Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 กรกฎาคม 2547
TICONฟุ้งผลประกอบการQ 2 รายได้และกำไรยังเติบโตตามเป้า             
 


   
search resources

ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น, บมจ. - TICON
ชาตรี เหล่าเหมวงศ์




TICON ฟุ้งผลงานไตรมาส 2 ทั้งรายได้และกำไรยังงาม ผลจากการขายโรงงานออกไป 1 แห่ง จะลงบันทึกในงบการเงินได้ในงวดนี้ ยันไม่ต้องการสร้างโรงงานเพื่อขาย เพราะต้องการให้เปิดให้เช่า ขณะที่เร่งก่อสร้างโรงงานเพิ่มอีก 53 แห่งปีนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ 20 โรงงาน รองรับความต้องการของลูกค้า แย้มไตรมาส 3 อาจมีการขายโรงงานอีก

นายชาตรี เหล่าเหมวงษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน)(TICON) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ของบริษัทที่กำลังจะประกาศออกมานั้น ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีรายได้มากกว่าไตรมาส 2 ปี 46 ซึ่งแต่ละปีนั้นบริษัทตั้งเป้ารายได้และกำไรเติบโตไม่ต่ำกว่า 30% เนื่องจากรายได้ค่าเช่าที่ยังมีลูกค้าทยอยเซ็นสัญญาเช่าโรงงานของบริษัทเพื่อดำเนินกิจการ ที่สำคัญในไตรมาส 2 นี้ บริษัทได้ขายโรงงานออกไปอีก 1 แห่ง เพราะลูกค้าต้องการซื้อมากกว่า ที่จะเช่าโรงงาน

"ทั้งที่ความจริงเราไม่อยากขาย เพราะเราต้องการมีรายได้จากค่าเช่าโรงงานเข้ามาต่อเนื่อง แต่ลูกค้ารายนี้ต้องการซื้อเป็นของตนเอง เราจึงต้อง ยอม ตามปกติเราก็ต้องทำความเข้าใจ กับลูกค้าก่อนว่าการเช่าย่อมดีกว่าการ ซื้อเพราะไม่ต้องลงทุนในเรื่องค่าก่อสร้างโรงงานและค่าที่ดิน จะประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า"

อย่างไรก็ตาม ยังมีลูกค้าบางประเภทธุรกิจที่ต้องการซื้อโรงงานเพื่อ ต้องการเป็นเจ้าของ ซึ่งบริษัทก็จะยอม ขายให้แล้วแต่กรณี จึงเท่ากับว่าปีนี้ TICON ได้ขายโรงงานออกไปแล้ว 2 แห่ง โดยขายไตรมาสละ 1 แห่ง ซึ่งไม่ใช่ความต้องการและเป้าหมายของบริษัท เพราะต้องการจะให้เช่าโรงงาน มากกว่าการขายไป อันจะทำให้ รายได้ของบริษัทมีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และจะรับรู้ตลอดไปในระยะยาว

นายชาตรีกล่าวว่า ลูกค้าของบริษัทที่เข้ามาเช่าโรงงาน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มการ เติบโตของทั้ง 2 ธุรกิจที่ฟื้นตัวอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้ตกต่ำตามภาวะ เศรษฐกิจที่ถดถอย ทำให้บริษัทต้อง หาเงินเพื่อใช้ในการขยายงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงงานให้เช่า อันจะทำให้เป้าหมายการสร้างรายได้ของบริษัทเติบโตได้ตามที่ตั้งไว้ในแต่ละปี

โดยไตรมาสแรกปีนี้ ผลการดำเนินงานโชว์ออกมาได้อย่างสวยงาม ซึ่งบริษัทมีกำไรสุทธิ 71.94 ล้านบาทและมีรายได้รวม 227.05 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 2 ก็จะไม่น้อยหน้าไตรมาส 2 ของปี 46 และไตรมาสแรกปีนี้ เพราะส่วนหนึ่งเป็นกำไรจากการขายโรงงานออกไป 1 แห่ง ซึ่งจะบันทึกลงในงบการเงินเพิ่มเข้ามาอีก อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 3 นี้อาจมีการขายโรงงานอีกเพราะดูแนวโน้มของลูกค้าที่เข้ามาเจรจา

นอกจากนี้ เมื่อต้นไตรมาส 2 ปีนี้ บริษัทได้ปรับราคาเช่าโรงงานเพิ่มอีก 10% โดยเป็นสัญญาฉบับใหม่ ส่วนสัญญาเก่าหรือสัญญาที่ทำไปแล้วจะไม่ได้รับผลแต่อย่างใด เนื่องจากต้นทุนในการก่อสร้างโรงงานเพิ่มขึ้น อันเป็นผลมาจากต้นทุนค่าสินค้าวัสดุก่อสร้างปรับเพิ่มขึ้นมากตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ซึ่งขนาดของพื้นที่โรงงานที่สร้างเพื่อให้เช่าอยู่แต่ละโรงงานจะมีพื้นที่ระหว่าง 1 พันถึง 6 พันตารางเมตร ซึ่งราคาจะแตกต่างกันไป

สำหรับปีนี้ บริษัทได้ก่อสร้างโรงงานเพิ่มขึ้นอีก 53 โรงงาน จากปัจจุบันที่มีโรงงานทั้งหมด 130 แห่ง โดยโรงงานทั้ง 53 แห่งนั้น จะกระจายอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม 6 แห่ง ซึ่งปีนี้คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 20 แห่ง และทยอยแล้วเสร็จในปี 48 ขณะที่สัญญาการให้เช่าโรงงานนั้น จะมีระยะเวลา 3 ปี และหากหมดอายุสัญญาก็จะทำสัญญาใหม่ ซึ่งการที่ไม่เซ็นสัญญาให้เป็นระยะยาว เพราะต้องการลดต้นทุนเมื่อติดต่อกับราชการและที่สำคัญเพื่อลดความซับซ้อนในการดำเนินงาน

นายชาตรีกล่าวถึงงบลงทุนในแต่ละปีว่า บริษัทไม่ได้ตั้งเป้างบลงทุนเพื่อสร้างโรงงานในแต่ละปี แต่การจะสร้างโรงงานเพิ่มอยู่ที่เป้าหมาย การสร้างรายได้และกำไรของบริษัท ว่าจะต้องเติบโตได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ดังนั้น การระดมทุนหรือกู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการดำเนินงานจึงค่อยเป็นค่อยไปตามการลงทุน ปัจจุบันบริษัทมีหนี้สินทั้งสิ้น 1,800 ล้านบาท

ล่าสุด เมื่อต้นปี 47 TICON ได้เสนอขายหุ้นบุริมสิทธิให้แก่กอง ทุนเพื่อการร่วมลงทุนจำนวน 50 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 9.25 บาท ชึ่งบริษัทได้รับเงินจากการเพิ่มทุนดังกล่าวเป็น จำนวนทั้งสิ้น 462.5 ล้านบาท โดยเงินที่ได้จากการขายหุ้นดังกล่าว บริษัทได้นำไปใช้ในการขยายงาน โดยลงทุน โครงการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จำนวน 7 โรงงาน มูลค่าเงินลง ทุนประมาณ 180 ล้านบาท และโครงการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จำนวน 7 โรงงาน มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 280 ล้านบาท

การสร้างโรงงานเพิ่ม เพื่อรองรับ ความต้องการของลูกค้าที่มีเข้ามา โดยเฉพาะในช่วงต้นปีพบว่าความต้อง การลงทุนจะมีสูงมาก ดังนั้นโรงงานที่อยู่ในระหว่างการก่อสร้างจึงจะทยอยแล้วเสร็จไปนับจากไตรมาสนี้ ประกอบกับความสนใจของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ

บทวิเคราะห์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศ ไทย) จำกัด(มหาชน)ระบุว่า TICON ให้นักลงทุน "ซื้อลงทุน" เนื่องจากเราชอบความชำนาญของบริษัท ในการ ปล่อยเช่าโรงงานอุตสาหกรรม และความตั้งใจของบริษัทที่จะสร้างรายได้ระยะยาวได้อย่างต่อเนื่อง

ในขณะนี้ TICON มีรายได้จาก การปล่อยเช่า 114 โรงงาน หรือเพิ่มขึ้น 12% จาก 102 โรงงาน ณ ปลายปี 2546 รายได้จากการปล่อยเช่าน่าจะเติบโตสูงในปีหน้า เนื่องจาก TICON มีโรงงานอีก 52 แห่ง ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในไตรมาสที่ผ่านมา TICON ได้ขายโรงงานไป 1 แห่ง ที่มีมูลค่าได้ประมาณ 1 แห่งต่อไตรมาสที่เหลือ

บทวิเคราะห์ระบุว่า TICON ในขณะนี้มี PER อยู่ที่ 13.88 เท่า ภายในปลายปีนี้ และ 13.37 เท่า ในปี 2548 จากนโยบายของบริษัทที่จะจ่ายปันผล 40% เราคาดว่า TICON จะจ่ายปันผลที่ 0.15 บาท/หุ้นในปีนี้ และ 0.20 บาท/หุ้นในปี 2548 หรือ 2.3% และ 3.1% ตามลำดับ

เนื่องจากทาง TICON กำลังอยู่ในช่วงก่อสร้างโรงงาน ซึ่งจะทำให้กระแสเงินสดมีความแน่นอนและสามารถคาดการณ์ได้ เราเชื่อว่านักลง ทุนควรที่จะดูหุ้นนี้จากฐานราคาประเมิน จากการคาดการณ์กระแสเงินสด เราได้ประเมินราคาหุ้นไว้ที่ 7.6 บาท/หุ้น ซึ่งมีส่วนต่างจากราคาในปัจจุบันอยู่เพียง 4% หรือที่ 7.3 บาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us