|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
รมว.คลัง ปลุกพลังพนักงานธนาคารทหารไทยรวมเป็นหนึ่งเดียว หลังเข้ารับฟังผลควบรวมกิจการจากผู้บริหารแบงก์ สร้างยุทธศาสตร์ 3 ข้อ ดึงจุดเด่นของทั้ง 3 แห่ง เครือข่ายสาขา วิเคราะห์โครงการ มีฐานเอสเอ็มอี พร้อมเป็นธนาคารในภูมิภาค ปฏิเสธข่าวควบรวมบง.สินเอเซียกับทหารไทย เผยมีแผนอยู่ในใจแล้ว ด้านผลงานเร่งลุยลดหนี้เน่ารายใหญ่ให้หมดในไตรมาสสาม เร่งกำจัดมะเร็งร้ายในการดำเนินธุรกิจหวังยกระดับเป็น Good Bank
วานนี้ (21 ก.ค) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ตรวจเยี่ยมธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อรับฟังสรุปผลการควบรวมกิจการของ 3 สถาบันการเงิน คือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) บรรษัทอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที) และธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน) โดยมีนายสมหมาย ภาษี รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการบริหาร และ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารให้การต้อนรับ
นายสมคิด กล่าวว่า หลังการควบรวมธนาคารทหารไทยจะมีศักยภาพสูง จากการที่มีจุดเด่นของแต่ละแห่งมาผสมเพื่อดำเนินธุรกิจ คือ ทหารไทย มีเครือข่ายสาขา พนักงาน และฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งในไอเอฟซีที มีความสามารถและเชี่ยวชาญทางด้านสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่ มีทีมงานวิเคราะห์โครงการ ขณะที่ดีบีเอสมีความเชี่ยวชาญ ในระดับภูมิภาค
ทั้งนี้ ธนาคารทหารไทย มีเป้าหมายของการควบรวมกิจการอย่าง สมบูรณ์ตามกฎหมายภายในวันที่ 1 กันยายนนี้ ซึ่งธนาคารได้มี นโยบายที่สำคัญคือการกระชับความสัมพันธ์ของพนักงานในธนาคาร ให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อประโยชน์สูงสุด
สำหรับธนาคารแห่งใหม่ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ 3 ข้อใหญ่ๆ คือ 1. ในระยะ 4-5 ปี ประเทศไทยจะมีการพัฒนาขั้นพื้นฐาน ครั้งใหญ่ ซึ่งจะต้องดำเนินการด้านต่างๆ เข้ามารองรับระบบสาธารณูปโภค ดังนั้น ธนาคารทหารไทยมีจุดแข็งและเครือข่ายเกี่ยวกับโครงการใหญ่ๆ ที่จะเข้ามาแข่งขันกับตลาด และเชื่อว่ามีศักยภาพสูงสุด 2. ธนาคารทหารไทย มีมาร์เกตแชร์ของฐานลูกค้าเอสเอ็มอีสูงถึง 15% และที่ผ่านมาได้พัฒนาธุรกิจเอสเอ็มอีได้ดี จึงเชื่อว่าจะรองรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่จะเติบโตในอนาคตได้ และ 3. ผู้ร่วมทุนอย่างดีบีเอสเข้าถึงโครงการใหญ่ในต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง จีน มีกองทุนรวมของทหารไทยที่เน้นตลาดในประเทศ ในขณะที่ไอเอฟซีที มีฐานของต่างประเทศ ทำให้สามารถขยายฐานกองทุนรวมได้ทั้ง 2 ตลาด โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาควบรวมกิจการกัน
"หลังจากควบรวมแล้ว คลังจะปล่อยให้ทีม บริหารสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามอิสระเป็นธนาคารพาณิชย์ทั่วไป การแข่งขันในเชิงธุรกิจสามารถทำได้ตามปกติ ทั้งโครงการของรัฐและเอกชน มั่นใจว่าทหารไทยมีศักยภาพสูงทางด้านเงินกองทุน ฐานะที่อยู่อันดับ 5 ต่อไปจะก้าวไปสู่ธนาคารในภูมิภาคได้"
นายสมคิด กล่าวว่านโยบายของรัฐบาลต้องการที่จะให้สถาบันการเงินมีความเข้มแข็ง โดยได้วางรากฐานของการควบรวมกิจการเพื่อเสริมศักยภาพ อย่างที่เคยดำเนินการมาแล้วประสบความสำเร็จคือ ธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนคร ซึ่งมีผลการดำเนินงานดีอย่างต่อเนื่อง
ขณะที่ธนาคารทหารไทยเองก็มีผลประกอบการที่ดีมีกำไรสุทธิที่ก้าวกระโดด ตัวเลขของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ลดลงอย่างมาก ขณะนี้เหลืออยู่ประมาณ 10-11% ถือว่าเป็นธนาคารยุคใหม่ กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นจึงยังไม่มีนโยบายที่จะเร่งลดสัดส่วนของการถือหุ้นออกในขณะนี้
ส่วนนโยบายการจัดการบริษัทเงินทุน (บง.) สินเอเชีย ที่กระทรวงการคลังได้ถือหุ้นอยู่นั้น กระทรวงการคลังจะไม่นำบง.สินเอเชียเข้ามาควบรวมกับธนาคารทหารไทยอีก โดยขณะนี้มีแผนที่ จะดำเนินการกับ บง.สินเอเชียอยู่แล้ว และยังไม่ ถึงเวลาที่จะต้องเร่งตัดสินใจ เชื่อว่าสามารถสรุป แนวทางได้อย่างเหมาะสม
นายปราการ ทวิสุวรรณ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า จาก การหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในเบื้องต้นแล้วในการลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ หรือเอ็นพีแอล ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 33,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของสินเชื่อรวมของธนาคาร ทั้งนี้เป็นเอ็นพีแอลเฉพาะของทหารไทยเพียงธนาคารเดียวยังไม่ได้รวมกับ ไอเอฟซีที และธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ
ประเด็นที่หารือกันในเบื้องต้นนั้นคือนำเอ็นพีแอลรายใหญ่ขายให้กับผู้ที่สนใจจะซื้อ ซึ่งในเรื่องนี้ต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังด้วย เพราะกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ทั้งนี้คาดว่าคง ไม่มีปัญหาในการดำเนินการแต่อย่างใด เพราะรมว.คลังได้กำชับธนาคารมาโดยตลอดว่าให้เร่งกำจัดเอ็นพีแอลให้ได้โดยเร็วเพราะเอ็นพีแอลเปรียบเสมือนเป็นมะเร็งร้ายของการทำธุรกิจ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะต้องรอให้มีการรวมบัญชีของธนาคารทั้ง 3 แห่งให้เสร็จเรียบ ร้อยก่อน ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้เรียบ ร้อยภายในไตรมาสสามของปีนี้ โดยที่ผ่านมาธนาคารได้ขายเอ็นพีแอลให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด หรือบสก.ไปแล้ว กว่า 20,000 ล้านบาท ทำให้ยอดเอ็นพีแอลของธนาคารลดลงได้จำนวนมาก
"หากต้องการลดเอ็นพีแอลให้ได้เร็ว ก็ต้อง ขายเอ็นพีแอลรายใหญ่ออก และต้องขายขาด คาดว่าไตรมาสสามจะสรุปได้ แต่ต้องได้รับการเห็นชอบจากรมว.คลังด้วย" นายปราการ กล่าว
นายปราการ กล่าวว่า หากรวม 2 สถาบันการเงินเข้ามาด้วยแล้ว ยอดเอ็นพีแอลรวมของทหารไทยจะอยู่ที่ประมาณ 54,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของพอร์ตสินเชื่อ ทั้งนี้สินเชื่อ ทั้งหมดหลังควบรวม จะอยู่ที่ประมาณ 530,000 ล้านบาท ซึ่งเป้าของทหารไทยก่อนควบรวมนั้นต้องการลดเอ็นพีแอลให้เหลือร้อยละ 8 แต่หลังจากควบรวมนั้นต้องการให้เหลือร้อยละ 6-7 ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ลดเอ็นพีแอลเหลือตัวเลขหลักเดียว
"นอกจากที่จะทำตามนโยบายของธปท.ให้เอ็นพีแอลในระบบลดลงแล้ว ธนาคารก็ต้องการ ที่จะล้างหนี้เน่าให้หมดเพื่อที่จะยกระดับให้ เป็น GOOD BANK ทั้งนี้การขายเอ็นพีแอล ในส่วนนี้ธนาคารจะไม่ขายให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์พญาไท (PAMC) เพราะยังถือว่าเกี่ยวข้องกับธนาคารอยู่และจะไม่เป็นการขาย ขาดตามนโยบายที่ธนาคารได้วางไว้" นายปราการ กล่าว
|
|
|
|
|