Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มีนาคม 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม 2541
บิ๊กโปรเจ็กต์ แกรนด์เซลล์ ดึงเงินนอกหนุนหนองงูเห่า             
 


   
search resources

ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่
Airport




การประกาศนโยบายของรัฐบาลจากปากรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจอย่างศุภชัย พานิชภักดิ์ ด้วยวิถีที่จะมุ่งเข้าหา "ทางอยู่รอดของประเทศไทย" ภายใต้กฎเหล็กของ "มหามิตร" ที่ส่งผ่านมาทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ทำให้ไทยต้องเร่งมาตรการที่ดองมาแสนนานในเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยดึงเงินจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเสริมโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ

เติมต่อความฝันที่จะปั้นให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งทาง อากาศในภูมิภาค ซึ่งไม่ยอมแตกดับไปพร้อมกับเศรษฐกิจฟองสบู่ มีการนำมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง

สามโครงการหลักที่ศุภชัย ประกาศต่อหน้านักลงทุนทั้งไทยและ ต่างประเทศในการสัมมนาระดับนานาชาติ ว่าด้วยเรื่อง "โครงการศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติ เตรียมไทยสู่ศูนย์กลางด้านการบินและธุรกิจ ศตวรรษที่ 21" เมื่อ 21 มกราคมที่ผ่านมาก็คือ

- โครงการศูนย์กลางการผลิตและขนส่งทางอากาศยานนานาชาติที่สนามบินอู่ตะเภา หรือ Global Transpark
- โครงการทางอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่สอง ที่หนองงูเห่า
และ - โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานแห่งที่ 2 ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

ทั้ง 3 โครงการเป็นแผนการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกระยะที่ 2

เป็นการประกาศนโยบายด้านโครงการขนาดใหญ่ที่แน่ชัด เมื่อเริ่มต้นปีเผาจริงของเศรษฐกิจไทย และเป็นการยืนยันว่า แม้รัฐบาลไทยจะประสบปัญหาด้านการเงินการคลังขนาดหนัก แต่ก็ยังพร้อมที่จะเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดมหาศาลต่อไป

เพียงแต่ครั้งนี้ ปรับกลยุทธ์เปิดทางเอกชนต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ลดเงื่อนไขสร้างแรงจูงใจครั้งมโหฬาร

Global Transpark ที่อู่ตะเภานั้น ได้รับความช่วยเหลือจากตัวแทนการค้าและการพัฒนาของสหรัฐ หรือ U.S. Trade and Development Agency

ศูนย์ซ่อมเครื่องบินลำตัวกว้างของการบินไทย ประกาศหาผู้ร่วมทุนแล้ว

โครงการสนามบินหนองงูเห่ายังอยู่ในที่นั่งลำบาก ตั้งแต่เริ่มปั้นโครงการมาเมื่อปี 2535 เป้าหมายเดิมที่จะแล้วเสร็จในปี 2543 จนป่านนี้ความคืบหน้าด้านการก่อสร้างยังไม่มีความชัดเจน กำหนดการก่อสร้างและใช้งานได้ล่วงเลยไปถึงปี 2547

การทิ้งบอมบ์ของรัฐบาลพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ให้ล้มประมูลถมทรายกับบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และเป็นภาระที่รัฐบาลชุดนี้ต้องสะสางและเปิดประมูลใหม่ ไม่ให้มีปัญหายืดเยื้ออยู่กับเอกชน โดยเฉพาะการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย อาจเป็นอีกปัจจัยที่ดึงให้โครงการล่าช้า

สำหรับบริษัท ท่าอากาศยานสากลแห่งใหม่ จำกัด หรือ บทม. ผู้ดูแลที่ถูกอนุมัติจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2539 และรับมอบหน้าที่ควบคุมดูแลงานจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างต่อมาในวันที่ 11 เมษายน เริ่มเจออุปสรรคตั้งแต่แรกเริ่มลงมือทำงานเดิมงานทุกอย่างของหนองงูเห่ายังมีเต็มโครงการมีทางวิ่ง 2 เส้น รับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี

เมื่อสภาพเศรษฐกิจผันแปร โครงการต้องลดขนาดลงเหลือเพียงการก่อสร้างทางวิ่ง 1 เส้น รองรับผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี วงเงินลงทุนประมาณ 68,800 ล้านบาท เปิด ให้บริการได้ปี 2547 จากงบประมาณ เดิมที่ตั้งไว้ถึงประมาณ 8 หมื่นล้านบาท

บทม.เองไม่ได้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ เพราะโครงการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จมีเพียงเงินดอกเบี้ยเงินฝากเท่านั้น

เงินทุนจดทะเบียนเป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่กระทรวงการคลัง และการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย หรือ ทอท. เรียกชำระแล้ว ประมาณ 8,748 ล้านบาท จากทุน 10,000 ล้านบาท

เมื่อบทม.ต้องการเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 20,650 ล้านบาท ก็ต้องเรียกชำระเพิ่มจากผู้ถือหุ้นรายเดิมซึ่งเท่ากับยังเหลือเงินอยู่อีกประมาณ 11,000 ล้านบาทจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ทั้งสองก็ทำได้ยาก

กระทรวงการคลังซึ่งเป็นกระเป๋าเงินของรัฐบาลต้องเจียดเงินทุกบาททุกสตางค์อย่างคุ้มค่า หลังการตัดงบประมาณครั้งมโหฬารภายใต้กฎเหล็กของไอเอ็มเอฟ คงไม่สามารถจัดสรรงบประมาณมาจ่ายค่าหุ้นให้กับ บทม.ได้

ขณะที่ ทอท.ยอมที่จะชำระค่าหุ้นส่วนที่เหลือให้ครบเต็มตามจำนวนสัดส่วนร้อยละ 51.39 จากทุนจดทะเบียน 10,000 ล้านบาทเท่านั้น

วาระการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2541 เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา จะมีเรื่องการเพิ่มทุนเข้าสู่ที่ประชุม ก็ถูกตีตกให้ระงับไว้เป็นการชั่วคราวเพื่อเป็นการซื้อเวลาการชี้ขาดชะตาของโครงการหนองงูเห่า

มีการโยนภาระให้อยู่ในอุ้งมือของคณะกรรมการเร่งรัดการดำเนินงานโครงการท่าอากาศยานหนองงูเห่า และกรรมการศึกษาแนวทางการเพิ่มบทบาทเอกชน ในการพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ ที่มี ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล เป็นประธาน

คณะกรรมการฯ ต้องเร่งหาข้อสรุปการปรับปรุงจราจรทางการบินระหว่างสนามบินดอนเมือง และหนองงูเห่าให้สอดคล้องกัน ใช้ข้อมูลของที่ปรึกษา ทอท.คือบริษัท ทิสโก้ กับที่ปรึกษาบทม.คือบริษัทนาป้า ศึกษาเพื่อแบ่งงานการบริหารให้ลงตัวและชัดเจนมากขึ้น

แผนที่แน่นอนเพื่อใช้ชักจูงนักลงทุนต่างชาติมาลงขันให้หนองงูเห่า โดยการแบ่งซอยงานในสนามบินถึง 14 งาน และตั้งบริษัทลูกรองรับการร่วมทุน

ผ่อนภาระของรัฐบาลและทอท.ในการลงทุนของหนองงูเห่า

"การแปรรูปที่เกิดขึ้นจะต้องมีการปรับปรุงแผนการเงินใหม่ ทอท.เองก็ต้องถูกแปรรูป เงินที่มีอยู่จึงต้องเก็บไว้เพื่อรองรับแผนใหม่ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายเงินเพิ่มทุนให้กับบทม. เพราะ บทม.เองเมื่อได้ข้อสรุปเรื่องการแปรรูป ก็อาจไม่ต้องใช้เงินเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นเดิมก็ได้" ผู้บริหารระดับสูงของทอท.สรุปนโยบายของทอท.ที่มีต่อบริษัทลูก

การแปรรูปนั้น อาจนำมาซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหม่ เงินที่ได้จากการเพิ่มทุนก็อาจเป็นของเอกชนทั้งในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้

สถานการณ์บทม.จึงต้องรอผลสรุปของหม่อมเต่าที่คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม แม้ปรีติ เหตระกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บทม.เองต้องการให้ผู้ถือหุ้นยอมเพิ่มทุนในบทม. เพื่อรักษาระดับความเชื่อมั่นจากสถาบัน การเงินต่างประเทศที่จะปล่อยกู้ให้กับโครงการก็ตาม

แต่เมื่อรัฐบาลกระเป๋าฉีก และเร่งเร่ขายโครงการยักษ์เพื่อต่อชีวิตแผนลงทุนและอนาคตของประเทศ ความต้องการของ บทม.ก็ดูจะกลายเป็นเรื่องเล็กเกินไปเสียแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us