Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2541








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2541
ภัทรฯ เปิดใจ "IBC-UTV" ดีลหิน             
 

   
related stories

ไอบีซีผนึกยูทีวี เดิมพันครั้งใหญ่ของทีเอ
รายละเอียดการรวมกิจการ

   
search resources

ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น, บมจ.




ข่าวการรวมกิจการระหว่างสองยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเคเบิลทีวี IBC และ UTV มีออกมาเป็นระยะๆ คนส่วนใหญ่ก็ไม่คิดว่าดีลนี้จะเป็นจริงขึ้นมาได้ เพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็นคู่แข่งที่มีความแข็งแกร่งด้วยกันทั้งคู่ แต่ต่อมาเมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจเริ่มเลวร้ายลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ทำให้ทั้งสองฝ่ายต้องหันหน้าเข้ามาปรึกษากัน ในปัญหาหลักที่เผชิญร่วมกันอยู่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยมี บล.ภัทร ทำหน้าที่เป็น Central Advisor ให้กับทั้งสองฝ่าย

เรื่องโดย มานิตา เข็มทอง

ญหาหนักที่ทั้ง IBC และ UTV แบกอยู่นับตั้งแต่เปิดดำเนินธุรกิจมาก็คือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงกว่ารายได้ที่จัดเก็บจากสมาชิกเป็นจำนวนมาก  ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าซื้อหรือเช่าโปรแกรมรายการจากต่างประเทศ และเมื่อรัฐบาลประกาศปล่อยค่าเงินบาทลอยตัว ทำให้ค่าเงินบาทตกต่ำลงชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ช่องว่างระหว่างค่าใช้จ่ายกับรายได้ของทั้งสองบริษัทยิ่งห่างกันมากขึ้น

เมื่อต่างก็ประสบชะตากรรมร่วมกัน หนทางที่จะทำให้อยู่รอดได้ทั้งสองฝ่ายก็มีอยู่เพียงไม่กี่วิธีคือ  การปรับเพิ่มราคาค่าบริการที่เก็บจากสมาชิก  หรือการรวมกิจการกัน หรือการเลิกดำเนินกิจการไปเลย

สำหรับวิธีแรกนั้น มีความเป็นไปได้ต่ำมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีนี้ ไม่ใช่สิ่งจำเป็นนักสำหรับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในยุคเศรษฐกิจเฉกเช่นปัจจุบัน  ประกอบกับสมาชิกส่วนใหญ่ก็ยังเป็นคนในเมือง การกระจายออกสู่ภูมิภาคยังน้อยมาก ดังนั้น หากทั้ง IBC และ UTV เลือกใช้วิธีขึ้นค่าบริการก็คงไม่ใช่ทางออกที่ดีนักในการรักษาฐานลูกค้า ซึ่งถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจ อีกทั้งมิได้เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวด้วย

ส่วนวิธีสุดท้ายนั้นแทบจะไม่ต้องกล่าวถึง เพราะหากทั้งสองเลือกวิธีนี้จริง ผู้ที่จะเสียหายมากที่สุดก็คือ สมาชิก ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็คงไม่ต้องการให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้น ฉะนั้นยังเหลืออีกหนึ่งทางเลือกก็คือการรวมกิจการกัน ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นวิธีเดียวที่มีความเป็นไปได้สูงสุด เพราะเมื่อทั้งสองรวมกิจการกัน จะทำให้มีอำนาจในการต่อรองซื้อโปรแกรมจากต่างประเทศสูงมากขึ้น  รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการบริหารงานก็ลดลงด้วย ดังนั้นเมื่อสามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ ทั้งสองบริษัทก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นราคา หรือหากจำเป็นต้องขึ้นจริงๆ ก็จะขึ้นเพียงเล็กน้อย  เพื่อชดเชยส่วนที่ยังขาดทุนอยู่

วีธีนี้จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ถือหุ้นของทั้งสองฝ่ายที่จะได้รับประโยชน์ก้อนโตร่วมกัน ซึ่งรวมถึงผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์ไปด้วย ทั้งหมดนี่เองเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ทั้งสองฝ่าย หันมาศึกษาความเป็นไปได้ในการรวมกิจการกันอย่างจริงจัง

แน่นอนว่าดีลนี้ไม่ใช่ดีลธรรมดาแน่ เพราะต่างฝ่ายต่างก็เป็นทั้งยักษ์ทั้งเสือด้วยกันทั้งคู่ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนักที่จะจับให้เสือสองตัวยอมมาอยู่ในถ้ำเดียวกัน

ผู้ที่รับบทหนักในการจับเสือสองตัวนี้เข้าถ้ำเดียวกัน ก็หนีไม่พ้นทีมงานฝ่ายวาณิชธนกิจของ บล.ภัทร เนื่องจากทั้งสองบริษัทต่างก็เป็นลูกค้าของ บล.ภัทรด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นความยุ่งยากในเบื้องต้นก็คือ ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการให้ บล.ภัทรเป็นที่ปรึกษาให้กับตนเอง ซึ่งตามปกติดีลการรวมกิจการทั่วๆ ไป แต่ละฝ่ายก็จะมีที่ปรึกษาของตนเองเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน และที่สำคัญคือ แต่ละฝ่ายจะมั่นใจได้ว่า ที่ปรึกษาก็จะทำหน้าที่พิทักษ์ผลประโยชน์ให้กับฝ่ายของตนได้อย่างเต็มที่

แต่สำหรับกรณีนี้ หากต่างฝ่ายต่างใช้ที่ปรึกษาของตนเอง ดีลก็อาจจะไม่จบ เนื่องจากมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาในรายละเอียดเยอะมาก อาทิ โครงสร้างการถือหุ้น สัดส่วนการถือหุ้น โครงสร้างการบริหาร และเรื่องพนักงานของทั้ง 2 บริษัท เป็นต้น ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างไม่ต้องการเสียเปรียบซึ่งกันและกัน

บล.ภัทรตกที่นั่งคนกลางตั้งแต่แรก จึงพยายามหาหนทางที่จะประสานทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน ด้วยการเสนอตัวเข้าเป็นที่ปรึกษากลาง (CENTRAL  ADVISOR) เพื่อประสานผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน แม้จะไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการวางตัวให้เหมาะสม โดยไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากเกินไป

"ตอนแรกเราก็คิดว่าดีลนี้จะไม่จบเหมือนกัน  เพราะความไม่เข้าใจกันของทั้งสองฝ่ายในดีลนี้เกิดขึ้นตลอด แต่ผมคิดว่าสถานการณ์แบบนี้ หากต่างฝ่ายต่างเดินด้วยตนเองก็ลำบาก  แต่ถ้ารวมกันก็น่าจะสามารถให้บริการต่อไปได้ทั้งสองราย  นี่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายต้องใส่ใจทุกครั้ง เมื่อเกิดความไม่เข้าใจกันในการต่อรอง  และเราก็จะเป็นผู้ที่เข้าไปประสานให้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย เราพยายามอ่านเกมให้ออก  พยายามมองผลประโยชน์ของทั้ง 2  ข้างให้เป็นกลางให้ได้" ศุภชัย วัชรวสุนธรา ผู้อำนวยการฝ่าย ฝ่ายวาณิชธนกิจ บล. ภัทร กล่าวถึงความยากของดีลนี้

"ทุกดีลมีความยากเหมือนกัน หากแตกต่างกันที่เงื่อนไข สำหรับกรณี IBC-UTV นี้ ยากตรงที่ต่างฝ่ายต่างเป็นคู่แข่งกันมาก่อน ในแง่ของการทำดีลก็จะยาก เพราะจะมีเบรกกันไปตลอดทาง ต้องมีตัวกลางคอยดูว่า ที่เบรกเพราะอะไร และคอยเข้าไปไกล่เกลี่ยให้เข้าใจกัน ดีลนี้จึงค่อนข้างจะใช้เวลานาน เพราะต้องเดินกันทีละก้าวจนมีเจอกัน" นเรศน์ ชุติจิรวงศ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ บล.ภัทร กล่าวเสริมในฐานะหนึ่งในทีมงานที่ปรึกษากลาง

อย่างไรก็ตาม ดีลนี้ บล.ภัทรก็ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานผลประโยชน์ได้ดีทีเดียว

สำหรับขอบข่ายหน้าที่ที่ภัทรต้องรับผิดชอบ นอกเหนือจากการทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากลางในการเจรจาต่อรองของทั้งสองฝ่ายแล้วก็คือ การเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน ประเมินมูลค่าของกิจการ และคิดรูปแบบวิธีการรวมกิจการ ติดต่อกับทางตลาดหลักทรัพย์ฯ และ ก.ล.ต. รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจในด้านการเงินที่เกิดจากการรวมกิจการ เช่น ถ้ารวมกันแล้วเหลือคนเท่านี้ เหลือค่าใช้จ่ายเท่านี้ จะทำให้ผลการดำเนินงานดีขึ้นอย่างไร หรือจะส่งผระทบต่อราคาหุ้นหรือมูลค่าของผู้ถือหุ้นอย่างไร เป็นต้น ส่วนในเรื่องของรายละเอียดการบริหารธุรกิจ ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้บริหารของทั้งสองฝ่ายที่จะต้องตกลงกันให้ได้ว่า เมื่อรวมกันแล้วจะเดินไปในทิศทางไหน อย่างไรต่อไป


สัดส่วนการถือหุ้นต้อง 50:50

การตกลงรวมกิจการของทั้งสองฝ่ายนั้นมีเงื่อนไขที่ต้องการร่วมกันคือ ต้องการถือหุ้นฝ่ายละ 50:50 เท่าๆ กัน จึงเป็นหน้าที่ของที่ปรึกษาฯ ในการคิดออกแบบโครงสร้างการรวมกิจการที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย และหลังจากที่มีการพิจารณาข้อดีข้อเสียของรูปแบบการรวมกิจการหลายๆ ทางเลือกแล้ว ในที่สุดก็มาลงตัวที่ใช้วิธีของการรวมสินทรัพย์ของทั้งสองบริษัทเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งครึ่งออกเป็นสองส่วนให้ถือเท่าๆ กัน โดยใช้ IBC เป็นตัวตั้ง เนื่องจากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ IBC ออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 237,782,376 หุ้น ให้แก่ UTV ในราคาหุ้นละ 15 บาท จากนั้นก็นำเงินที่ได้ไปซื้อหุ้นสามัญของ TH ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ UTV รวมทั้งซื้อหุ้นสามัญและทรัพย์สินของบริษัทย่อยของ UTV ด้วย (ดูล้อมกรอบรายละเอียดการรวมกิจการ)

โครงสร้างผู้ถือหุ้นของ IBC ภายหลังจากรวมกิจการแล้ว ประกอบด้วยกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิมของ IBC ในสัดส่วน 51.53% และ TH ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ UTV (หรืออีกนัยคือ TA นั่น เอง) จำนวน 49.46% สำหรับสัดส่วนที่หย่อนไปจาก 50% ก็คือ ส่วนของ MCOT ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายหนึ่งของ UTV ที่ถืออยู่ประมาณ 3% (ดูตารางโครงสร้างผู้ถือหุ้นของ IBC หลังรวมกิจการ)

"อย่างที่บอกคือ ดีลนี้ไม่มีใครยอมเสียเปรียบใครหรอก เราใช้เวลาในการทำ TRANSECTION นี้ประมาณ 10 เดือน นับตั้งแต่วันแรกที่เรารับทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษากลาง ซึ่งดีลปกติจะไม่ค่อยใช้เวลานานขนาดนี้ แต่ที่ดีลนี้นานก็เพราะต้องใช้เวลาในการตกลงประโยชน์ที่ลงตัวทั้งสองฝ่าย" ศุภชัยกล่าวย้ำยืนยันผลประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับอย่างเท่าเทียมกัน

และแล้วทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี วันนี้ 2 ยักษ์ต่างยอมเก็บเขี้ยวมาจับมือกัน แต่อนาคตหากสถานการณ์เป็นใจ ความเปลี่ยนแปลงใดๆ สามารถเกิด ขึ้นได้เสมอ...

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us