|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
บอร์ด ACL ไฟเขียวควบกิจการกับ บง.บัวหลวง จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น "ธนาคาร สินเอเซีย" คาดอีก 1 ปีเริ่มเปิดดำเนินการแบงก์ใหม่ได้หลังแบงก์ชาติอนุมัติ พร้อมเปิดกลยุทธ์รองรับการแข่งขันกับรายใหญ่ เน้นการเป็น "Solution Bank" ให้บริการทั้งด้านการเงิน และบริการอื่นๆที่ไม่ใช่การเงิน ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ยังอยู่ในรูปของบริษัทย่อย ด้านบง.ทิสโก้ เปิดรายชื่อผู้ถือหุ้นใน holding company หลังยกระดับเป็นแบงก์พาณิชย์
นายชนก ช่างเรียน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเงินทุนสินเอเซียจำกัด (มหาชน) (ACL) เปิดเผยว่า เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2547 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เงินทุน สินเอเซีย มีมติอนุมัติการดำเนินการเพื่อยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ เต็มรูปแบบต่อกระทรวงการคลังโดยผ่านธนาคาร แห่งประเทศไทย โดยมีแผนที่จะควบหรือรวมกิจการ กับบริษัทเงินทุน บัวหลวง จำกัด ซึ่งหลังจากการควบหรือรวมกิจการแล้ว จะทำการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการว่า "ธนาคาร สินเอเซีย จำกัด (มหาชน)"
หลังจากที่บริษัทฯยื่นคำขออนุญาตดำเนินการ จัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์แล้ว กระทรวงการ คลังโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะใช้เวลาราว 6 เดือน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ และบริษัทฯจะมีเวลาในการดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเงื่อนไข ซึ่งรวมถึงการควบหรือรวมกิจการเป็นระยะเวลา 1 ปี
สำหรับเหตุผลที่บริษัทฯ ทำการควบ หรือรวมกิจการกับบริษัทเงินทุน บัวหลวง จำกัดนั้น เพราะบริษัทเงินทุน บัวหลวง จำกัด มีวัฒนธรรมองค์กรที่คล้ายคลึงกัน มีบุคลากรที่มีคุณภาพและมีฐานลูกค้าที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายของบริษัทฯ
ทั้งนี้ บริษัทฯ คำนึงถึงผลประโยชน์อันสูงสุด ของผู้มีส่วนได้เสียของบริษัททั้งสองเป็นอันดับแรก อันส่งผลให้ลูกค้าของบริษัททั้งสองได้รับบริการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถรับบริการด้านการเงินอื่นๆ อันเป็นประโยชน์เพิ่มเติม มากขึ้น อาทิ กรณีลูกค้าตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ได้มีการถือจนครบสัญญาแล้วลูกค้าสามารถเปลี่ยนตั๋วดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตามที่ธนาคารพาณิชย์มีได้
สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ ได้ทำการปรับกลยุทธ์เพื่อรองรับการแข่งขันจากธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ โดยเน้นการเป็น "Solution Bank" ด้วยการให้บริการทางด้านการเงิน (Financial Services) และการบริการทางด้านอื่นๆ (Non-Financial Services) สำหรับธุรกิจ หลักทรัพย์นั้น บริษัทฯ ยังคงรักษาไว้ในรูปแบบ ของบริษัทย่อยของบริษัทฯ ซึ่งจะประกอบธุรกิจ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทั้งทางด้านตราสารทุน และตราสารหนี้ พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยงานวิจัย เพื่อเป็นการให้ข้อมูลต่อนักลงทุนต่อไป
"ด้วยความพร้อมของบริษัทฯ ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ทำให้มีความมั่นใจว่าการขออนุญาต ยกระดับเป็นธนาคารพาณิชย์ในครั้งนี้ จะเป็นไป อย่างราบรื่น และสามารถดำเนินการให้บรรลุ เป้าหมายตามแผนการดำเนินงานที่ได้วางไว้อย่างแน่นอน" นายชนกกล่าว
ด้านบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ธนชาติ เปิดเผยว่า จากการเยี่ยมชมกิจการของบริษัทเงิน ทุนทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (TISCO) ผู้บริหารแจ้งให้ทราบว่า TISCO มีแผนที่จะตั้ง holding company ขึ้นมาถือหุ้นบริษัทต่างๆที่ TISCO ถือหุ้นอยู่ รวมถึงการถือหุ้นใน TISCO ด้วย ซึ่ง บริษัท holding company ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ จะมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นรวมถึงสัดส่วนการถือหุ้นเช่นเดียวกับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่มผู้ถือหุ้นใน TISCO โดยการจัดตั้งดังกล่าวจะดำเนินการภายหลังจากที่ TISCO จัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว เพื่อมิให้ผิดกฎของธปท. เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นใน TISCO
ทั้งนี้ บริษัท holding company ที่ตั้งขึ้น ใหม่นี้ จะมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นรวมถึงสัดส่วนการ ถือหุ้นเช่นเดียวกับโครงสร้างการถือหุ้นของกลุ่ม ผู้ถือหุ้นใน TISCO ซึ่งกลุ่มผู้ถือหุ้นใน TISCO ประกอบด้วย Domestic Shareholders ถือหุ้น 33% Foreign Shareholders ถือหุ้น 30% CDIB & Partners Investment Holding ถือหุ้น 14% Mizuho Corporate Bank ถือหุ้น 7% DB Group ถือหุ้น 6% Government of Singapore Investment Corp. ถือหุ้น 5% และ Thai NVDR Co., Ltd. ถือหุ้น 5%
|
|
 |
|
|