Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน16 กรกฎาคม 2547
บัวหลวงรับแผนฟื้นทีพีไอรอขุนคลังอนุมัติก่อนโหวต             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย, บมจ.
ปตท., บมจ.
ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
กระทรวงการคลัง
ประชัย เลี่ยวไพรัตน์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
สุวรรณ แทนสถิตย์




ธนาคารกรุงเทพ ไฟเขียวแผนฟื้นฟูกิจการ "ทีพีไอ" ฉบับใหม่ที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบให้รัฐและปตท. ถือหุ้นทีพีไอ ไม่ต่ำกว่า 50% พร้อมการันตีคุณสมบัติ "ปตท." เหมาะสมที่จะเข้ามา บริหารทีพีไอ ส่วนปูนใหญ่จะเข้ามาถือหุ้น 30% น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ด้าน "ประชัย" ไม่แปลกใจที่เจ้าหนี้เห็นชอบกับแผน เนื่องจากผู้บริหารแผนฯ ได้มีการหารือกับเจ้าหนี้เรียบร้อยแล้ว

หลังจากที่กระทรวงการคลัง ได้ให้ความเห็นชอบเบื้องต้นกับแผนฟื้นฟูกิจการบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือทีพีไอ โดยมีกรอบหลัก
คือ รัฐบาลและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะเข้า ไปถือหุ้นทีพีไอในสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 50% พร้อมทั้งการลดทุนจดทะเบียนทีพีไอจาก 78,498.11 ล้านบาท ราคาตามมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท เหลือราคาพาร์ 1 บาท เพื่อล้างขาดทุนสะสมจำนวน 8.6 หมื่น ล้านบาท รวมทั้งจะได้เงินลงทุนใหม่ 650-670 ล้านเหรียญสหรัฐ มาชำระหนี้

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ในฐานะเจ้าหนี้รายใหญ่ทีพีไอ กล่าวว่า ธนาคารทราบรายละเอียดเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูฯ ฉบับที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบแล้ว ซึ่งธนาคารเห็นด้วยกับแผนที่ผู้บริหารแผนเสนอมา ขณะที่ประเด็นของพันธมิตรที่จะเข้ามาร่วมทุนนั้น ธนาคารยังไม่สามารถแสดงความเห็นได้ ส่วนหุ้นที่ธนาคารถืออยู่ในทีพีไอประมาณ 20% นั้น ในอีก 1 ปีข้างหน้าจะตัดสินใจว่าจะดำเนินการอย่างไร

"ธนาคารเห็นด้วย และไม่มีความเห็นขัดแย้งกับผู้บริหารแผนฟื้นฟูฯ โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุว่าจะใช้เวลาการจัดสรรหุ้นให้เรียบร้อยภายใน 1 ปี ซึ่งผมเข้าใจว่าขั้นตอนต่อไปผู้บริหารแผนจะเสนอเรื่องให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณา ก่อนจะส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการต่อไป ส่วนเรื่องที่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) จะเข้ามาถือหุ้น 30% คงจะเป็นขั้นตอนต่อไป ซึ่งผมยังไม่เห็นรายละเอียด" นายโฆสิต กล่าว

นายสุวรรณ แทนสถิตย์ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยหลักการในส่วนของเจ้าหนี้เห็นด้วยที่จะให้ปตท. เข้ามาถือหุ้นในทีพีไอ เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งเรื่องของเงินทุน และศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ทำให้ธนาคารอยากได้พันธมิตรร่วมทุนในลักษณะนี้

"ส่วนประเด็นที่แผนฟื้นฟูฯ ฉบับใหม่ไม่มีการแปลงหนี้เป็นทุนให้กับเจ้าหนี้นั้น เจ้าหนี้คงไม่คิดว่าเป็นปัญหา เพราะหลักการทำธุรกิจธนาคาร ธนาคารอยากได้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนมากกว่าการเข้าไปทำธุรกิจ" นายสุวรรณ กล่าว

นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตนไม่รู้สึกแปลกใจที่แบงก์กรุงเทพเห็นชอบแผนฟื้นฟูฯฉบับแก้ไข เนื่องจากแผนดังกล่าวทางตัวแทนกระทรวงการคลังในฐานะผู้บริหารแผนฯได้มีการหารือกับเจ้าหนี้มาตั้งแต่ต้น ดังนั้นทางเจ้าหนี้ก็ต้องเห็นชอบกับแผนฯ อยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้บริหารลูกหนี้ หากจะคัดค้านแผนฟื้นฟูฯดังกล่าว สามารถทำได้โดยยื่นคำร้องคัดค้านแผนฯต่อศาลล้มละลายกลาง หลังจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ (จพท.) ได้นำแผนฟื้นฟูฯ ดังกล่าวเสนอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งรับแผน หลังเจ้าหนี้โหวตรับแผนแล้ว

"ประชัย" เข้าชี้แจงศาลรัฐธรรมนูญ

ขณะเดียวกัน วานนี้ (15 ก.ค.) นายประชัย อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีพีไอ ได้เข้าชี้แจงต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาเสนอให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณี พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/17 ขัดแย้งกับมาตรา 48 และ 50 ประกอบมาตรา 29

นายไพบูลย์ วราหะไพทูรย์ รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวภายหลังการชี้แจงของนายประชัย ว่า นายประชัยและเจ้าหน้าที่ของ ทีพีไอได้ร่วมกันยกเหตุผลเพื่อแสดงให้เห็นว่ามาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญและได้มีการยกสิทธิในเรื่องการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หลักของการประกอบกิจการโดยเสรีขึ้นมาชี้แจง และในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ จะเป็นการชี้แจงเพิ่มเติมของผู้แทนกระทรวงยุติธรรมในฐานะผู้รักษาการตามพ.ร.บ. ล้มละลาย และพล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ หรือผู้แทน

ด้านนายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ รองคณะกรรมาธิการการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน วุฒิสภา ในฐานะผู้ริเริ่มส่งคำร้อง กล่าวยืนยันว่า การที่นายประชัย ระบุว่า ลูกหนี้ขาดโอกาสในการฟื้นฟูกิจการ ทำให้ให้กมธ. เห็นว่ามาตรา 90/17 น่าจะขัดกับหลักการและเหตุผลในการออกพ.ร.บ. ล้มละลายช่วงแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ. 2541 ซึ่งกรณีดังกล่าวกมธ.ถือว่าเมื่อมีผู้ร้องเรียนก็ต้องทำการศึกษา สืบสวนสอบสวน พิจารณาตามข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องเรียนเสนอต่อกมธ.

ขณะที่นายประชัย ปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลหลังการเข้าชี้แจงต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ระบุสั้นๆ ว่าเป็นการให้ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและทางศาลได้บันทึกไว้หมดแล้ว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us