|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บลจ. กรุงไทย (KTAM) ในเครือแบงก์กรุงไทย (KTB) พร้อมสู้ศึกแข่งดุ ทุนหนา หลังได้พันธมิตรปึ๊กอย่างเครือซีพี พร้อมบริหารสินทรัพย์ 1.5 แสนล้านบาท แถมพร้อมลุยจีนปีหน้า
นายศรีภพ สารสาส กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM)ในเครือแบงก์กรุงไทย (KTB) กล่าวว่าการขายหุ้นเพิ่มทุนของ บลจ.กรุงไทย 30 ล้านหุ้น ให้บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และ บมจ.ทรีนีตี้ วัฒนา (TNITY) ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนที่บริษัทที่ปรึกษาการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เกียรตินาคิน เดวอนชายน์ ตรวจสอบสินทรัพย์เพื่อประเมินราคาหุ้นที่จะเสนอขาย
โดยเป็นการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนใหม่ และหุ้นเดิม ที่ธนาคารกรุงไทยจะลดสัดส่วนถือหุ้นใหญ่ คาดว่าภายในเดือนหน้า จะได้ข้อสรุปราคาขาย เชื่อว่าผู้ถือหุ้นเดิม คือธนาคารกรุงไทยจะได้รับประโยชน์จากราคาหุ้นที่เสนอขายครั้งนี้
นายศรีภพกล่าวว่า การขายหุ้นครั้งนี้ เพื่อให้ บลจ.กรุงไทยพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถปรับตัวรับการแข่งขันในธุรกิจจัดการลงทุน เมื่อปริมาณธุรกิจเพิ่มในอัตราจำกัดมากกว่าการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ
ดังนั้น จึงต้องเพิ่มขนาดทุน ซึ่งฐานทุนขนาดใหญ่จะได้เปรียบในการทำธุรกิจ เนื่องจากจะมีการประหยัดจากขนาด (economy of scale) ซึ่งธุรกิจเป็นความจำเป็นที่ต้องรวมตัวกัน เพื่อหาเป้าหมายธุรกิจ เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง รับมือการแข่งขันในอนาคต
"การขยายฐานนักลงทุนในระบบการเงิน ด้วยการดึงเม็ดเงินฝากมาลงทุนผ่านกองทุนรวม แม้จะมี ตลาดอีกมาก แต่อัตราการเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับต่ำ เนื่อง จากกลุ่มลูกค้าที่มีความเข้าใจ และต้องการลงทุนผ่าน กองทุนรวม มีจำกัด นอกจากนี้ บริษัทจัดการลงทุน ยังเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้การแข่งขันในธุรกิจ สูงขึ้น ด้วย การขยายการลงทุนไปต่างประเทศ จึงเป็น การ กระจายความเสี่ยงที่ดีอีกทางหนึ่ง" นายศรีภพกล่าว
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสถาบันประกันเงินฝากแล้ว เขาเชื่อว่านักลงทุนจะพิจารณาลงทุนผ่าน บลจ.มากขึ้น เนื่องจากผู้ฝากเงิน จะต้องพิจารณาความเสี่ยง และผลตอบแทนในการลงทุน เทียบระหว่างการลงทุนใน กองทุนรวม กับการออมเงินกับแบงก์ การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน จึงมีความจำเป็นมากขึ้น
สำหรับบริษัทจัดการลงทุน หลังจากที่สำนักงาน ก.ล.ต. เปิดให้ขออนุญาตประกอบธุรกิจกองทุนรวมมากขึ้น บริษัทจัดการลงทุนยิ่งต้องพิจารณาความพร้อมที่จะรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยต้องคำนึงถึงส่วนทุนกับการบริหาร ที่ต้อง มีความรับผิดชอบมากขึ้น
เมื่อมีทุนมาก ก็มีความพร้อมที่จะบริหารสินทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นเดียวกับ บลจ.กรุงไทย ที่มีทุนจดทะเบียนเพียง 200 ล้านบาท แต่บริหารเงิน ลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาท และต้องหาพันธมิตรธุรกิจที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเอื้ออำนวยกัน
ส่วนภาครัฐ ก็ควรจะควบคุมอย่างเข้มงวด เมื่อบริษัทจัดการประสบปัญหา รัฐไม่ควรอุ้ม เพื่อให้การดำเนินงานสะท้อนภาพที่แท้จริง โดยต้องแยกให้ออกระหว่างความมั่นคงกับการประกอบธุรกิจ
"เนื่องจากแนวโน้มของธุรกิจจัดการลงทุน จะมีการแข่งขันที่รุนแรง เป็นแรงกดดันให้ต้องเตรียมการรับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกองทุน ไม่ควรจะมีผู้ประกอบการมากเกินไป หากจำนวนผู้ประกอบการมีมาก ขนาดเม็ดเงินในธุรกิจ ก็ต้องมีขนาดที่พอเหมาะ การรวมกันเพื่อสร้าง ฐานทุนที่ใหญ่ มีการแยกประเภทของธุรกิจ และส่วนสนับสนุนที่ชัดเจน จึงมีความสำคัญ"นายศรีภพ กล่าว
ปัจจุบัน ธุรกิจจัดการลงทุนมีขนาดทุนไม่ใหญ่ มาก เนื่องจากความจำกัดของสินค้าในตลาดการเงิน คือไม่มีความหลากหลายของสินค้าให้เลือกลงทุน สินค้าที่สามารถลงทุนได้ ถูกจำกัดในตลาดหุ้น และตราสารหนี้ โดยตลาดตราสารหนี้ สภาพคล่องมีน้อย ทำให้ธุรกิจขยายตัวได้ไม่มากนัก ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงต้องคำนึงถึงภาพธุรกิจในอนาคต และเตรียมความพร้อม สิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจนี้ คือการมีธรรมมาภิบาลที่ดี บริหารเงินด้วยความรอบคอบ
สำหรับกรณีการขยายธุรกิจไปจีนของ บลจ. กรุงไทย หากผู้ถือหุ้นใหญ่พิจารณาแล้วเห็นควร บริษัท ในฐานะที่มีประสบการณ์บริหารเงินลงทุน ก็ต้องร่วมเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่จะขยายไปจีนด้วย ทั้งนี้ ภายใน 20 ปีข้างหน้า เขาเชื่อว่าเศรษฐกิจ จีนจะมีขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ของเศรษฐกิจโลกแน่นอน
ดังนั้น การที่บริษัทมีความเกี่ยวข้องกับจีน จึงน่าจะมีประโยชน์ระยะยาว ระหว่างนี้ มีการเข้าเขตเศรษฐกิจจีนด้วย ว่าพื้นที่ไหน เป็นพื้นที่มีความเติบโตของธุรกิจการเงิน ประมาณไตรมาส 4 ปีนี้ จะได้เห็น แผนธุรกิจ บลจ.กรุงไทย ที่ชัดเจน หลังพ้นความเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว
นายศรีภพกล่าวว่า บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทจัดการลงทุน เป็นธุรกิจที่มีรายได้ค่าธรรมเนียม การบริหาร เมื่อหลักทรัพย์ที่ลงทุนประสบปัญหา บริษัทจัดการลงทุนจะได้รับผลกระทบมากกว่า เนื่อง จากสูญเสียค่าธรรมเนียมการจัดการ และสูญเสียเงินลงทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์นั้น
ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จึงต้องควบคุมใกล้ชิด พิจารณาว่า มีหลักประกันการออกเพียงพอหรือไม่ หรือหากจำเป็นจริง อาจต้องวางเกณฑ์ให้ สามารถเอาผิดบริษัทที่ปรึกษาการเงิน หรือวางเกณฑ์ ให้บริษัทที่ปรึกษาการเงิน มีช่วงเวลาควบคุมตรวจสอบ หลังเสนอขายหลักทรัพย์
บริษัทจัดการลงทุนส่วนใหญ่ มักจะโดนบีบให้ ปฏิบัติตามเกณฑ์การลงทุนของกองทุน ทำให้อาจจะต้องลงทุนในตราสารบางอย่าง ที่ไม่มีหลักประกันเพียงพอ มีระดับความน่าเชื่อถือต่ำ หรือมีความเสี่ยงสูงกว่าที่ต้องการลงทุน
"นอกจากนี้ ภายหลังการเสนอขาย บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ก็ไม่มีการติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์ ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ก.ล.ต. ควรจะเข้ามาควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด" นายศรีภพกล่าว
|
|
|
|
|