้อำนวย การฝ่ายเยอรมันเดินทางมาที่นิคมอุตสาหกรรม บางปะกง 2 "ในตอนนั้นที่นี่ยังไม่มีอะไรเลย การก่อสร้างอาคารต่างๆ เริ่มต้นในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน แต่ก็มาชะงักในเดือนตุลาคม เพราะเหตุเรื่องน้ำท่วม"

นี่เป็นคำบอกเล่าของดร.ชิลลิ่ง ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการนี้ในฝ่ายเยอรมันมาตั้งแต่เมื่อ 6 ปีก่อน สถาบันแห่งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานรัฐของประเทศไทย และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ซึ่งเมื่อสำเร็จขึ้นมาจนเป็นรูปเป็นร่างในวันนี้นั้น ทุกฝ่ายที่มีส่วนร่วมมาแต่ต้นก็รู้สึกยินดีและสุขใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ความพยายามผลักดันความร่วมมือเช่นนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงามในเบื้องต้นนี้

โดยเฉพาะฝ่ายเยอรมันนั้นถึงกับกล่าวว่า หากโครงการที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างดี เขาจะถือเป็นต้นแบบในการพัฒนาโครงการเช่นนี้กับประเทศอื่นๆ ต่อไป

"เป้าหมายของสถาบันมิใช่แค่ฝึกให้คนมีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องเทคนิคอย่างเดียว แต่ว่าทำอย่างไรฝึกให้คนมีจิตสำนึก จริยธรรม รู้จักจัดระบบวางแผนงานของตนเอง สามารถคิดและทำได้ทั้งระบบเอง ไม่ใช่รู้แค่เรื่องเทคนิค" ณรงค์ รัตนะ ผู้อำนวยการฝ่ายไทยเล่าให้ "ผู้จัดการรายเดือน" ฟัง ทั้งนี้หน้าที่ของฝ่ายไทยคือดูแลงานมาร์เก็ตติ้งและลูกค้าที่จะเข้ามารับการฝึกอบรม ขณะที่ฝ่ายเยอรมันนั้น รับผิดชอบเรื่องความรู้ความชำนาญในการฝึกอบรมเครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้งาน และการจัดหาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ

ดร.ชิลลิ่งเล่าว่า "เราได้มีการทำสำรวจความคิดเห็นของเจ้าของกิจการในไทย ซึ่งพบว่าเราต้องแนะนำเทคนิคหรือ วิศวกรรมให้กับคนไทยตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน เช่น การดีไซน์เครื่องจักรและกลไกต่างๆ รวมทั้ง methodology หรือแนวทางการประดิษฐ์ด้วย ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของงานของสถาบัน"

ทางด้านกลุ่มเป้าหมายลูกค้า ณรงค์กล่าวว่า "เรามี 2 ประเภท คือลูกค้าทั่วไปในภาคอุตสาหกรรม และแบบ tailor made คือทำความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้เราเป็นองค์กรไม่ค้ากำไร"

เขาอธิบายเกี่ยวกับการบริหารงานของสถาบันฯ ว่า "แนวทางคือต้องอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่รัฐบาลไทยให้โอกาสผม 10 ปี นับจากปีนี้ไป ปีที่แล้วรัฐบาลก็ให้เงินช่วยเหลือผม 149 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ก็ต้องทำงบเสนอขึ้นไปอนุมัติ ผ่านกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงฯ ผ่านมาทางมูลนิธิพัฒนาอุตสาหกรรม แล้วมูลนิธิฯ ก็ตัดมาให้ผมทั้งก้อนเพื่อมาดำเนินกิจการ รัฐบาลสัญญาว่าจะให้การสนับสนุนไป 10 ปี หากเรามีลูกค้าไม่มากพอ เราก็ยังอยู่ได้ แต่มันก็มีความเสี่ยงคือในช่วง 4-5 ปีนี่เราจะทำอย่างไรให้เครื่องจักรที่มีอยู่ทันสมัย คือตอนนี้ที่เราคิดเงินลูกค้า เราก็เก็บไว้เพื่อเอามาใช้จ่ายในการเปลี่ยนซอฟต์แวร์ เปลี่ยนกลไกภายในให้ทันสมัยตลอดเวลา"

เหตุที่ต้องเปลี่ยนเครื่องจักรเพราะ "เครื่องจักรที่เรามีในตอนนี้ อีก 5 ปี มันจะมีรุ่นใหม่เกิดขึ้น เราต้องเก็บเงินไว้เพื่อเอามาเปลี่ยนมันในอนาคต"

ทั้งนี้ อาจมีข้อสังเกตว่าสถาบันฯแห่งนี้ทำหน้าที่ฝึกช่างไทยให้ใช้เครื่องจักรเยอรมันเป็นใช่หรือไม่

ณรงค์ให้ความเห็นว่าอาจจะใช่ "มันก็เหมือนกับเรามีคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ซับซ้อน เราก็ต้องสอนให้คนทำงานกับซอฟต์แวร์โปรแกรมนั้นได้ แต่ถ้าเราถามกลับว่า ก็ทำให้คนของเราเป็นทาสเทคโนโลยีเขาหรือไม่

ประเด็นนี้ผมเห็นว่ามันมีประโยชน์ 2 อย่าง คือเราพัฒนาเครื่องจักรได้ไม่เร็วเท่าเขา ดังนั้นเราจึงต้อง 1. ใช้เครื่องจักรที่เราซื้อเข้ามาให้คุ้มค่ามากที่สุด แต่ถ้าให้ดีคือ 2. ทำอย่างที่ญี่ปุ่นทำ คือต้องพัฒนาเครื่องจักรเหล่านี้ให้ได้เองด้วย ญี่ปุ่นไปซื้อเทคโนโลยีรถไฟจากเยอรมันมา วิธีคือซื้อเครื่องจักรมา และก็ต้องทำวิจัยคู่กันไปด้วย โดยการวิจัยนั้นต้องมีเป้าหมายแน่ชัดว่าต้องสร้างเทคโนโลยีเช่นนี้เองให้ได้ ซึ่งในที่สุดญี่ปุ่นก็ทำได้สำเร็จ"

ปรีชา อรรถวิภัชน์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวในโอกาสนี้ว่า "สถาบันนี้เป็นตัวอย่างในความร่วมมือระหว่างไทย-เยอรมัน มีการร่วมมือกันเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่เทคนิคไทย ในการปรับคุณภาพและฝีมือในการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ทั้งสองฝ่ายได้ลงเงินไปเท่าๆ กันฝ่ายละประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งตอนนี้ได้ลงทุนไปแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท และทางเยอรมันจะให้ความช่วยเหลือเพิ่มอีกประมาณ 10 ล้านมาร์กหรือ 300 ล้านบาท ในยามที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย ย่อมเป็นโอกาสอันดีที่โรงงานต่างๆ ที่ลดการผลิตลงหรือวางแผนปรับปรุงเครื่องจักร บุคลากร จะได้ส่งบุคลากรเข้ามาปรับปรุงเพิ่มพูนความรู้ และมาเรียนรู้เครื่องจักรใหม่ๆ ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะความรู้ของทางเยอรมันนั้นเป็นที่ยอมรับว่า เป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และมีระบบจัดการที่ดี"

ทางด้าน ดร.ไรเนอร์ เกอร์เดอเรอร์ อธิบดีกรมเอเชีย ยุโรปกลางและตะวันออก สาธารณรัฐเยอรมันกล่าวว่า "ความพยายามของสถาบันเป็นความร่วมมือของทั้งสองประเทศ ที่แสดงออกถึงสัมพันธภาพมิตรไมตรีที่ประเทศทั้งสองมีต่อกันมาอย่างช้านาน เยอรมันยังคงยืนเคียงข้างประเทศพันธ มิตรแม้ในยามยากลำบาก นี่คือตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน"

และดร.แกท โฟคท์ ประธาน Kfe กล่าวว่า "ขอแสดงความยินดีต่อประเทศไทยและเยอรมนี ที่โปรเจกต์นี้ได้สำเร็จลุล่วงออกมาเป็นสถาบันไทย-เยอรมัน หลังจากฝ่าฟันความยากลำบากในช่วงเริ่มต้น ตอนนี้เราก็เริ่มดำเนินงานสถาบันแห่งนี้ได้แล้ว สถาบันเป็นจุดริเริ่มสำคัญสำหรับความร่วมมือที่จะมีต่อๆ ไปในอนาคตของทั้งสองประเทศ ซึ่งดังที่ ดร.เกอร์เดอเรอร์กล่าวว่ามีความสัมพันธ์กันมากว่า 30 ปี

สถาบันจะทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศแน่นแฟ้นต่อกันมากขึ้น มิใช่เฉพาะด้านบุคลากรเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านเทคโนโลยี เราเต็มใจที่จะให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องต่อประเทศไทย

Kfw ในฐานะที่เป็น promotion bank ของรัฐบาลเยอรมนี ได้ให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่โครงการต่างๆ ในประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีมูลค่ารวมกว่า 8 พันล้านดอยช์มาร์ก และ Kfw ก็มีนโยบายว่าจะไม่ถอนเงินกู้เหล่านี้ออกจากประเทศไทย Kfw จะยังคงให้การสนับสนุนโครงการต่างๆ ที่เป็นลูกค้าของธนาคารต่อไป"

สิ่งน่าประทับใจของประธาน Kfw ซึ่งดูจะอารมณ์ดีเป็นพิเศษ ทั้งที่เพิ่งเดินทางมาถึงประเทศไทยในตอนเช้าและเข้าร่วมงานในช่วงสายๆ หลังจากเข้าคารวะนายกฯ ชวน หลีกภัย มาแล้ว ก็คือการที่เขากล่าวอย่างหนักแน่นเกี่ยวกับความช่วยเหลือของเยอรมันที่มีต่อไทยว่า

"We will not withdraw the umbrella once it starts raining and there is heavy raining. I don't mean outside the nation. But in the economic situation at the moment, there is rain and we will not withdraw the umbrella."

ขณะที่ ดร. แบนด์ ไอเซ็นแบลทเทอร์ ประธานคณะกรรมการองค์การเยอรมันเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ หรือ GTZ กล่าวว่า "โครงการนี้มีความสำคัญมากต่อทั้งสองฝ่าย มันชี้ให้เห็นว่าความร่วมมือด้านเทคนิคและความร่วมมือด้านการเงินกำลังดำเนินไปด้วยกัน มันมีพลังความ เข้มแข็งและความสามารถมากในการสร้างความก้าวหน้าขึ้น ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในยามที่ประเทศประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเช่นน ี้เป็นแนวโน้มหรือทิศทางใหม่ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในด้านการเงิน แต่ในด้านเทคนิคยังไม่ค่อยมีสโลแกน ที่ ดร.เกอร์เดอเรอร์ได้กล่าวไว้ว่า public private partnership ได้เกิดขึ้นเป็นจริงที่นี่ ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายรัฐ แต่รวมถึงฝ่ายเอกชนที่มาร่วมงานกันได้ ซึ่งนี่ทำให้เราให้เห็นว่าโครงการนี้สำคัญมาก"

สถาบันนี้เป็นโฉมหน้าใหม่ของการพัฒนาบุคลากรด้านช่างฝีมือ ที่ผ่านมาเป็นเพียงการยกระดับฝีมือ เพื่อให้เข้าได้กับอุตสาหกรรมที่มีความต้องการในช่วงนั้นๆ แต่สถาบันฯ คงจะเป็นการฝังรากด้านเทคโนโลยีให้กับบุคลากร ที่เข้ามารับการฝึก ซึ่งกว่าที่จะทำให้เกิดโครงการตรงนี้ได้ ไม่มีใครมองเห็นความสำคัญมาก่อน แต่เมื่อเกิดสถาบันนี้ขึ้นก็คงจะเห็นว่ามันมีความสำคัญมาก

ทั้งนี้เงินอีก 10 ล้านมาร์กที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนของความร่วมมือทางวิชาการ ที่จะใช้ไปในการฝึกอบรมบุคลากรของสถาบัน เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดการฝึกอบรม ซึ่งจะมาจากรัฐบาลเยอรมันผ่านทาง GTZ

โดยสรุปนั้นความช่วยเหลือทั้งหมดจากฝ่ายเยอรมันมี มูลค่า 30 ล้านมาร์ก มาจาก Kfw 10 ล้านมาร์กเพื่อใช้ซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้ในการฝึกอบรม อีก 20 ล้านมาร์กผ่านทาง GTZ ใช้ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญไทย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us