|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติ เผยแผนควบรวมบริษัทในเครือของธนาคารกรุงเทพ 2 แห่ง "บง.สินเอเซีย - บง.บัวหลวงเอเชีย" สามารถทำได้ แต่ห้ามแบงก์กรุงเทพเป็นแกนนำ รวมทั้งต้องตัดเม็ดเงินกองทุนที่ลงทุนในแบงก์ใหม่ เพราะมีใบอนุญาตประกอบการธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว พร้อมอนุญาตให้ถือหุ้นในแบงก์ใหม่ชั่วคราว
นางธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีนโยบายจะควบรวมกิจการบริษัทในเครือ 2 แห่ง ว่า การควบ รวมกิจการระหว่างบริษัทเงินทุน สินเอเซีย จำกัด กับบริษัทเงินทุน บัวหลวง เอเชีย จำกัด เพื่อขอใบอนุญาตประกอบการเป็นธนาคารพาณิชย์เต็มรูปแบบ (Full Banking) สามารถทำได้ หากแกนนำในการจัดตั้งไม่ใช่ธนาคารกรุงเทพ แต่เป็นผู้ถือหุ้นรายอื่น
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (Financial Master Plan) กำหนดให้สถาบันการเงินดำรงสถานะเพียงอย่างเดียว (One Presence) เท่านั้น ดังนั้น ธนาคาร กรุงเทพ ซึ่งมีใบอนุญาตในการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์อยู่แล้ว จะขอจัดตั้งธนาคารพาณิชย์อีก 1 แห่งจึงถือว่าผิดหลักเกณฑ์ของธปท.
สำหรับประเด็นสำคัญ คือ ธนาคารกรุงเทพ จะต้องตัดเม็ดเงินกองทุนในส่วนที่นำมาลงทุนในธนาคารแห่งใหม่ออกจากเงินกองทุนของธนาคารกรุงเทพในปัจจุบันด้วย เนื่องจากจะใช้ทุน จดทะเบียนรวมกันไม่ได้ เพราะตามหลักเกณฑ์ ของธปท.ไม่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 2 แห่งใช้เงินกองทุนก้อนเดียวกันได้ เพราะผิดหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง
"ในเรื่องนี้ ธปท.อาจจะอนุญาตให้ธนาคารกรุงเทพ ถือหุ้นในธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นได้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ส่วนเวลาในการถือหุ้นจะนานเพียงใดจะต้องเข้ามาหารือกับ ธปท.ก่อน อย่างไรก็ตาม การที่จะอนุญาตให้มีการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์แห่งใหม่นี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นหลักของ บง.สินเอเซีย จะได้ข้อตกลงอย่างไร" นางธาริษา กล่าว
สำหรับในส่วนของโครงสร้างการถือหุ้นของ บง. สินเอเซีย นั้นก็ยังไม่ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้ถือหุ้นหลัก โดยรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ได้แก่ กลุ่ม SG Secrities Asia International Holding Limited ที่เข้ามาถือหุ้นจำนวน 573.4 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 36.5% รองลงมาคือกระทรวงการคลัง ซึ่งถืออยู่จำนวน 486.8 ล้านหุ้น หรือ 30.61% ธนาคารกรุงเทพ 437.26 ล้านหุ้น หรือ 27.49% บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผู้ฝาก 74.19 ล้านหุ้น หรือ 4.67% และนายชาตรี โสภณพนิช 6.12 ล้านหุ้น หรือ 0.39%
รายงานข่าวจากธปท. แจ้งเพิ่มเติมว่า ขณะนี้สถาบันการเงินได้ทยอยส่งแผนควบรวมกิจการตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(มาสเตอร์แพลน)มายัง ธปท.หลายรายแล้ว ซึ่งกำหนดให้ยื่นแผนภายในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ โดยกรณีสถาบันการเงินที่ไม่มีแผนชัดเจน จะกลายเป็นบริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นอน-แบงก์) ในที่สุด แต่จะไม่มีผลบังคับทันที
ทั้งนี้ ธปท.จะอนุญาตให้บริษัทเงินทุน (บง.) หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (บค.) ที่ไม่ได้ยื่นแผนยังคงสถานะเดิมต่อไปอีกระยะหนึ่ง แต่จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป ขึ้นกับการจัดการสินทรัพย์ หนี้สินและภาระตั๋วสัญญาใช้เงิน (พี/เอ็น) ของแต่ละแห่ง แต่อีกไม่นานเมื่อมีกฎหมายสถาบันการเงินใหม่ที่ดูแลเฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้น สถาบันการเงินเหล่านี้จะกลายเป็นนอน-แบงก์โดยอัตโนมัติ หากเลือกอยู่ในสถานะเดิมก็คงลำบาก เพราะไม่มีโอกาสเติบโตในการดำเนิน
|
|
|
|
|