|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"สมคิด" ชูปตท.เป็นเสาหลักในการพัฒนา ธุรกิจปิโตรเคมีของไทย ควบคู่น้ำมันและก๊าซฯ รองรับการก้าว สู่ศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคนี้ โดยเปิดทางให้ปตท.ถือหุ้น ทีพีไอไม่เกิน 30% เมื่อรวมสัดส่วนหุ้นที่คลังถือแล้วเบ็ดเสร็จเกิน 50% เพื่อให้เกิดเอกภาพในการบริหาร ลั่นสัปดาห์หน้าแผนฟื้นฟูทีพีไอได้ข้อยุติ ระบุการเจรจาราคาหุ้นทีพีไออยู่บนพื้นฐานธุรกิจและไม่บีบบังคับ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT) วานนี้ (22 ก.ค.) ว่า ธุรกิจพลังงานถือเป็นคลัสเตอร์ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเช่นเดียวกับระบบขนส่ง โดยปตท.ถือเป็นเสาหลักในธุรกิจด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้ไทยพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานในภูมิภาคนี้ แข่งขันกับต่างประเทศได้
ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีถือว่ามีส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมมูลค่าเพิ่มให้กับน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในอีก 5-6 ปีข้างหน้า จะเป็นอุตสาหกรรมหลักของ ประเทศ ในการที่จะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องการให้ปตท.เป็นเสาหลักในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทยด้วย รัฐพร้อมที่จะสนับสนุนทั้งด้านภาษีและอื่นๆ เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นดีทรอยต์ของเอเชีย เพราะจะเป็นไปไม่ได้หากไทยต้องนำเข้าสินค้าปิโตรเคมีจากต่างประเทศ
"การมาเยี่ยมชมปตท.ครั้งนี้ ได้รับฟังความคืบหน้ากิจการของปตท. ซึ่งเป็นเสาหลักด้านออยล์แอนด์ก๊าซ โดยมีธุรกิจปิโตรเคมีเสริมมูลค่าสูงสุด นอกจากนี้ในเดือนตุลาคม ปตท.จะนำบริษัท ไทยออยล์เข้าตลาดหลักทรัพย์หลังจากปรับโครงสร้างหนี้ จนปัจจุบันมีผลการดำเนินงานที่ดีมาก นับเป็นบริษัทที่ 6 ในเครือปตท.ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ" นายสมคิด กล่าว
ดังนั้น คลังจึงได้เสนอปตท.เข้าไปร่วมทุนในบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) (ทีพีไอ) ซึ่งปตท.เองก็มีความสนใจ เพราะจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ปตท.ยิ่งขึ้น เพราะธุรกิจไปด้วยกันได้ ที่ผ่านมามีเพียงบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจด้านปิโตรเคมีอย่างค่อนข้างครบวงจรรายใหญ่ของไทยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดทั้งหมดของแผนฟื้นฟู กิจการที่ตัวแทนกระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผนฯทีพีไอเสนอมา ร่วมกับข้อเสนอของนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ รวมทั้งโครงสร้างการถือหุ้นในทีพีไอใหม่ว่าจะเป็นอย่างไร คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้นจะส่งให้ศาลล้มละลายกลางเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯต่อไป
สำหรับสัดส่วนที่จะเสนอให้ปตท. ถือหุ้นทีพีไอนั้น คงจะไม่เกิน 30% ส่วนสัดส่วนที่เหลือก็จะมีการจัดสรรให้มีความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายของกระทรวงการคลัง เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นเดิม รวมทั้งพนักงานทีพีไอ
"ตอนนี้สัดส่วนการถือหุ้นในทีพีไอคิดอยู่ในใจ คร่าวๆ แล้ว รอให้ถึงเวลาแล้วจะเปิดเผย ซึ่งในส่วน ของปตท.จะให้ไม่เกิน 30% เมื่อรวมกระทรวงการคลังแล้วถือเกิน 50% แน่นอน" นายสมคิดกล่าว
สัดส่วนที่กระทรวงการคลังจะเข้าไปถือนั้น คงจะเป็นตัวแทนของกระทรวงการคลัง เช่น หาก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สนใจ ก็จะเข้ามาถือในนามของกระทรวงการคลัง เมื่อดูเรื่อง สัดส่วนแล้วจะไม่ทำให้ทีพีไอเป็นรัฐวิสาหกิจ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เจ้าหนี้ทีพีไอเห็นชอบแผน ฟื้นฟูฯดังกล่าวแล้ว เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ขอยืนยันว่าทีพีไอจะต้องมีการลดทุนจดทะเบียนลง เพราะขาดทุนมหาศาล ขณะที่ปตท.จะเข้าไปถือหุ้นในทีพีไอหลังจากปรับโครงสร้างหนี้ใหม่แล้ว โดยราคาหุ้นที่ซื้อนั้นจะมีการเจรจาบนพื้นฐานธุรกิจ ไม่มีการบีบบังคับปตท.ให้เข้าไปถือหุ้นทีพีไอ
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ กำลังศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ในการ เข้าถือหุ้นทีพีไอในเรื่องเงื่อนไข และราคา จะต้องเหมาะสม เนื่องจาก ปตท.เป็นบริษัท(มหาชน) และกระทรวงการคลังไม่ได้กำหนดกฎเกณฑ์ใดๆ เพียงแต่เห็นว่าทีพีไอดำเนินธุรกิจเหมือนกับปตท. จึงน่าจะช่วยเสริมให้ปตท.โตต่อไปอีก
"ตอนนี้ทางด้านสัดส่วนนั้น กระทรวงการคลังเสนอให้เรา ในสัดส่วนไม่เกิน 30% แต่การถือหุ้นเราต้องพิจารณาและการตัดสินใจให้รอบคอบ เพื่อให้ประโยชน์ต่อทุกฝ่าย"
|
|
|
|
|