Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541
11 ยุทธวิธีเพื่อความอยู่รอด             
 

   
related stories

จุดพลิกผัน สถาปนิกไทย
เคทีจีวาย บุกตลาดต่างประเทศ




เมื่อภาพของช่องทางงานใหม่ๆ อาจจะเข้ามาหลังปี 2543 ณ วันนี้ สถาปนิกเองก็จำเป็นต้องคิดค้นงานต่างๆ ทำไปก่อนเพื่อความอยู่รอด และประคองตัวไปให้ได้ เพื่อฟันฝ่าไปให้ถึงเวลาดังกล่าว

การลดขนาดองค์กรให้เล็กลง หรือการซีร็อคย่อองค์กร โดยการลดพนักงานหลายบริษัทจากคนร้อยกว่าคน อาจจะลดเหลือเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น ซึ่งมาตรการนี้กล่าวได้ว่าปัจจุบันทุกบริษัทได้ทำไปแล้ว

หลังจากนั้นก็พยายามมองงานใหม่เข้ามา จากการสอบถามและการสัมมนาของสมาคมสถาปนิกเองพบว่า สิ่งแรกที่จะแวบเข้ามาในหัวสมองของระดับผู้บริหารบริษัทก็คือ การมองงานในต่างประเทศในแถบเอเชียด้วยกัน

นิติศักดิ์ ให้ความเห็นกับ "ผู้จัดการรายเดือน" เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า แต่ละบริษัทจะมีข้อจำกัดเหมือนกันว่าเขาพร้อมจะไปแค่ไหน และหลายๆ ประเทศ เช่น มาเลย์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ตอนนี้ตลาดก็ซบเซา ประเทศบรูไนที่เป็นประเทศร่ำรวยก็จริง แต่ตลาดก็แคบ เพราะเจ้าของเงินคือสุลต่านเพียงคนเดียว ส่วนทางด้านเมืองจีนยังค่อนข้างดีอยู่ เช่นเดียวกับทางด้านตะวันออกกลางก็ยังมีความเป็นไปได้

สุนันทพัฒน์ แห่งบริษัทเคทีจีวาย ซึ่งขณะนี้มีงานออกแบบในต่างประเทศหลายโครงการให้ความเห็นว่า ถ้าบริษัทใดที่มีการเตรียมตัวที่ดี ก็อาจจะมีโอกาสในการรับงานต่างประเทศ เพราะยังมีจุดดีในเรื่องที่ทำให้ประเทศเหล่านั้นยอมรับสถาปนิกจากเมืองไทย คือเขาเคยใช้สถาปนิกต่างประเทศ ซึ่งราคาแพงมาก เมื่อเขาเห็นผลงานว่ามีสถาปนิกมาตรฐานอยู่เมืองไทยแค่นี้เอง ทำไมไม่ใช้ด้วย และยิ่งเป็นคนเอเชียด้วยกันก็จะง่ายกว่าชาวตะวันตก (อ่านล้อมกรอบเคทีจีวายบุกตลาดต่างประเทศ) แต่เมื่องานต่างประเทศเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการทำตลาด ก็ต้องหันกลับมองหางานในประเทศประทังไปก่อนต่อไป เป็นยุทธวิธีที่ 3 คือมองว่าเคยได้งานจากแหล่งไหนก็ต้องเพิ่มความเข้มข้นในการเอางานจากแหล่งนั้นเข้ามา เช่นเคยได้งานจากส่วนราชการก็ต้องพยายามติดต่อให้ได้เข้ามาอีก

4. ต้องพยายามมองงานข้างเคียงว่าพอจะให้บริการอะไรเพิ่มได้บ้าง 5. การสร้างโอกาสใหม่ให้เกิดขึ้นเช่นการเข้าไปออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมพื้นบ้านซึ่งเมื่อก่อนอาจจะทำโดยไม่ต้องอาศัยหลักวิชามากนัก 6. มีการก้าวถอยหลังไป 1 ก้าว ดูงานเมื่อก่อนไม่ยอมทำ เพราะเล็กน้อยเกินไปแต่ตอนนี้ต้องเอาไว้ก่อน เช่น งานทางด้านซ่อมแซมอาคาร ซึ่งคาดว่าผลมาจากการเร่งรีบก่อสร้างในช่วงที่เศรษฐกิจบูม ทำให้อาคารเหล่านั้นอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและอายุการใช้งานไม่เต็มที่ ซึ่งน่าจะมีจำนวนมากมาย

ยุทธวิธีที่ 7 ต้องพยายามพลิกแพลงวัสดุเหลือใช้ในองค์กรมาทำประโยชน์ 8. อาจจะขยายงานไปทางรับเหมาด้วย 9. ทำการรีเสิร์ชเพื่อการลงทุน 10. อยู่เฉยๆ สำหรับบริษัทขนาดกลางๆ ค่าใช้จ่ายไม่ได้สูงมากนักและรายได้อยู่ตัวแล้ว

และ 11. สุดท้ายเมื่อไปไม่ไหวแล้วจริงๆ ก็ควรปิดบริษัทไปเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us