Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541
น้ำตาลไทยยังโตได้ต่อเนื่อง             
 

   
related stories

กลุ่มมิตรผลสบช่องลงทุนเต็มที่

   
search resources

น้ำตาลมิตรผล, บจก.




แม้สถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยยังอึมครึม ทั้งปัญหาด้านราคาและต้นทุนการผลิต แต่โดยภาพรวมแนวโน้มอุตสาหกรรมดังกล่าว โดยเฉพาะการส่งออกยังคงสดใส ถ้าภาคเอกชนและรัฐบาลช่วยกันแก้ปัญหา

หลังจากความสับสนวุ่นวาย ในเรื่องการพยายามผลักดันให้มีการปรับราคาน้ำตาลของโรงงานและชาวไร่อ้อย เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา แต่ในที่สุดรัฐบาลก็มีมติไม่ให้ขึ้นราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย โดยให้ตรึงราคาน้ำตาลทรายที่จำหน่ายในประเทศไว้เช่นเดิม ซึ่งสาเหตุการเรียกร้องให้ขึ้นราคาน้ำตาลทราย เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น จากการที่ไทยประกาศเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ มาเป็นระบบลอยตัวเมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2540 อีกทั้งมองว่าราคาน้ำตาลทรายของไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำเมื่อเทียบกับราคาตลาดโลก (พิจารณาตาราง)

"ถ้าเปรียบเทียบราคาน้ำตาลทรายไทยกับราคาตลาดโลกแล้ว ขอยืนยันว่าราคาของเราถูกที่สุดในโลก และเป็นเวลา 17 ปีที่น้ำตาลทรายไม่เคยขึ้นราคาเลย" ชนะ อัษฎาธร กรรมการบริหารกลุ่มโรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรือง กล่าว

จากเรื่องราวการขอขึ้นราคาน้ำตาลทราย ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยกลับมาเป็นที่สนใจของคนทั่วไปอีกครั้ง หลังจากที่เคยเงียบหายไปนาน ซึ่งถ้ามองเข้าไปถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยในตลาดโลกแล้ว ปรากฏว่ายังเติบโตขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าปริมาณอ้อยในปีการผลิต 2540/2541 จะอยู่ที่ระดับประมาณ 42 ล้านตันอ้อย ลดลงจากปีการผลิต 2539/2540 ที่มีสูงถึง 56 ล้านตันอ้อย

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีปริมาณการส่งออกปีการผลิต 2539/2540 อยู่ที่ระดับ 4.28 ล้านตัน ส่วนอันดับ 1 คือ บราซิล ที่มีปริมาณการส่งออก 5.7 ล้านตัน อันดับ 2 คือ ออสเตร-เลีย มีปริมาณการส่งออก 4.4 ล้านตัน (พิจารณาตาราง)

"ขณะนี้น้ำตาลทรายไทยสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้เป็นอย่างดี แต่คาดว่าปีนี้เราจะสามารถส่งออกได้ประมาณ 2.3 ล้านตัน เนื่องจากสภาวะความแห้งแล้งทำให้อันดับตกลงไปอยู่ที่ 4 โดยจะมีคิวบาแซงขึ้นมาแทน" อิสระ ว่อง กุศลกิจ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทมิตรผล กล่าวถึงศักยภาพน้ำตาลทรายไทยในตลาดโลก

นอกจากนี้เขายังกล่าวต่อไปว่า น้ำตาลทรายเป็นสินค้าส่งออกที่สามารถนำเงินตราเข้าประเทศประมาณ 15% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมด อีกทั้งเป็นอุตสาหกรรมเกษตรที่ช่วยแก้ปัญหาสังคม ที่เกิดจากการว่างงานในชนบท ทำให้เกิดการจ้างงานในชนบทมากกว่า 6 แสนคน

"โดยมีเงินทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาทต่อปี และยังทำรายได้ในรูปของภาษีให้กับรัฐบาลหลายพันล้านบาทในแต่ละปี" อิสระ กล่าวถึงผลดีของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

ต่อข้อถามที่ว่าทำไมน้ำตาลไทยถึงได้โดดเด่นในตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดในเอเชีย สืบเนื่องจากประเทศในเอเชียไม่รวมออสเตรเลีย ประเทศไทยเป็นหนึ่งเดียวที่ผลิตน้ำตาลทราย และสามารถส่งออกไปจำหน่ายได้มากที่สุด อีกทั้งความต้องการการบริโภคน้ำตาลในเอเชียสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การผลิตน้ำตาลไม่เพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งอาการ "โรคขาดน้ำตาลทรายของคนเอเชีย" เรื้อรังมาโดยตลอด อย่างเช่นตั้งแต่ปี 2533-2540 อัตราการบริโภคน้ำตาลทรายในเอเชียสูงกว่าอัตราการผลิตเฉลี่ย 5.40% และอาการเช่นนี้จะยังคงมีต่อไปในอนาคต โดยคาดว่าการบริโภคตั้งแต่ปี 2541-2548 จะสูงกว่าการผลิตน้ำตาลทรายประมาณ 9.79%

"เราคาดว่า ปีนี้การบริโภคน้ำตาลทรายในเอเชียจะสูงถึงประมาณ 48 ล้านตัน ขณะที่การผลิตรวมมีเพียงประมาณ 37 ล้านตัน และถ้ามองถึงอัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้จะสูงขึ้นประมาณ 2-2.5% ต่อปี จึงบอกได้เลยว่าน้ำตาลทรายไทยมีอนาคตแน่นอน" อิสระกล่าว


ต้นทุนผลผลิตต่อไร่ยังสูง

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายประเทศไทยได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรงงานน้ำตาลได้ลงทุนในการพัฒนาเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาผลิต และส่งเสริมการพัฒนาในการผลิตเครื่องจักรเพื่อใช้ภายในประเทศ จนสามารถลดการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ และสามารถส่งออกเทคโนโลยีเครื่องจักรไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลต่ำกว่าต้นทุนมาตรฐานของโลก และปัจจุบันต้นทุนในส่วนนี้ของไทยถือว่าต่ำที่สุดในโลก

"ปัจจุบันโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศมีกำลังการผลิตรวมค่อนข้างสูง สามารถหีบอ้อยที่มีอยู่โดยใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น ถือว่าเป็นระยะเวลาหีบอ้อยที่สั้นมาก และจากกำลังการผลิตที่มีอยู่นั้นสามารถหีบอ้อยได้มากกว่า 70 ล้านตันอ้อย" อิสระกล่าว

แต่ถ้ามองถึงต้นทุนด้านไร่อ้อยแล้วปรากฏว่านับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา ต้นทุนส่วนนี้กลับสูงขึ้นเนื่องจากค่าแรงงาน ค่าที่ดินเพิ่มขึ้น ขณะที่ต้นทุนเฉลี่ยทางด้านไร่อ้อยของโลกเริ่มลดลง ทำให้ผลผลิตอ้อยต่อไร่และคุณภาพอ้อยยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ โดยผลผลิตอ้อยต่อไร่ของไทยปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 7-8 ตันต่อไร่ เมื่อเทียบกับประเทศโคลัมเบีย, ออสเตรเลีย, บราซิล, อินเดีย, จีน และคิวบา ซึ่งได้ผลผลิตอ้อยต่อไร่ 21.6, 12.77, 11, 10.24, 9.1 และ 8.72 ตามลำดับ

"จะเห็นว่าอุตสาหกรรมเรายังมีศักยภาพในการพัฒนา ให้สามารถผลิตน้ำตาลทรายเพื่อการส่งออกแข่งกับบราซิลและออสเตรเลียได้ เพียงแต่ทางการเข้ามาดูแลอย่างจริงจัง หากเข้ามาช่วยในภาคผลผลิต ในส่วนของชาวไร่อ้อยให้สามารถเพิ่มผลผลิตอ้อยจากเดิม ให้เพิ่มขึ้นเป็น 10-12 ตันต่อไร่ได้" อิสระ กล่าว

เขายังกล่าวต่อไปว่า ถ้าทำได้จะทำให้ในอนาคต ประเทศไทยจะเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับ 1 ของโลกได้ และสามารถทำรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปีได้อย่างแน่นอน

แต่คำถามต่อมา คือ หากเปิดเสรีทางการค้าแล้วสถานการณ์น้ำตาลทรายของไทยจะยังคงสดใสเช่นนี้อยู่หรือไม่ ซึ่งคำถามนี้ยังคาใจของวงการน้ำตาลทรายอยู่เสมอ เพราะเมื่อเปิดเสรีการค้าแล้วไทยจะสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้มากแค่ไหน ถ้ามองดูเฉพาะต้นทุนของโรงงานแล้วไทยสามารถแข่งขันได้

"แต่ถามว่าจะแข่งขันไปได้นานแค่ไหน เพราะจุดอ่อนของเราอยู่ที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำมาก คือ ต้นทุนโรงงานถูกแต่ต้นทุนต่อไร่ยังสูง ดังนั้นคาดว่าภายใน 3-4 ปี ข้างหน้าเราแข่งขันกับเขาได้ แต่หลังจากนั้นไม่แน่ใจว่าจะแข่งขันกับเขาได้หรือไม่" ทัศน์ วนากรกุล ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดของกลุ่มบริษัท มิตรผล กล่าว


ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย
ปัญหาไม่ควรมองข้าม

แม้ว่าผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลจะมองโลกในแง่ดีถึงแนวโน้มอุตสาหกรรมของตัวเอง แต่ถ้ามองลงไปยังชาวไร่อ้อยแล้ว ปรากฏว่ากำลังประสบปัญหาจากภาวะภัยแล้งของดินฟ้าอากาศ ทำให้ปีนี้จะมีปริมาณอ้อยลดต่ำลง รวมทั้งผลผลิตอ้อยจะลดลงไปอยู่ที่ 83 กิโลกรัมต่อตัน จากเดิมที่ได้สูงถึง 98 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ขณะที่ต้นทุนชาวไร่อ้อยกลับเพิ่มสูงขึ้น

เมื่อพิจารณาจากปริมาณอ้อยที่จะได้ในปีการผลิตนี้ประมาณ 42 ล้านตันอ้อย และกำไร 70% ชาวไร่อ้อยจะได้รับราคาอ้อยขั้นต้น 764.90 บาทต่อตัน และเมื่อรวมจากการขายกากน้ำตาลของโรงงานอีก 22.20 บาทต่อตันอ้อย ชาวไร่อ้อยจะมีรายได้ขั้นสุดท้าย 785.92 บาทต่อตัน

"แต่ขณะนี้ชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยขั้นสุดท้ายเพียง 600 บาทต่อตันเท่านั้น แต่ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 700 บาทต่อตันซึ่งไม่คุ้ม ดังนั้นอยากให้รัฐบาลเร่งหามาตรการให้ชาวไร่อ้อย ได้รับราคาอ้อยขั้นสุดท้ายไม่ต่ำกว่า 758 บาทต่อตัน"

ดังนั้นอนาคตอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยจะมั่นคงได้ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและนโยบายของรัฐบาลว่าจะให้การสนับสนุนมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของประเทศ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มี ตัวอย่างความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ก็คือ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซียเดิมเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำตาลเพื่อการส่งออกรายใหญ่ แต่เนื่องจากรัฐบาลไม่ให้ความสำคัญ ทำให้ปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมดังกล่าวทั้ง 2 ประเทศถดถอยลงอย่างรุนแรง จนไม่สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้เพียงพอกับการบริโภค และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซียต้องนำเข้าน้ำตาลทรายปีละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน

"ดังนั้นอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของเราจะเดินทางไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับนโยบายและเป้าหมายที่เด่นชัดของรัฐบาล" อิสระกล่าวตบท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us