|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ล็อกซเล่ย์" ระบุอานิสงส์เอฟทีเอหนุนบ.ดิสทริบิวเตอร์ และเทรดดิ้งโตพรวด เร่งเพิ่มบุคลากร เต็มสูบรองรับตลาดขยายตัว พร้อมปรับตัวรับมือสินค้าฟุ่มเฟือย ฉุดกำลังซื้อ-ยี่ปั๊วซบโมเดิร์นเทรด ขยายไลน์สินค้าอุปโภคประเดิม "kleena" แบรนด์แรก เร่งเครื่องขยายช่องทางโมเดิร์นเทรด "บ.ยู-โปร" ชี้ผลพวงเอฟทีเอดันธุรกิจเทรดดิ้งรุ่ง เตรียมนำเข้าสินค้าอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย จีน รุกทำตลาดไทย
นางโกสุม สินเพิ่มสุขสกุล กรรมการบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัทล็อกซเล่ย์ เทรด-ดิ้ง จำกัด ผู้จัดจำหน่ายสินค้าบริโภค เปิดเผยว่า การที่ไทยเปิดเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศหรือเอฟทีเอ จะช่วย ผลักดันให้ธุรกิจผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือดิสทริบิวเตอร์ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากจะมีผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดในไทยเพิ่มขึ้น โดยในช่วงครึ่งปีหลังนี้บริษัทได้เพิ่มบุคลากรบ้างแล้วและจะเพิ่มมากขึ้นอีกในปีหน้านี้ ทั้งนี้เพื่อรองรับตลาดที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่หน่วยรถที่มีมากกว่า 20 คัน และคลังสินค้านั้นบริษัทยังไม่มีแผนจะเพิ่มขึ้น เพราะที่มีอยู่ยังสามารถรองรับ การขยายตัวของธุรกิจได้
สำหรับการทำตลาดบริษัทจะหันมาให้ความสำคัญด้านการกระจาย สินค้าผ่านช่องทางโมเดิร์นเทรดเพิ่มจาก 25% เป็น 35% ช่องทางร้านค้าปลีก รายย่อยลดลงจาก 75% เหลือ 65% ทั้งนี้เป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภค และร้านค้าปลีกรายย่อยเปลี่ยนไป โดยหันมาซื้อสินค้าผ่านโมเดิร์นเทรดมากขึ้น เพราะปัจจุบันโมเดิร์นเทรดจะจำหน่ายสินค้าที่มีราคาถูกค่อนข้างมาก ส่งผลให้ร้านค้าปลีกรายย่อยหันมาซื้อสินค้าและนำไปจำหน่ายได้อีกทอดหนึ่งได้โดยไม่ต้องพึ่งบริษัทจัดจำหน่าย ทั้งนี้ การหันมาให้ความสำคัญกับช่องทางโมเดิร์นเทรด จะเพิ่มต้นทุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการมากขึ้น
"ปีนี้การทำตลาดของผู้จัดจำหน่ายจะมีความยากลำบากมากขึ้น เพราะแนวโน้มตลาดอุปโภคบริโภคมีอัตราการเติบโตน้อยมาก เนื่องจากสินค้าฟุ่มเฟือย โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เข้ามาแย่งกำลังซื้อของผู้บริโภค ส่งผลให้ปีนี้บริษัทตั้งเป้ามีอัตราการเติบโตเพียง 4-5% เท่านั้น จากรายได้รวมปีที่ผ่านมากว่า 2,000 ล้านบาท โดยสัดส่วนรายได้ของบริษัทจะมาจากสินค้าบริโภค 25 แบรนด์ โดยมีน้ำมันพืชกุ๊กและนมหนองโพเป็นเรือธงหลักที่สร้างรายได้ให้แก่บริษัทถึง 60%"
นางโกสุม กล่าวว่า บริษัทยังได้ปรับแผนโดยหันมาให้ความสำคัญเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคมากขึ้น โดยได้เริ่มจัดจำหน่ายน้ำยาเคมี Kleena สินค้าในเครือของบริษัทแม่เป็นรายแรก จากปัจจุบัน สินค้าที่บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่ายจะอยู่ในกลุ่มบริโภคเป็นส่วนใหญ่ และขณะนี้บริษัทกำลังเจรจากับลูกค้ารายใหม่เพิ่มอีก 2 ราย ได้แก่ สินค้าโอทอป และสินค้าทั่วไป
เอฟทีเอหนุนบ.เทรดดิ้งรุ่ง
นายล้ำเลิศ สุดแสวง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยู-โปร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจส่งออกผลไม้สดและแช่แข็ง เปิดเผยว่า นโยบายการทำตลาดในปีนี้บริษัทจะขยายธุรกิจด้วยการนำเข้าในเชิงรุกมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาบริษัทรุกธุรกิจส่งออกผลไม้สดและแช่แข็งในต่างประเทศ 100% ทั้งนี้เนื่องจากผลพวงจากเอฟทีเอหรือเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศ เอื้อผลประโยชน์ต่อธุรกิจนำเข้าในแง่ของภาษีที่ลดลง โดยบริษัทจะปรับสัดส่วนธุรกิจส่งออกและนำเข้าเป็น 90:10 และในอนาคตจะปรับเป็น 80:20
นายล้ำเลิศ กล่าวอีกว่า บริษัทยังได้เตรียมที่จะนำสินค้านำเข้าจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาทำตลาดในเมืองไทยด้วย เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเทศ ที่ไทยเปิดเขตเสรีการค้าระหว่างประเทศ โดยคาดว่าจะเป็นกลุ่มขนมขบเคี้ยว อีกทั้งยังสนใจที่จะนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมาทำตลาดในประเทศไทยอีกด้วย ทั้งนี้สินค้าที่เข้ามาตลาดส่วนใหญ่จะมีราคาตั้งแต่ 5-20 บาท และจับกลุ่มเป้าหมาย 8-16 ปี เป็นหลัก
ขณะที่แผนการทำตลาดส่งออกในปีนี้บริษัทจะรุกตลาดอินโดนีเซียมากขึ้น อีกทั้งยังสนใจที่จะขยายตลาดไปยังตะวันออกกลางด้วย
|
|
|
|
|